ข่าว

"สืบ นาคะเสถียร" ต่อสู้เพื่อสัตว์ป่า และปัญหาป่าถูกรบกวนเขื่อนเชี่ยวหลาน

เกาะติดข่าวสาร >> คมชัดลึก ออนไลน์
logoline

ในฐานะที่คุณ "สืบ นาคะเสถียร" เป็นผู้รับผิดชอบโครงการอพยพสัตว์ป่าในเขื่อนเชี่ยวหลาน คมชัดลึกจึงอยากพาย้อนคำสัมภาษณ์ ที่สืบอยากให้ลองตั้งข้อสังเกตเกี่ยวกับผลกระทบของเขื่อนเชี่ยวหลานในครั้งนั้น ในวัน

กลายเป็นบุคคลในตำนาน ภายหลังการยิงตัวตายในป่าห้วยขาแข้ง และเหนืออื่นใด ความตายของเขาได้สั่นสะเทือนผู้คนในสังคมไทยที่ทราบข่าวอย่างรุนแรง

มีผู้คนมากมายพากันตั้งคำถามว่า เหตุใดหัวหน้าเขตรักษาพันธุ์สัตว์ป่าห้วยขาแข้ง อย่าง "สืบ นาคะเสถียร" จึงตัดสินใจยิงตัวตาย

"สืบ นาคะเสถียร" ต่อสู้เพื่อสัตว์ป่า และปัญหาป่าถูกรบกวนเขื่อนเชี่ยวหลาน

 

หลังจากที่ "สืบ นาคะเสถียร" ได้มีการช่วยเหลือสัตว์ป่าช่วงที่มีการกักเก็บน้ำแล้ว เคยให้สัมภาษณ์และเล่าไว้ว่า การอพยบในครั้งนั้นทำให้เราเห็นว่ามีสัตว์ตั้งหลายชนิดที่ไม่สามารถช่วยเหลือตนเองให้หนีน้ำออก ไปได้ อย่างพวกเม่น กระจง หรือสัตว์ใหญ่หายากอย่างพวกเลียงผา ถึงแม้มันจะอาศัยอยู่บนเขาที่เป็นหน้าผาชัน แต่ว่าพื้นที่ตอนล่างอย่างบริเวณที่เป็นที่ลุ่ม มีดิน บริเวณตีนเขาหินปูนมีความสำคัญมากต่อการที่มันจะมีชีวิต และหาอาหารกินได้ เพราะมันจะต้องลงมาหาอาหารข้างล่างแล้วขึ้นไปอาศัยนอนข้างบนตามถ้ำ

"สืบ นาคะเสถียร" ต่อสู้เพื่อสัตว์ป่า และปัญหาป่าถูกรบกวนเขื่อนเชี่ยวหลาน

สืบพบว่าสัตว์ป่าได้รับผลกระทบมาก การแก้ไขโดยการช่วยเหลือเพื่อเอาสัตว์ป่าที่เหลือรอดชีวิตบางตัวออกมาจาก ส่วนที่ติดค้างบนเกาะยังทำได้น้อยมาก ถ้าประเมินว่าบริเวณนั้นเป็นที่อยู่อาศัยที่อุดมสมบูรณ์ของสัตว์ป่าแล้ว การช่วยเหลือมันบอกเป็นตัวเลขไม่ได้ เพราะเราไม่รู้ว่ามีสัตว์กี่ร้อยตัว และช่วยออกมาได้กี่ตัว แต่จากการทำงานในช่วงที่ช่วยเหลือ เราทำได้ประมาณร้อยละ 15 ของพื้นที่หรือเกาะทั้งหมดเท่านั้นเอง เกาะใหญ่ๆ เราไม่สามารถจะต้อนจับสัตว์ใหญ่ๆ ออกมาได้หมด มีสัตว์ที่หลงค้างอยู่อีกมาก

และผลของการที่มีราษฎรเข้าไปใช้พื้นที่ มีผลกระทบต่อสัตว์มาก ถ้าเราไม่ช่วยเหลือสัตว์ออกมา พวกราษฎรที่เข้าไปอยู่ทุกแห่งบริเวณอ่างเก็บน้ำก็ถือโอกาสล่าสัตว์เหล่านี้

เล่าอีกว่า สัตว์ที่ช่วยมาส่วนใหญ่อยู่ในสภาพอ่อนแอ อาจจะเจ็บป่วย ไม่สบาย หรือว่าอยู่ในสภาพที่ไม่สามารถช่วยเหลือตนเองได้ เมื่อนำไปปล่อย มันก็จะต้องไปปรับตัวให้เข้ากับถิ่นที่อยู่ใหม่ เรียกว่าจะต้องไปต่อสู้แก่งแย่งกับสัตว์ชนิดเดียวกัน

หรืออาจจะต้องประสบภัยกับการที่มีศัตรูตามธรรมชาติ ซึ่งความอ่อนแอของมันทำให้มันตกเป็นเบี้ยล่างของศัตรูได้ง่าย

"สืบ นาคะเสถียร" ต่อสู้เพื่อสัตว์ป่า และปัญหาป่าถูกรบกวนเขื่อนเชี่ยวหลาน

ยังมีปัญหาเรื่องการแก่งแย่งพื้นที่ สัตว์แต่ละอย่างย่อมมีอาณาเขตในการยึดครองพื้นที่เพื่อประโยชน์ในการมีอาหาร เพียงพอ หรือมีสถานที่ที่ปลอดภัยในการเลือกคู่ผสมพันธุ์ อะไรต่างๆ เหล่านี้ ทำให้มันต้องแก่งแย่งกัน

แล้วในบริเวณที่ลุ่ม มีความอุดมสมบูรณ์มาก มันย่อมมีพืชอาหารมาก เป็นที่อยู่อาศัยของสัตว์มากชนิด เมื่อเราเอาน้ำท่วมพื้นที่ที่เป็นที่ลุ่มนี้แล้ว ส่วนที่เหลือคือบริเวณที่ระดับสูง ความอุดมสมบูรณ์จะน้อยกว่า ที่อยู่อาศัยจะลำบากมากกว่า สัตว์ที่ปรับตัวอยู่ในที่ลุ่มมานานแล้วมันจะไม่สามารถขึ้นไปอาศัยอยู่ในที่ ระดับสูงได้ เพราะสัตว์แต่ละชนิดมีระดับในการหากินแตกต่างกัน ฉะนั้นการที่เราจะเอาสัตว์ที่หากินบริเวณที่ลุ่มขึ้นไปอยู่ที่ยอดเขา คงเป็นไปไม่ได้ในการปรับตัว นั่นเป็นอันหนึ่งที่มีผลกระทบมาก

แม้แต่พวกที่สามารถอยู่ได้ทั้งบนเขาและข้างล่าง เมื่อพื้นที่ในการอยู่อาศัยลดลง จำนวนมันก็จะลดลงตามด้วย เหมือนที่อยู่อาศัยที่สามารถรับคนให้อยู่ได้เพียง 100 คน แล้วพื้นที่ถูกตัดออกไป ส่วนที่เหลือ 100 คนก็จะไม่สามารถอาศัยได้อย่างปลอดภัย สุขสบายเหมือนเก่า

เรื่องการปรับตัวของสัตว์ เราประเมินไม่ได้ว่าสัตว์ที่ปล่อยไปสามารถที่จะปรับตัวได้ไหม บางอย่างอาจจะปรับตัวได้ แต่ใช้เวลานานเท่าไรไม่ทราบ แล้วอีกอย่างการปรับตัวนั้น ถ้าสัตว์สามารถมีชีวิตรอดได้เพียงชั่วระยะเวลาหนึ่ง ไม่สามารถอยู่รอดได้นานจนกระทั่งสืบพันธุ์จนมีลูกมีหลานต่อไปได้ ไม่สามารถคงจำนวนประชากรไว้ได้ นั่นก็ถือเป็นผลกระทบที่ไม่สามารถแก้ไข เพราะมันไม่สามารถจะสร้างประชากรกลับมาเหมือนเดิม

ที่เห็นชัดอีกอันก็คือ เมื่อมีกิจกรรมของมนุษย์เข้าไป ไม่ว่าจะเป็นเส้นทางที่เข้าไปในป่า หรือการที่มีการคมนาคมสะดวกขึ้นทำให้มีมนุษย์เข้าไปใช้พื้นที่ป่า ป่าจะถูกรบกวนมากขึ้น การล่าโดยผิดกฎหมาย หรือการเข้าไปตัดไม้ ไปจับปลาบริเวณอ่างเก็บน้ำ ทุกอย่างมีผลกระทบต่อการดำเนินชีวิตของสัตว์ป่าจากเดิมที่เคยอยู่อย่างสบาย ไม่มีใครรบกวน

การที่มนุษย์แทรกตัวเข้าไปในป่า ทำให้สัตว์ป่าหนีห่างออกไปจากบริเวณอ่างเก็บน้ำมากขึ้น และบริเวณรอบๆ อ่างเก็บน้ำที่เหลืออยู่ก็ถูกบีบด้วยถนนและการบุกรุกทางด้านที่ทำกินจากชาว บ้านข้างนอก กรณีอ่างเก็บน้ำนี่ก็เหมือนกับว่าเราไปเปิดจากข้างในออกมาอีกส่วนหนึ่ง ทำให้พื้นที่ที่เป็นธรรมชาติถูกจำกัดล้อมรอบไปด้วยสิ่งก่อสร้างหรือการกระทำ ของมนุษย์มากขึ้น

และนี่ก็เป็นส่วนหนึ่งที่ผู้อุทิศตนด้วยชีวิตให้ธรรมชาติ เคยกล่าวไว้ 

 

  • ข้อมูลเรื่อง : มูลนิธิสืบนาคะเสถียร
  • รูปภาพ :  Mthai
logoline
แท็กที่เกี่ยวข้อง

ข่าวที่น่าสนใจ