ข่าว

มธ.ร่วมเอ็มโอยู ปั้น ‘อ.คลองหลวง’สู่ต้นแบบ Smart City

ปรับโฉมหน้าครั้งใหญ่ ม.ธรรมศาสตร์’ ร่วมเอ็มโอยู ‘สวทช.-ท้องถิ่นขีดเส้น 5 ปี ปั้น ‘อ.คลองหลวง’สู่ต้นแบบ Smart City

ธรรมศาสตร์ ลงนามบันทึก 3 ฝ่าย ขับเคลื่อนโครงการเมืองอัจฉริยะคลองหลวง จ.ปทุมธานี ใช้เทคโนโลยีและนวัตกรรมเพิ่มประสิทธิภาพการจัดการ ปั้นต้นแบบ Smart City ให้เกิดขึ้นจริง ก่อนขยายผลสู่อำเภออื่น

มธ.ร่วมเอ็มโอยู ปั้น ‘อ.คลองหลวง’สู่ต้นแบบ Smart City
 
มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ (มธ.)โดย รศ.เกศินี วิฑูรชาติ อธิการบดี มธ. ลงนามในบันทึกความเข้าใจ (MOU) ร่วมกับ อ.คลองหลวง จ.ปทุมธานี และสำนักงานพัฒนาวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีแห่งชาติ(สวทช.) เมื่อวันที่ 27 ส.ค. 2564 เพื่อพัฒนา อ.คลองหลวง จ.ปทุมธานี ให้เป็นต้นแบบของเมืองอัจฉริยะ ตามโครงการการพัฒนาเมืองอัจฉริยะคลองหลวง (Khlong Luang Smart City)

 

สำหรับการพัฒนาพื้นที่ดังกล่าว จะมุ่งเน้นไปที่การนำเทคโนโลยีและนวัตกรรมทันสมัยและชาญฉลาด เข้ามาช่วยเพิ่มประสิทธิภาพการจัดการภายใต้แนวคิด Smart City และเป้าหมายการพัฒนาที่ยั่งยืน (SDGs)

 

รศ.เกศินี เปิดเผยว่า จ.ปทุมธานี เป็นพื้นที่ที่มีศักยภาพหลากหลายด้าน และมีความพร้อมต่อการพัฒนาไปสู่การเป็นเมืองอัจฉริยะใน 7 ด้าน ได้แก่ สิ่งแวดล้อมอัจฉริยะ (Smart Environment), การบริหารจัดการภาครัฐอัจฉริยะ (Smart Governance), การขนส่งอัจฉริยะ (Smart Mobility), พลังงานอัจฉริยะ (Smart Energy), เศรษฐกิจอัจฉริยะ (Smart Economy), การดำรงชีวิตอัจฉริยะ (Smart Living) และพลเมืองอัจฉริยะ (Smart People)
 

 

ทั้งนี้ ธรรมศาสตร์ในฐานะมหาวิทยาลัยเพื่อประชาชน และ สวทช. ในฐานะองค์กรด้านการศึกษาและเทคโนโลยีที่สำคัญของประเทศไทย ซึ่งเป็นสมาชิกของ อ.คลองหลวง จ.ปทุมธานี ได้เห็นพ้องร่วมกันว่า จะพัฒนาและแลกเปลี่ยนองค์ความรู้ทางวิชาการ วิจัย นวัตกรรม และขยายความร่วมมือกับภาคีเครือข่ายต่างๆ เพื่อผลักดันให้ อ.คลองหลวง เป็นต้นแบบของ Smart City ในทุกด้านอย่างแท้จริง

มธ.ร่วมเอ็มโอยู ปั้น ‘อ.คลองหลวง’สู่ต้นแบบ Smart City

รศ.เกศินี กล่าวว่า ภายใต้ MOU ฉบับนี้ได้กำหนดกรอบเวลาในการทำงาน 5 ปี โดยจะมีการจัดตั้ง “คณะทำงานร่วมด้านเมืองอัจฉริยะ” ทำหน้าที่กำหนดนโยบาย แผนปฏิบัติการ และติดตามการปฏิบัติการ รวมถึงบูรณาการองค์ความรู้สู่ชุมชน เพื่อให้เกิดการพัฒนาจากฐานรากที่จะนำไปสู่ความยั่งยืน

 

“ที่ผ่านมา ธรรมศาสตร์ได้ทำแผนแม่บทเพื่อการพัฒนาพื้นที่ โดยเฉพาะการพัฒนาโครงสร้างพื้นฐาน ได้แก่ การพัฒนาระบบขนส่งสาธารณะและระบบการนำทางอัจฉริยะ การพัฒนาระบบการจัดการความปลอดภัย การจัดการสภาพแวดล้อม และการจัดการพลังงาน ซึ่งสอดคล้องกับการขับเคลื่อนสู่เป้าหมาย SDGs ดังนั้นจึงเชื่อเป็นอย่างยิ่งว่าความร่วมมือในวันนี้จะเป็นจุดเริ่มต้นที่สำคัญในการนำพาคลองหลวงและ จ.ปทุมธานี สู่การเป็นเมืองอัจฉริยะที่ยั่งยืนอย่างเต็มรูปแบบ” รศ.เกศินี กล่าว
 

affaliate-2

มธ.ร่วมเอ็มโอยู ปั้น ‘อ.คลองหลวง’สู่ต้นแบบ Smart City

นายชัยวัฒน์ ชื่นโกสุม ผวจ.ปทุมธานี กล่าวว่า หัวใจสำคัญของการพัฒนานี้จะตอบโจทย์อย่างน้อย 4 ด้าน คือ 1. การให้บริการ ซึ่งการพัฒนา Smart City ทั้ง 7 ด้าน ขณะนี้มีหลายด้านที่พร้อมให้บริการพี่น้องประชาชน 2. การพัฒนา ที่จะช่วยกันพัฒนาทั้งผู้คนและสิ่งแวดล้อมให้ดีขึ้น 3. การแก้ไขปัญหา ซึ่งภายใต้ MOU  ฉบับนี้มีประเด็นปัญหาหลายเรื่องที่จะต้องร่วมมือกันแก้ไข 4. การรักษาข้อกำหนดหรือกฎเกณฑ์ทางกฎหมาย ซึ่งเชื่อว่าทั้ง 4 ด้านนี้จะช่วยให้คุณภาพชีวิตของผู้ที่อยู่ในพื้นที่ อ.คลองหลวง ได้รับความสะดวกสบาย มีคุณภาพชีวิตที่ดีขึ้นบรรลุตามเป้าหมายต่อไป

 

มธ.ร่วมเอ็มโอยู ปั้น ‘อ.คลองหลวง’สู่ต้นแบบ Smart City

นายนิติชัย วิริยานนท์ นายอำเภอคลองหลวง จ.ปทุมธานี กล่าวว่า อ.คลองหลวง เป็นอำเภอขนาดใหญ่ที่มีจำนวนประชากรมากกว่าในบางจังหวัด จึงทำให้เต็มไปด้วยปัญหา ความคาดหวัง และความต้องการที่หลากหลาย ทางอำเภอจึงหวังว่าความร่วมมือในครั้งนี้จะช่วยนำพาคุณภาพชีวิตของพี่น้องชาวคลองหลวงให้ดีขึ้น และต่อยอดความสำเร็จไปสู่อำเภออื่นๆ ใน จ.ปทุมธานี ต่อไป

 

นางลดาวัลย์ กระแสร์ชล รองผู้อำนวยการ ปฏิบัติการแทนผู้อำนวยการ สวทช. กล่าวว่า การสร้างสภาพแวดล้อมที่ดีในอำเภอนี้ จะนำไปสู่การพัฒนาคุณภาพชีวิตของประชาคมในพื้นที่ให้มีสิ่งอำนวยความสะดวกในชีวิตประจำวัน  ไม่ว่าเป็นการพัฒนาระบบสาธารณูปโภค สาธารณูปการ ด้วยเทคโนโลยีและนวัตกรรมที่ทันสมัย ซึ่งในส่วนนี้ สวทช.จะมีส่วนร่วมในฐานะหน่วยงานวิจัย ที่สามารถตอบโจทย์การพัฒนาและบริหารจัดการอื่นๆ ได้อย่างเป็นรูปธรรม ภายใต้แนวคิดการพัฒนาเมืองอัจฉริยะและมีความยั่งยืนต่อสิ่งแวดล้อมโดยรอบ

 

มธ.ร่วมเอ็มโอยู ปั้น ‘อ.คลองหลวง’สู่ต้นแบบ Smart City

 

“แม้โครงการความร่วมมือนี้จะยังอยู่ในช่วงเริ่มต้น แต่ทุกฝ่ายล้วนมีความพร้อมและแสดงเจตจำนงที่จะร่วมกันผลักดันงานและกิจกรรมต่างๆ ที่จะเป็นประโยชน์ ส่งเสริมให้เกิดผลสัมฤทธิ์ตามเป้าหมายของกรอบความร่วมมือฉบับนี้ ที่จะพลิกโฉมให้คลองหลวงเป็นเมืองอัจฉริยะต้นแบบ เป็นศูนย์กลางการศึกษา ตลอดจนการเป็นแหล่งอุตสาหกรรมเชิงนิเวศที่ไร้มลพิษ ซึ่งสามารถที่จะขยายผลอย่างยั่งยืนนี้ไปทั่ว จ.ปทุมธานี ได้ต่อไป” นางลดาวัลย์ กล่าว