Lifestyle

"ลูกยอ"พืชมหัศจรรย์ อุดมไปด้วยสารอาหาร ต้านสารพัดโรค

เกาะติดข่าวสาร >> คมชัดลึก ออนไลน์
logoline

"ลูกยอ"พืชมหัศจรรย์ อุดมไปด้วยสารอาหาร ต้านสารพัดโรค แต่ในคุณประโยชน์ หากบริโภคหรือใช้อย่างไม่ถูกต้องอาจจะเกิดโทษได้เช่นกัน

 

 

ต้นยอเป็นพืชพื้นเมืองในแถบโพลีนีเซียตอนใต้ และแพร่กระจายไปยังประเทศอื่น ๆ โดยมีอยู่ด้วยกัน 2 ชนิด คือ ยอบ้านและยอป่า ที่เราพบเห็นกันบ่อย ๆ ก็คือยอบ้าน

 

 

ยอเป็นไม้ยืนต้น มีใบสีเขียว มีดอกออกเป็นช่อที่ซอกใบ ลักษณะของผลยาวรี ผลอ่อนมีสีเขียว เมื่อสุกจะเป็นสีขาวนวล มีเนื้อนุ่ม ในผลมีเมล็ดจำนวนมาก มีสีน้ำตาล สำหรับรสชาติจะออกรสเผ็ดและมีกลิ่นแรง
 

 

 

ประโยชน์ของ ลูกยอ นั้นมีทั้งในด้านการนำไปบริโภคเป็นอาหารและการนำมาใช้เป็นยาสมุนไพร

 

 

ลูกยอ  จัดเป็นยาสมุนไพรโบราณที่มีประโยชน์มากมาย ใช้กันอย่างแพร่หลายในเรื่องการช่วยแก้อาการคลื่นไส้อาเจียน และถูกบรรจุอยู่ในยาสมุนไพรในงานสาธารณสุขมูลฐาน

 

 

โดยลูกยอสุกเป็นยาชั้นเลิศในการช่วยขับลมและช่วยย่อยอาหาร 

 

 

ลูกยอ อุดมไปด้วยวิตามินและแร่ธาตุที่มีประโยชน์ต่อร่างกายหลากชนิด

 

 

โดย ลูกยอบดจะประกอบไปด้วยคาร์โบไฮเดรต เส้นใยอาหาร วิตามินเอ วิตามินซี วิตามินบี 3 ธาตุแคลเซียม ธาตุเหล็ก ธาตุโพแทสเซียม ธาตุโซเดียม แต่ถ้าคั้นเอาแต่น้ำลูกยอจะเหลือแต่วิตามินซี

 

ประโยชน์ลูกยอ

 

 

ลูกยอสุก นำมาจิ้มกินกับเกลือหรือกะปิ

 

 

ลูกห่ามใช้ทำส้มตำ

 

 

ใบอ่อน นำมาลวกกินกับน้ำพริก ใช้ทำแกงจืด แกงอ่อม ผัดไฟแดง หรือนำมาใช้รองกระทงห่อหมก เวลากินห่อหมกควรกินใบยอด้วย เพราะมีวิตามินสูง

 

 

นำมาใช้ทำสีย้อมผ้า   รากนำมาใช้ย้อมสีให้สีแดงและสีน้ำตาลอ่อน โดยส่วนเปลือกจะให้สีแดง เนื้อเปลือกจะให้สีเหลืองใช้ย้อมผ้าบาติก

 

 

มีการนำลูกไปแปรรูปโดยคั้นเป็นน้ำลูกยอ Noni หรือ น้ำลูกยาโนนิ

 

 

รากยอมีการนำมาใช้แกะสลัก ทำรงควัตถุสีเหลือง

 

 

ใบสดมีการนำมาใช้ทำเป็นอาหารสัตว์ หรือนำมาเลี้ยงตัวหนอนไหม

 

 

ลูกยอสุกมีการนำมาใช้ทำเป็นอาหารหมู

 

 

มีการนำมาใช้ทำเป็นยารักษาสัตว์

 

 

สรรพคุณ


 

ลูกยอเป็นแหล่งของแคลเซียมและยังมีสารต่อต้านอนุมูลอิสระสูง
ช่วยในการชะลอวัยและความเสื่อมของเซลล์ต่าง ๆ ในร่างกาย

 

 

ช่วยบำรุงผิวพรรณ หนังศีรษะและผม

 

 

น้ำลูกยอ  ช่วยป้องกันโรคภูมิแพ้

 

 

สารสโคโปเลติน(Scopoletin) ในน้ำลูกยอมีฤทธิ์ในการขยายหลอดเลือดที่หดตัวทำให้ความดันโลหิตลดลงจนเป็นปกติ 

 

มีส่วนช่วยรักษาโรคเบาหวาน 

 

 

ช่วยรักษาโรคความดันโลหิตสูง 

 

 

 

 

 

ช่วยรักษาโรคกรดไหลย้อน ด้วยการทำเป็นเครื่องดื่ม ใช้คู่กับหัวหญ้าแห้วหมู  ให้เลือกลูกยอห่าม นำมาหั่นเป็นแว่น ๆ ไม่บางหรือหนาจนเกินไป แล้วนำไปย่างไฟอ่อน ๆ โดยย่างให้เหลืองกรอบและย่างจนหมดกลิ่นเหม็นจากลูกยอ จึงจะได้ตัวยาที่หอมน่ารับประทาน 

 

 

ช่วยแก้วัณโรค ด้วยการใช้ผลหรือใบทำเป็นยาพอก 

 

 

ใช้บำบัดและรักษาโรคมะเร็ง 

 

 

ใช้รักษาโรคเกี่ยวกับสมอง

 

 

ใช้รักษาโรคติดสุราหรือยาเสพติด 

 

 

ใช้ลดอาการแพ้

 

 

ใช้รักษาโรคหอบหืด 

 

 

ใช้รักษาโรคอ่อนเพลียเรื้อรัง

 

 

ใช้รักษาโรคเกี่ยวกับทางเดินอาหารต่าง ๆ

 

 

ใช้รักษาโรคเซลล์เจริญเติบโตนอกมดลูก 

 

 

ใช้รักษาโรคภูมิคุ้มกันต่ำ
 

 

ใช้รักษาโรคโปลิโอ 

 

 

ใช้รักษาไซนัส 

 

 

ช่วยลดปริมาณสารพิษในร่างกาย ทำให้ร่างกายทำงานได้เป็นปกติ เซลล์ในร่างกายอ่อนเยาว์ลง

 

 

ช่วยซ่อมแซมและยับยั้งการเจริญเติบโตของเซลล์ที่ผิดปกติ

 

 

ช่วยยับยั้งการเจริญเติบโตของเซลล์มะเร็งและเนื้องอก

 

 

ช่วยกระตุ้นให้เซลล์ใหม่ในร่างกายเจริญเติบโตและทำหน้าที่ได้อย่างเป็นปกติ

 

 

ช่วยแก้กระษัย

 

 

ลูกยอ  มีฤทธิ์เป็นยากล่อมประสาทแบบอ่อน ๆ ช่วยผ่อนคลายความเครียดได้

 

 

ช่วยบำรุงธาตุไฟ 

 

 

ช่วยให้เจริญอาหาร 

 

 

ช่วยแก้อาการเบื่ออาหาร

 

 

 

ช่วยทำให้ระบบโลหิตหมุนเวียนดีขึ้น

 

 

ช่วยบำรุงสมอง ช่วยเสริมสร้างความจำ ทำให้มีสมาธิดีขึ้น

 

 

มีฤทธิ์กล่อมประสาท มีส่วนช่วยทำให้นอนหลับง่ายขึ้น

 

 

ผลยอใช้ทำเป็นยาพอกแก้หัวสิว

 

 

ใบยอมีวิตามินเอสูงจึงช่วยบำรุงและรักษาสายตา แก้อาการตาบอดตอนกลางคืนได้

 

 

ไอระเหยจากลูกยอ ดอกยอ ใช้รักษากุ้งยิง

 

 

ใบยอ ช่วยรักษาโรคมาลาเรีย 

 

 

ลูกยอสุก ช่วยแก้ไข้ 

 

 

ใบสดช่วยรักษาอาการปวดศีรษะ

 

 

ช่วยบรรเทาอาการวิงเวียนศีรษะ 

 

 

ช่วยแก้เหงือกเปื่อยเป็นขุยบวม

 

 

ใช้รักษาอาการเจ็บหรือแผลตกสะเก็ดรอบปากหรือในปาก

 

 

ช่วยรักษาอาการปากและเหงือกอักเสบ

 

 

ช่วยแก้อาการปวดฟัน 

 

 

ลูกยอสุก ช่วยแก้อาการคลื่นไส้อาเจียน

 

 

ช่วยแก้อาการเจ็บคอ ด้วยการใช้ลูกยอดิบนำไปเผาไฟให้สุกและแช่ในน้ำต้มสุก แล้วรินเอาแต่น้ำดื่มเพื่อบรรเทาอาการ หรือจะใช้ลูกยอสุกบดละเอียดใช้กลั้วคอแก้อาการ 

 

ข้อควรระวัง

 

- การบดหรือการสกัดน้ำลูกยอไม่ควรทำให้เมล็ดยอแตก เพราะสารในเมล็ดยอมีฤทธิ์เป็นยาระบายอาจทำให้ถ่ายบ่อยได้
 

 

 

-ผู้ป่วยโรคไตไม่ควรดื่มน้ำลูกยอ เพราะมีเกลือโปแตสเซียมสูง อาจทำให้เกิดภาวะหัวใจวายเฉียบพลันได้
 

 

 

- สตรีมีครรภ์ไม่ควรบริโภคลูกยอ เพราะผลยอมีฤทธิ์ขับโลหิต อาจทำให้แท้งบุตรได้

logoline

ข่าวที่น่าสนใจ