ข่าว

"กยท."ถ่ายทอดเทคโนฯงานวิจัย ติดอาวุธเพิ่มศักยภาพเอกชนช่วยเกษตรกร

เกาะติดข่าวสาร >> คมชัดลึก ออนไลน์
logoline

"กยท." จับมือผู้นำเข้าแผ่นใยสังเคราะห์รายใหญ่ ลงนาม MOUถ่ายทอดเทคโนโลยีงานวิจัย"น้ำยาง"คอมพาวนด์ สำหรับนำไปเคลือบบนแผ่นใยสังเคราะห์เข้าสู่กระบวนการผลิต ยกระดับขีดความสามารถในการแข่งขัน เพิ่มศักยภาพให้ทั้งภาคเอกชนและเกษตร

 

นายณกรณ์ ตรรกวิรพัท ผู้ว่าการการยางแห่งประเทศไทย (กยท.) กล่าวว่า เมื่อเร็ว ๆ นี้ กยท.ได้ลงนามบันทึกข้อตกลงความร่วมมือ(MOU) กับ บริษัท เท็กเซ็ท จำกัด ในการนำผลงานวิจัยไปใช้ประโยชน์ ภายใต้โครงการนำผลงานวิจัยการทำแผ่นกั้นน้ำที่ทำจากแผ่นใยสังเคราะห์ขยายผลสู่ผู้ประกอบการ

 

โดยการนำเทคโนโลยีการผลิตน้ำยางคอม  พาวนด์ สำหรับนำไปเคลือบบนแผ่นใยสังเคราะห์เข้าสู่กระบวนการผลิตในเชิงพาณิชย์อุตสาหกรรมเพื่อเพิ่มศักยภาพการผลิตและการแข่งขัน 

 

"กยท."ถ่ายทอดเทคโนฯงานวิจัย  ติดอาวุธเพิ่มศักยภาพเอกชนช่วยเกษตรกร

 

ทั้งนี้ บริษัท เท็กเซ็ท จำกัด เป็นบริษัทผู้นำเข้าแผ่นใยสังเคราะห์( Geotextile)รายใหญ่ของประเทศไทย เพื่อใช้ในงานวิศวกรรมและสิ่งแวดล้อม

 

เช่น การสร้างเขื่อน การป้องกันชายฝั่งทะเล เขื่อนกักกั้นน้ำตามแหล่งน้ำธรรมชาติ การปรับภูมิทัศน์ การทำถนน เป็นต้น

 

 

"กยท."ถ่ายทอดเทคโนฯงานวิจัย  ติดอาวุธเพิ่มศักยภาพเอกชนช่วยเกษตรกร

 

 

ในขณะที่ กยท. มีผลงานวิจัยเทคโนโลยีการผลิตน้ำยางคอมพาวนด์และการเคลือบน้ำยางคอมพาวน์บนแผ่นใยสังเคราะห์  หากถ่ายทอดเทคโนโลยีดังกล่าวให้ภาคเอกชนที่มีศักยภาพนำไปพัฒนาต่อขยายผลในเชิงอุตสาหกรรมจะเป็นประโยชน์ต่อทั้งภาค
เอกชน  และภาคการเกษตรเป็นอย่างยิ่ง

 

"กยท."ถ่ายทอดเทคโนฯงานวิจัย  ติดอาวุธเพิ่มศักยภาพเอกชนช่วยเกษตรกร

 

 

“โดยในส่วนของภาคเอกชนนั้น จะทำให้สามารถผลิตแผ่นใยสังเคราะห์ที่มีคุณภาพ มีความทนทาน  ไม่ฉีกขาดง่าย  ช่วยเพิ่มศักยภาพในการแข่งขัน ในขณะที่ภาคการเกษตรที่ใช้แผ่นใยสังเคราะห์ในหลากหลายกิจกรรม

 

เช่น  ปูพื้นรองบ่อเลี้ยงสัตว์ ทำบ่อน้ำ ทำฝาย  สร้างแหล่งกักเก็บน้ำ เป็นต้น ได้ใช้แผ่นใยสังเคราะห์ที่มีคุณภาพรับน้ำหนักแรงดันน้ำได้มากขึ้น ยืดอายุการใช้งาน ซึ่งช่วยลดต้นทุนการผลิตให้เกษตรกรโดยตรง และที่สำคัญยังเป็นการส่งเสริมการใช้ยางพาราในประเทศ

 

โดยผลงานวิจัยการเคลือบน้ำยางคอมพาวนด์บนแผ่นใยสังเคราะห์ในเบื้องต้นได้ผลว่า จะใช้น้ำยางธรรมชาติ 1 กิโลกรัมต่อพื้นผิว 1 ตารางเมตร ยกตัวอย่าง การปูพื้นผิวอ่างเก็บน้ำขนาดมาตรฐาน 3,500 ตารางเมตรจะใช้ยางธรรมชาติประมาณ 3.5 ตัน เป็นต้น ซึ่งจะช่วยสร้างเสถียรภาพให้กับยางพาราอีกด้วย  นายณกรณ์กล่าว

 

 

ผู้ว่าการ กยท.กล่าวต่อว่า กยท.มีนโยบายสนับสนุนนวัตกรรมและเทคโนโลยีที่ได้จากการวิจัยยางพารามาอย่างต่อเนื่อง โดยเน้นงานวิจัยที่จะสามารถช่วยลดต้นทุนการผลิต เพิ่มความได้เปรียบให้สถาบันเกษตรกร ผู้ประกอบการให้นำไปต่อยอดในเชิงพาณิชย์ได้  

 

 

ในขณะเดียวกันยังช่วยเพิ่มปริมาณการใช้ยาง  สร้างเสถียรภาพด้านราคาและเพิ่มมูลค่าให้ยางพารา ผลงานวิจัยที่ถูกนำออกไปใช้อย่างเป็นรูปธรรมจึงมีส่วนช่วยสร้างความมั่นคงให้อุตสาหกรรมยางในประเทศได้อย่างดี

 

 

“กยท.ยังคงศึกษาค้นคว้าวิจัยเชิงพาณิชย์เพื่อพัฒนารูปแบบการใช้ยางพาราไทยให้ได้ในหลากหลายวงการ เช่น ในงานก่อสร้าง งานวิศวกรรม อุปกรณ์การแพทย์ เป็นต้น เพื่อนำนวัตกรรมที่เราได้ออกไปช่วยสร้างรายได้ ช่วยยกระดับคุณภาพการใช้ชีวิต เพื่อจะขับเคลื่อนเศรษฐกิจและสังคมต่อไป เกษตรกร สถาบันเกษตรกร

 

 

ผู้ประกอบการใดสนใจ ติดต่อได้ที่ฝ่ายอุตสาหกรรมยาง การยางแห่งประเทศไทย โทรศัพท์ 02 940 5712” นายณกรณ์ กล่าว

 

 

ด้านนายสันติ สวัสดิศานต์ กรรมการบริษัท เท็กเซ็ท จำกัด กล่าวว่า การที่ กยท.ได้ถ่ายทอดเทคโนโลยีงานวิจัยในครั้งนี้ ทำให้เกิดการผสมผสานการระหว่างน้ำยางพาราและแผ่นใยสังเคราะห์

 

 

ภายใต้ชื่อผลิตภัณฑ์ว่า Rubber Seal Geotextile หรือ RST ซึ่งมีคุณสมบัติเหนียว ทน ยืดหยุ่นกว่าของเดิมอย่างแน่นอน ช่วยประหยัดน้ำ ประหยัดเงินให้กับผู้ที่ทำงานในภาคเกษตร ช่วยแก้ปัญหาน้ำขาดแคลน ประหยัดค่าใช้จ่ายให้งานวิศวกรรม งานชลประทาน

 

 

ขณะนี้ผลิตภัณฑ์ RST อยู่ระหว่างกระบวนการทดสอบการผลิต คาดว่าจะดำเนินการแล้วเสร็จพร้อมออกสู่ตลาดภายในระยะเวลา 1-2 ปีนี้ โดยในเบื้องต้นคาดว่าภาคการเกษตรจะใช้ RSTราว 10,000 ตารางเมตรต่อปี
 

logoline

ข่าวที่น่าสนใจ