ข่าว

“เฉลิมชัย” พร้อมรับมือการอภิปรายไม่ไว้วางใจ มั่นใจตอบได้ทุกประเด็น

เกาะติดข่าวสาร >> คมชัดลึก ออนไลน์
logoline

รัฐมนตรี "เฉลิมชัย" พร้อมรับมือการอภิปรายไม่ไว้วางใจ มั่นใจตอบได้ทุกประเด็นหลังโชว์ผลงานปฎิรูปกระทรวงเกษตรฯภายใต้ 5 ยุทธศาสตร์ คว้าแชมป์ คุณธรรมและความโปร่งใส ประจำปี 2564 ของ ป.ป.ช. ใส” ประจำปี 2564 ของปปช.

 

 

ดร.เฉลิมชัย ศรีอ่อน รัฐมนตรีว่าการกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ กล่าววันนี้ถึงการอภิปรายไม่ไว้วางใจว่า การอภิปรายไม่ไว้วางใจถือเป็นการทำหน้าที่ของฝ่ายค้านในการตรวจสอบและถ่วงดุลรัฐบาลตามครรลองเสียงข้างมากข้างน้อยของระบบรัฐสภาในระบอบประชาธิปไตย

 

 

ในส่วนของตนพร้อมชี้แจงทุกประเด็น ทั้งเรื่องการบริหารราชการแผ่นดินและประเด็นการทุจริตประพฤติมิชอบรวมทั้งประเด็นอื่น ๆ ที่มีการกล่าวหาหรือมีการตั้งข้อสงสัยเพื่อให้สมาชิกสภาผู้แทนราษฎรใช้ประกอบดุลยพินิจในการลงมติ

 

 

ตนเชื่อว่าผลงานคือคำตอบที่ดีที่สุดโดยเฉพาะการบริหารราชการแผ่นดินด้วยคุณธรรมและความโปร่งใสของกระทรวงเกษตรและสหกรณ์

 

 

ซึ่งล่าสุด สำนักงานคณะกรรมการป้องกันและปราบปรามการทุจริตแห่งชาติ (ป.ป.ช.) และคณะกรรมการประเมินคุณธรรมและความโปร่งใสในการดำเนินงานของหน่วยงานภาครัฐ ได้จัดทำการประเมินคุณธรรมและความโปร่งใสในการดำเนินงานของหน่วยงานภาครัฐ (Integrity and Transparency Assessment :ITA)

 

 

ประจำปีงบประมาณ 2564 ซึ่งได้กำหนดไว้ตามแผนแม่บท ภายใต้ยุทธศาสตร์ชาติ ประเด็นการต่อต้านการทุจริตและประพฤติมิชอบ

 

 

 

พบว่า หน่วยงานทั้ง 23 หน่วยงาน ในสังกัดกระทรวงเกษตรและสหกรณ์มีค่า ITA อยู่ในระดับ A โดยมีคะแนนภาพรวมทั้งสิ้น 92.67 คะแนน สูงกว่าเกณฑ์เฉลี่ยการประเมินภาพรวมทั่วประเทศที่มีค่าเฉลี่ย 81.25 คะแนน

 

 

ยิ่งกว่านั้นกระทรวงเกษตรฯ ยังคว้าอับดับที่ 1 ของผลการประเมินคุณธรรมและความโปร่งใสประเภทที่ 5 (กองทุนและหน่วยงานของรัฐอื่น ๆ) ในระดับAA มากถึง 3 หน่วยงาน ได้แก่ กองทุนฟื้นฟูและพัฒนาเกษตรกร ได้คะแนนสูงสุดเป็นอันดับหนึ่ง 98.52%

 

 

ตามด้วยสำนักงานพัฒนาการวิจัยการเกษตร 97.22 % และองค์การส่งเสริมกิจการโคนมแห่งประเทศไทย 96.1 %

 

 

รัฐมนตรีว่าการกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ เฉลิมชัย ศรีอ่อน กล่าวต่อไปว่า ความก้าวหน้าพัฒนาของ 23 หน่วยงานในสังกัดกระทรวงเกษตรและสหกรณ์เป็นผลมาจากความมุ่งมั่นและการทำงานหนักของทุกคนในองค์กรอย่างต่อเนื่อง

 

 

โดยมุ่งเน้นการปฏิรูป 2 มิติคือการปฏิรูปการบริหารราชการและการปฏิรูปการบริการประชาชนด้วยความรวดเร็วมีประสิทธิภาพโปร่งใสและตรวจสอบได้

 

 

ภายใต้ “5 ยุทธศาสตร์การปฏิรูป” ซึ่งเป็นคานงัดสร้างจุดเปลี่ยนได้แก่ 1.ยุทธศาสตร์ตลาดนำการผลิต 2. ยุทธศาสตร์เทคโนโลยีเกษตร 4.0

 

 

3. ยุทธศาสตร์ “3’s” (Safety- Security-Sustainability- เกษตรปลอดภัย เกษตรมั่นคงและเกษตรยั่งยืน)

 

 

4. ยุทธศาสตร์การบริหารเชิงรุกแบบบรูณาการกับทุกภาคส่วน โดยเฉพาะโมเดล “เกษตร-พาณิชย์ทันสมัย”

 

 

 

5. ยุทธศาสตร์เกษตรกรรมยั่งยืนตามแนวทางศาสตร์พระราชา ทั้งนี้ กระทรวงเกษตรและสหกรณ์จะเร่งการดำเนินงานด้วยความซื่อสัตย์สุจริต และจะพัฒนาให้ดียิ่งขึ้นต่อไป

สำหรับผลคะแนนทั้ง 23 หน่วยงานของกระทรวงเกษตรฯ มีดังนี้ 

 

 

1. กองทุนฟื้นฟูและพัฒนาการเกษตร 98.52 คะแนน ระดับ AA

 

 

 2. สำนักงานพัฒนาการวิจัยการเกษตร 97.22 คะแนน ระดับ AA

 

 

3. องค์การส่งเสริมกิจการโคนมแห่งประเทศไทย 96.17 คะแนน ระดับ AA

 

 

4. สถาบันวิจัยและพัฒนาพื้นที่สูง 94.71 คะแนน ระดับ A

 

 

5. การยางแห่งประเทศไทย 94.58 คะแนน ระดับ A

 

 

6. กรมพัฒนาที่ดิน 94.47 คะแนน ระดับ A

 

 

7.สำนักงานปลัดกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ 93.86 คะแนน  ระดับ A

 

8. กรมส่งเสริมสหกรณ์ 93.80 คะแนน ระดับ A

 

 

9. องค์การตลาดเพื่อเกษตรกร 93.14 คะแนน ระดับ A

 

 

10. กรมชลประทาน 93.11 คะแนน ระดับ A

 

 

11. สำนักมาตรฐานสินค้าเกษตรและอาหารแห่งชาติ 93.00 คะแนน ระดับ A

 

 

12. กรมตรวจบัญชีสหกรณ์ 92.69 คะแนน ระดับ A

 

 

13. สำนักงานพิพิธภัณฑ์เกษตรเฉลิมพระเกียรติฯ 92.62 คะแนน ระดับ A

 

 

14. องค์การสะพานปลา 92.29 คะแนน ระดับ A

 

 

15. กรมฝนหลวงและการบินเกษตร 92.22 คะแนน A

 

 16. กรมวิชาการเกษตร 92.07 คะแนน ระดับ A

 

 17. กรมปศุสัตว์ 91.81 คะแนน ระดับ A

 

18. กรมส่งเสริมการเกษตร 90.60 คะแนน ระดับ A

 

 

19. สำนักงานการปฏิรูปที่ดินเพื่อเกษตรกรรม 90.22 ระดับ A

 

 

 20. กรมประมง 90.21 คะแนน ระดับ A

 

 

21. กรมหม่อนไหม 89.09 คะแนน ระดับ A

 

 

 22. กรมการข้าว 88.07 คะแนน ระดับ A

 

 

23. สำนักงานเศรษฐกิจการเกษตร 87.02 คะแนน ระดับ A 

 

 

คณะกรรมการ ป.ป.ช. และคณะกรรมการประเมินคุณธรรมและความโปร่งใสในการดำเนินงานของหน่วยงานภาครัฐ ได้จัดทำการประเมินคุณธรรมและความโปร่งใสในการดำเนินงานของหน่วยงานภาครัฐ (Integrity and Transparency Assessment : ITA)

 

 

โดยในปีนี้มีหน่วยงานภาครัฐเข้าร่วมการประเมิน ITA 8,300 หน่วยงาน มีประชาชนเข้ามาร่วมตอบแบบสอบถามจำนวน 1,331,588 ราย แบ่งเป็น เจ้าหน้าที่ของรัฐ 471,794 ราย และผู้รับบริการภาครัฐ 859,794 ราย

 

 

ซึ่งเป็นการประเมินที่มีคนเข้าร่วมมากที่สุดในประเทศไทยโดย
มีหน่วยงานทั่วประเทศที่ผ่านเกณฑ์ประเมินซึ่งต้องได้คะแนน 85% ขึ้นไป 4,146 หน่วยงาน คิดเป็น 49.95%

 

 

ทั้งนี้ การให้คะแนนความโปร่งใสหน่วยงานนั้น สามารถแบ่งเป็นเกรดต่าง ๆ ได้ดังนี้ เกรด AA 95-100 คะแนน / เกรด A 85-94.99 คะแนน / เกรด B 75-84.99 คะแนน / เกรด C65-74.99 คะแนน /

 

 

เกรด D 55-64.99 คะแนน / เกรด F 0-54.99 คะแนน โดยหน่วยงานที่ได้รับการประเมินแบ่งเป็น 8 ประเภท มีคะแนนเต็ม 100 คะแนนได้แก่

 

1.ประเภทหน่วยงานธุรการขององค์การศาล องค์กรอิสระ องค์กรอัยการ และหน่วยงานในสังกัดรัฐสภา 2.ประเภทส่วนราชการระดับกรม 3.ประเภทรัฐวิสาหกิจ 4.องค์การมหาชน

 

 

5.กองทุนและหน่วยงานของรัฐ 6.สถาบันอุดมศึกษา 7.จังหวัด (เฉพาะส่วนราชการส่วนภูมิภาคระดับจังหวัด) และ 8.องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น และองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นรูปแบบพิเศษ
 

logoline