พระเครื่อง

พระปิดตา "หลวงปู่เอี่ยม" วัดสะพานสูง ศิลปะแห่งการคลุกรักจุ่มรัก

เกาะติดข่าวสาร >> คมชัดลึก ออนไลน์
logoline

พระปิดตา "หลวงปู่เอี่ยม" วัดสพานสูง มีความเชื่อว่า แห่งเสน่ห์เมตตามหานิยม ด้วยผงปถมัง ผงอิทธิเจ ผงมหาราช ผงพุทธคุณ และผงตรีนิสิงเห ผสมผสานการลงอักขระด้วยผงชัน

ประวัติโดยย่อของ "หลวงปู่เอี่ยม" วัดสะพานสูง  จ. นนทบุรี

พระอธิการเอี่ยม ปฐมนาม เกิดเมื่อปี พ.ศ.2359 เป็นชาวนนทบุรีโดยกำเนิด เป็นบุตรของนายนาค และนางจันทร์ ชาวบ้านตำบลบ้านแหลม อำเภอปากเกร็ด จังหวัดนนทบุรี

 

อุปสมบทเมื่ออายุ 20 ปี (บางแห่งว่าอายุ 22 ปี) ที่วัดบ่อ ต.ปากเกร็ด ได้รับฉายาว่า “ปฐมนาม” บรรพชาแล้วไปจำพรรษา เพื่อศึกษาพระปริยัติธรรม ที่วัดกัลยาณมิตร ธนบุรี 7 พรรษา และวัดประยูรวงศาวาส 3 พรรษา ต่อมาได้ไปจำพรรษา เพื่อศึกษาสมถกรรมฐาน และวิปัสสนากรรมฐานที่วัดนวลนรดิศ เป็นเวลาอีกประมาณ 5 พรรษา อยู่ถึงราว ๆ พ.ศ.2395  หลังจากนั้นจึงได้กลับมาวัดสะพานสูง ใน พ.ศ.2396 ซึ่งในขณะนั้นยังใช้ชื่อเก่าว่า “วัดสว่างอารมณ์”  ซึ่งต่อมา สมเด็จพระมหาสมณเจ้า กรมพระยาวชิรญาณวโรส  เสด็จทอดพระเนตร เห็นสะพานสูงข้ามคลองหน้าวัด ได้ประทานนามใหม่ว่า วัดสะพานสูง จึงนับว่าหลวงปู่เอี่ยมท่านได้เป็นเจ้าอาวาสวัดสะพานสูง หรือวัดสว่างอารมณ์ ตั้งแต่ พ.ศ.2396 เป็นต้นมา

และในแทบจะทุกปีหลวงปู่เอี่ยมท่านมักจะออกธุดงค์ โดยเฉพาะแถว จ. ปราจีนบุรี และมีเรื่องราวคุณวิเศษของท่านในการออกธุดงค์มากมายหลายเรื่อง  เป็นที่โจษขานในเรื่องความเก่งกล้าวิชาอาคม และความเป็นพระอริยสงฆ์ของท่าน

พระปิดตา หลวงปู่เอี่ยม วัดสะพานสูง พิมพ์ทรง แบ่งเป็น 3 พิมพ์ คือ

1.พิมพ์ชะลูด

องค์นี้เนื้อผงคลุกรักจุ่มรักปิดทอง มีความแห้งความเก่าถึงยุคมีเม็ดแดงขึ้นในผิวชัดเจน ด้านหลังมีรอยลั่นปริแตกตามธรรมชาติ

พระปิดตา "หลวงปู่เอี่ยม" วัดสะพานสูง ศิลปะแห่งการคลุกรักจุ่มรัก

พระปิดตา "หลวงปู่เอี่ยม" วัดสะพานสูง ศิลปะแห่งการคลุกรักจุ่มรัก

 

2.พิมพ์ตะพาบ

เนื้อผงคลุกรักจุ่มรัก มวลสารครบสูตร มีรอยลั่นปริ แห้งจัด ถือว่าเนื้อหาชั้นครู

พระปิดตา "หลวงปู่เอี่ยม" วัดสะพานสูง ศิลปะแห่งการคลุกรักจุ่มรัก

 

ด้านหลังเม็ดแดงดำขาว ลั่นแตกสวยคลาสสิคมาก

พระปิดตา "หลวงปู่เอี่ยม" วัดสะพานสูง ศิลปะแห่งการคลุกรักจุ่มรัก

 

 3.พิมพ์พนมมือ

เนื้อผงคลุกรัก เก่าแห้งจัด เนื้อออกน้ำตาลอ่อนๆ

พระปิดตา "หลวงปู่เอี่ยม" วัดสะพานสูง ศิลปะแห่งการคลุกรักจุ่มรัก

พระปิดตา "หลวงปู่เอี่ยม" วัดสะพานสูง ศิลปะแห่งการคลุกรักจุ่มรัก

 

เนื้อหา และมวลสาร พระปิดตา หลวงปู่เอี่ยม วัดสะพานสูง

ผงที่ท่านใช้ในการสร้างพระปิดตา เป็นว่าน และรากไม้มงคล แห่งเสน่ห์เมตตามหานิยม นำมาบดผสมกับ ผงปถมัง ผงอิทธิเจ ผงมหาราช ผงพุทธคุณ และผงตรีนิสิงเห การทำผง หลวงปู่เอี่ยมท่านจะบริกรรมคาถา พระยันต์อิติปิโส  พระยันต์ไตรสรณคมน์ และพระยันต์โสฬสมหามงคล ลงอักขระ และลบ ที่สำคัญ และไม่เหมือนใคร คือหลวงปู่ท่านใช้ผงชันที่ใช้สำหรับยาเรือ เป็นส่วนผสมเนื้อพระปิดตาของท่าน

พระปิดตา หลวงปู่เอี่ยม มีทั้งเนื้อผง เนื้อผงจุ่มรัก เนื้อผงคลุกรัก จุ่มรัก การลงรักนั้น เนื่องจากรักมีคุณสมบัติพิเศษ สามารถรักษาเนื้อพระ และสภาพขององค์พระให้สมบูรณ์  แม้จะผ่านมาเป็นเวลานาน รวมถึงเป็นตัวผสานเวลาปิดทององค์พระอีกด้วย เนื้อพระปิดตา หลวงปู่เอี่ยมมีทั้งที่ผสมคลุกรัก และจุ่มรัก ที่เรียกว่า “รักน้ำเกลี้ยง” มีทั้งที่ปิดทอง และไม่ปิดทอง

 

เนื้อผงคลุกรักจุ่มรัก ธรรมชาติความแห้งเก่าสูงมาก

พระปิดตา "หลวงปู่เอี่ยม" วัดสะพานสูง ศิลปะแห่งการคลุกรักจุ่มรัก

พระปิดตา "หลวงปู่เอี่ยม" วัดสะพานสูง ศิลปะแห่งการคลุกรักจุ่มรัก

 

ลักษณะสำคัญ พระปิดตา หลวงปู่เอี่ยม วัดสะพานสูง คือ จะเป็น พิมพ์แบบประกบหน้าหลัง ถ้าพิจารณารอบๆ องค์พระจะเห็นตะเข็บด้านข้างเกือบจะทุกองค์  องค์ที่สภาพผ่านการใช้  จะมีรอยปริแตกกะเทาะทำให้เห็นเนื้อใน  โดยเนื้อในจะเป็นสีน้ำตาลแก่ อ่อน เนื้อหยาบ สามารถเห็นมวลสารอย่างชัดเจน และที่ขาดไม่ได้ คือ จะต้องมีเม็ดแดง เม็ดขาว และดำแซมอยู่ในเนื้อพระ

พระปิดตา "หลวงปู่เอี่ยม" วัดสะพานสูง ศิลปะแห่งการคลุกรักจุ่มรัก

พระปิดตา "หลวงปู่เอี่ยม" วัดสะพานสูง ศิลปะแห่งการคลุกรักจุ่มรัก

พุทธคุณ พระปิดตา หลวงปู่เอี่ยม วัดสะพานสูง

โดดเด่นในด้าน เมตตามหานิยม โชคลาภ และแคล้วคลาด คงกระพันชาตรี รวมถึงป้องกันภูตผีปีศาจ และคุณไสย 

หลวงปู่เอี่ยม ท่านได้มรณภาพเมื่อ พ.ศ.2439 อายุได้ 80 ปี พรรษา 59 ก่อนที่ท่านจะละสังขาร ท่านได้กล่าวกับบรรดาศิษย์อันเป็น อมตวาจาว่า “ถ้ามีเหตุสุขทุกข์เกิดขึ้น  ให้ระลึกออกชื่อถึงเราก็แล้วกัน”  ความเดือดร้อนนั้นจะถูกขจัดปัดเป่าไป ตั้งแต้นั้นมาลูกศิษย์ลูกหาเมื่อมีเรื่องใดๆ จะอาราธณาชื่อท่าน เพื่อปกป้องคุ้มภัย ให้รอดจากภยันตรายทั้งปวง  จนเป็นที่เลี่ยงลือไปทั่วในความศักดิ์สิทธิ์ของหลวงปู่เอี่ยม สมกับที่พระเครื่อง และเครื่องราง (ตะกรุด) ที่ท่านสร้างพุทธานุภาพมากมาย จนติด 1 ใน 5 เบญจภาคี ของประเทศไทยทั้งสองประเภท

 

 เรื่อง: นุ เพชรรัตน์        

 

logoline

ข่าวที่น่าสนใจ