ข่าว

สสก. 3 รย. ชูผลงาน ศูนย์จัดการ"ศัตรูพืช"ชุมชน (ศจช.) ดีเด่น ระดับเขต ปี 2564

เกาะติดข่าวสาร >> คมชัดลึก ออนไลน์
logoline

สสก. 3 รย. ชูผลงาน ศูนย์จัดการ"ศัตรูพืช"ชุมชน (ศจช.) ดีเด่น ระดับเขต ปี 2564 ต้นแบบ การผลิตและขยายเชื้อรามหัศจรรย์..ปราบโรคทุเรียน

 

 

เชื้อรามหัศจรรย์ หรือเชื้อราไตรโคเดอม่า เป็นเชื้อราในการควบคุมป้องกันกำจัดโรคพืชที่เกิดเชื้อรา ที่มีประสิทธิภาพและประสิทธิผลเป็นอย่างดี   เป็นวิธีการที่ปลอดภัยต่อสุขภาพ สิ่งแวดล้อมและการตกค้างของสารเคมี และทำให้เกษตรกรลดต้นทุนการผลิตได้

 

 

สสก. 3 รย. ชูผลงาน ศูนย์จัดการ"ศัตรูพืช"ชุมชน (ศจช.) ดีเด่น ระดับเขต ปี 2564

 

 

ศูนย์จัดการศัตรูพืชชุมชนตำบลท่ากุ่ม หมู่ที่ 6 ตำบลท่ากุ่ม อำเภอเมืองตราด จังหวัดตราด เป็นศูนย์กลางแหล่งผลิตและขยายเชื้อราไตรโคเดอม่า ที่สนับสนุนสมาชิกและเกษตรกรทั่วไปใช้อย่างเป็นรูปธรรมที่มีการประยุกต์รูปแบบผลิตภัณฑ์ของเชื้อราไตรโคเดอม่าอย่างหลากหลายเพื่อให้เหมาะสมกับการนำไปใช้ทุกสภาพพื้นที่

 

 

และยังจัดทำแปลงสาธิตใช้สารชีวภัณฑ์เชื้อราไตรโคเดอร์มาในแปลงปลูกสำหรับเป็นต้นแบบในการนำไปขยายผลในวงกว้างอย่างต่อเนื่อง

 

 

และนี่เอง คือ ผลงานเด่น....ของศูนย์จัดการศัตรูพืชชุมชนตำบลท่ากุ่ม จนได้รับการคัดเลือกเป็น ศจช. ดีเด่น ประจำปี 64 ระดับเขต (ภาคตะวันออก) 

 

 

สสก. 3 รย. ชูผลงาน ศูนย์จัดการ"ศัตรูพืช"ชุมชน (ศจช.) ดีเด่น ระดับเขต ปี 2564

 

 

นายปิยะ สมัครพงศ์ ผู้อำนวยการสำนักงานส่งเสริมและพัฒนาการเกษตรที่ 3 จังหวัดระยอง เปิดเผยว่า  ศูนย์จัดการศัตรูพืชชุมชน เป็นเครื่องมือที่กรมส่งเสริมการเกษตร ใช้ในการส่งเสริมและถ่ายทอดความรู้การจัดการศัตรูพืชให้กับเกษตรกรในชุมชนให้สามารถจัดการศัตรูพืชได้ด้วยตนเองอย่างยั่งยืน

 

 

นับตั้งแต่การบริหารจัดการศัตรูพืช  การวินิจฉัยศัตรูพืช การติดตามสถานการณ์และพยากรณ์ศัตรูพืช การป้องกันการระบาดและการผลิตขยายสารชีวภัณฑ์หรือแมลงศัตรูธรรมชาติเพื่อป้องกันกำจัดศัตรูพืช

 

 

สสก. 3 รย. ชูผลงาน ศูนย์จัดการ"ศัตรูพืช"ชุมชน (ศจช.) ดีเด่น ระดับเขต ปี 2564

 

 

สำนักงานส่งเสริมและพัฒนาการเกษตรที่3 จังหวัดระยอง มีบทบาทภารกิจหน้าที่ในการขับเคลื่อนศูนย์จัดการศัตรูพืชชุมชนของภาคตะวันออกให้เป็นอย่างมีประสิทธิภาพและเป็นระบบ ให้ตอบสนองความต้องการต่อเป้าหมายที่กรมฯ กำหนด

 

 

และที่สำคัญตอบสนองต่อบริบทของพื้นที่และชุมชนที่นำสู่การแก้ปัญหาด้านศัตรูพืชอย่างยั่งยืน เพื่อเป็นสร้างต้นแบบที่ดีของศูนย์จัดการศัตรูพืชชุมชน จึงได้มีการประกวดศูนย์จัดการศัตรูพืชชุมชนดีเด่นระดับเขต เพื่อนำไปขยายผลสู่ ศจช.อื่นๆต่อไป 

 

 

สสก. 3 รย. ชูผลงาน ศูนย์จัดการ"ศัตรูพืช"ชุมชน (ศจช.) ดีเด่น ระดับเขต ปี 2564

 

 

 

สำหรับศูนย์จัดการศัตรูพืชชุมชนตำบลท่ากุ่มนั้น จัดตั้งขึ้นเมื่อปี 2561 ณ หมู่ที่ 6 ตำบลท่ากุ่ม อำเภอเมืองตราด จังหวัดตราด ปัจจุบันมีสมาชิก 54 ราย มีนายเรือง ศรีนาราง เป็นประธานศูนย์ฯ ซึ่งศูนย์ได้มีการดำเนินกิจกรรมสำรวจและติดตามสถานการณ์ของศัตรูพืชในพื้นที่เพาะปลูกของเกษตรกรอย่างใกล้ชิด

 

 

พร้อมรายงานการระบาดของศัตรูพืชให้กับสมาชิกและหน่วยงานที่เกี่ยวข้องได้รับทราบอย่างทันท่วงที ขณะเดียวกันเกษตรกรสมาชิกศูนย์ได้รับการถ่ายทอดให้รู้จักกับชนิดชองศัตรูพืชและศัตรูธรรมชาติของแมลงศัตรูพืช พร้อมทั้งมีความรู้ด้านเทคโนโลยีการบริหารจัดการศัตรูพืช  

 

 

นอกจากนี้มีการเตือนภัยการระบาดของศัตรูพืชให้เกษตรกรในพื้นที่ได้รับทราบอย่างทันต่อเหตุการณ์ พร้อมถ่ายทอดความรู้ด้านการบริหารจัดการศัตรูพืชให้แก่เกษตรกรในพื้นที่ใกล้เคียง และผลิตขยายศัตรูธรรมชาติและสารธรรมชาติจากพืชเพื่อใช้ควบคุมแมลงศัตรูพืชอย่างต่อเนื่อง

 

 

 และเนื่องจากสมาชิกศูนย์จัดการศัตรูพืชชุมชนตำบลท่ากุ่มมีการปลูกทุเรียนเป็นพืชหลัก ซึ่งมักจะประสบปัญหาการระบาดของโรครากเน่าโคนเน่าทุเรียนอยู่เป็นประจำ และมีการจัดทำแปลงพยากรณ์การระบาดของศัตรูพืชและเป็นแปลงเรียนรู้การใช้สารชีวภัณฑ์เชื้อราไตรโคเดอร์มาในการป้องกันกำจัดโรครากเน่าโคนเน่าทุเรียนได้อย่างมีประสิทธิภาพ  

 

 

นายเรือง  ศรีนาราง  ประธาน ศจช.ท่ากุ่ม  ได้ให้ข้อมูลเพิ่มเติมว่า “ทุเรียน เป็นไม้ผลเศรษฐกิจหลักของตำบลท่ากุ่ม สมาชิกประกอบอาชีพการปลูกทุเรียนเป็นอาชีพหลักเกือบทั้งหมดและประสบปัญหาเดียวกันคือ การระบาดของโรครากเน่าโคนเน่าทุเรียนที่นับวันมีการระบาดเพิ่มมากขึ้น

 

 

และพวกเราก็พึ่งการใช้สารเคมีอย่างเดียวกันอย่างมโหฬารจนส่งผลเสียอย่างมากมาย ไม่ว่าต้นทุนที่สูงขึ้น ควบคุมโรคไม่ได้ และมีการตายยกต้นยกสวน ทำให้เกิด ศจช.นี้ขึ้นมา จากการดำเนินที่ผ่านมา ได้มีการนำเชื้อราไตรโคเดอม่ามาใช้และสามารถควบคุมโรคได้ แต่ยังประสบปัญหาการขยายผลการใช้ยังไม่แพร่หลาย

 

 

เพราะเกษตรกรไม่มีแหล่งผลิตและขยายเชื้อราไตรโคเดอม่าที่เชื่อถือได้และเพียงพอ ศจช.จึงได้เกิดแนวทางในการเป็นศูนย์แหล่งผลิตหัวเชื้อราไตรโคเดอม่าให้กับสมาชิกและยังมองเป้าหมายไปถึงเกษตรกรอื่นที่ประกอบอาชีพทุเรียนด้วย

 

 

กรมส่งเสริมการเกษตร ได้เข้าสนับสนุนตั้งแต่การจัดตั้ง การสร้างและพัฒนาองค์ประกอบของ ศจช.ท่ากุ่ม จนมีความพร้อมในการสนับสนุนงานด้านศัตรูพืชให้กับชุมชนได้เป็นเชิงประจักษ์

 

 

ประกอบกับหน่วยงานต่าง ๆ ที่เกี่ยวข้องได้เข้ามาส่งเสริมการผลิตขยายเชื้อราไตรโคเดอร์มามาอย่างต่อเนื่อง ปัจจุบัน ได้มีการพัฒนารูปแบบผลิตภัณฑ์ไตรโคเดอร์มาแบบแห้งขึ้น เพื่อสะดวกในการเก็บรักษาให้ได้นานขึ้นโดยไม่ต้องแช่

 

 

มีการพัฒนาเป็นรูปแบบน้ำล้างสปอร์พร้อมใช้ให้สะดวกขึ้น ซึ่งสามารถนำไปผสมน้ำแล้วใช้กับแปลงของตนเองได้ทันที ซึ่งจะช่วยให้การนำไปใช้ประโยชน์ของเกษตรกรสะดวกมากยิ่งขึ้น” 

logoline

ข่าวที่น่าสนใจ