ข่าว

"องค์กรต่อต้านคอร์รัปชัน" เปิดแนวคิดคนรุ่นใหม่ดันเทคโนโลยีพลิกเกมโกง

เกาะติดข่าวสาร >> คมชัดลึก ออนไลน์
logoline

"องค์กรต่อต้านคอร์รัปชัน" เผยแนวคิดคนรุ่นใหม่ ใช้ข้อมูลและเทคโนโลยีออกแบบไอเดียพลิกเกมโกง สร้างแรงบันดาลใจดึงกลุ่มต่างๆร่วมแก้ปัญหา"คอร์รัปชัน"

"องค์กรต่อต้านคอร์รัปชันฯ" ประกาศ 3  ทีมชนะเลิศ ออกแบบไอเดีย"พลิกเกมโกง" โดยใช้ข้อมูลและเทคโนโลยีเพิ่มความโปร่งใส ด้านประธานองค์กรต่อต้าน"คอร์รัปชันฯ" ประกาศสนับสนุนให้เป็นต้นแบบที่นำไปใช้จริง และสร้างแรงบันดาลใจดึงคนกลุ่มต่างๆร่วมแก้ปัญหาคอร์รัปชันที่มีความหลากหลาย

"องค์กรต่อต้านคอร์รัปชัน" เปิดแนวคิดคนรุ่นใหม่ดันเทคโนโลยีพลิกเกมโกง

เมื่อวันที่ 21 สิงหาคม 2564 องค์กรต่อต้านคอร์รัปชัน (ประเทศไทย) หรือ ACT และพันธมิตร จัดการแข่งขันรอบสุดท้าย ของ 5 ทีมที่เข้ารอบ Final Round Demo Day  ในกิจกรรม ACTkathon: Anti-Corruption VIRTUAL HACKATHON 2021 ภายใต้แนวคิด “พลิกเกมโกงให้อยู่หมัด สร้างไอเดียรัฐเปิดเผย” ซึ่งได้คัดเลือกผู้เข้าแข่งขันกว่า 100 คน จาก 20 ทีม เหลือ 5 ทีมสุดท้าย โดยถ่ายทอดสด ผ่าน Facebook Page: องค์กรต่อต้านคอร์รัปชัน(https://www.facebook.com/act.anticorruptionThailand) ตั้งแต่ เวลา 13.00 – 18.30 น.
 

 

ข่าวที่เกี่ยวข้อง

"องค์กรต่อต้านคอร์รัปชัน" ออกแถลง ค้านตั้ง"อัยการระดับสูง"

"เลขาฯต่อต้านคอรัปชั่น"ชี้ข้อดีทุจริตโกงภาษี บ่งบอกระบบตรวจสอบเข้มแข็ง

"ATK" เจ้าปัญหา "ดร.มานะ" ชี้ โกงหรือไม่ ใครพลาด ใครผิด ตรวจสอบยาก

 

นายวิเชียร พงศธร ประธานองค์กรต่อต้านคอร์รัปชัน (ประเทศไทย) กล่าวเปิดงานว่า การแข่งขันในครั้งนี้ประโยชน์ที่จะได้สูงสุด คือ การมีส่วนร่วมในเรื่องที่สำคัญในชีวิตของเรา จะทำให้ทุกคนได้ร่วมกันจัดการกับความเบื่อหน่าย ความเป็นกังวลกับปัญหาคอร์รัปชัน ที่เกิดขึ้นในปัจจุบันและอนาคต การที่สังคมถูกเบียดเบียนด้วยการโกง การกิน การรีดไถ ชักหัวคิวเพื่อประโยชน์พวกพ้อง ฮั้ว ฟอกเงิน หลับตาข้างเดียว บิดบังเบียดเบียนข้อมูล ฉ้อราษฎร์บังหลวงในหลายรูปแบบ

 

"หลายท่านอาจจะมีความชินชา น่าเบื่อและสิ้นหวัง แต่เราจะยอม เพิกเฉย ทิ้งให้อนาคตของเราถูกกัดกินต่อไปแบบนี้ไม่ได้ และขอขอบคุณทุกทีมที่ใช้นวัตกรรมสร้างสรรค์เพื่อการต้านโกงอย่างเป็นระบบ เป็นต้นแบบที่จะถูกนำไปใช้จริง เพื่ออำนวยให้คนไทยอีกจำนวนมาก เข้ามามีส่วนร่วม"

"องค์กรต่อต้านคอร์รัปชัน" เปิดแนวคิดคนรุ่นใหม่ดันเทคโนโลยีพลิกเกมโกง  
“หวังว่าจะเป็นการสร้างแรงบันดาลใจให้คนกลุ่มต่างๆ ได้เข้ามามีส่วนร่วมในการพัฒนาเครื่องมือที่หลากหลายเพื่อแก้ไขปัญหาคอร์รัปชัน ผมรู้สึกมีความหวังและคาดหวังการมีส่วนร่วมของทุกท่าน องค์กรต่อต้านคอร์รัปชันฯถือว่า เรื่องนี้เป็นพันธกิจที่จะร่วมสนับสนุนกระบวนการมีส่วนร่วม กระบวนการที่สร้างสรรค์ สนับสนุนให้คนรุ่นใหม่ได้นำเครื่องมือเหล่านี้ไปขยายผลอย่างจริงจัง ในการแก้ปัญหาทุจริตคอร์รัปชันต่อไป” นายวิเชียร กล่าว 

 

ผลการแข่งขันนำเสนอผลงานรอบสุดท้ายของทั้ง 5 ทีม ปรากฎกว่า 3 ทีม ที่ได้รับรางวัลชนะเลิศ เงินรางวัล  ทีมละ 150,000 บาท

"องค์กรต่อต้านคอร์รัปชัน" เปิดแนวคิดคนรุ่นใหม่ดันเทคโนโลยีพลิกเกมโกง

ได้แก่  ทีม 17: ขิงบ้านเรา รู้จักชุมชนของเราให้ดีกว่าที่เคย  แพลตฟอร์มตรวจสอบการใช้งบประมาณของท้องถิ่น, ทีม 1: Application PICA เรดาห์จับโกง แพลตฟอร์มที่เปิดโอกาสให้ร้องเรียนสิ่งผิดปกติโดยไม่ต้องเปิดผยตัวผู้ร้องเรียน และ ทีม 4 :  Corruption Analysis “กินยกแก๊ง” แพลตฟอร์ม วิเคราะห์ความเชื่อมโยงความสัมพันธ์ระหว่างนักการเมือง เครือข่ายธุรกิจ และเครือญาติเพื่อหาความผิดปกติในการคอร์รัปชัน

 

สำหรับทีมที่ได้รับรางวัล Popular Vote คือ ทีม 1: Application PICA เรดาห์จับโกง รับเงินรางวัล 20,000 บาท โดยผู้ชมร่วมโหวตตั้งแต่เวลา 15:30 -18.00 น.  

 

สำหรับแนวทางในการใช้เทคโนโลยีจัดการกับการคอร์รัปชันของทีมชนะเลิศทั้ง 3 ทีม  มีดังนี้ 

 

ทีม 1: Application PICA เรดาห์จับโกง  Application PICA จะทำให้ผู้ใช้เข้าถึงข้อมูลโครงการที่มีความสงสัย และส่งข้อมูลเรื่องร้องเรียนได้ทันที รวมถึงสามารถแชร์ผ่านโซเชียลมีเดียเพื่อให้มีผู้เข้ามามีส่วนร่วมในการตรวจสอบ ผู้ร้องเรียนต้องยืนยันตัวตน ข้อมูลจะบันทึกบนบล็อกเชน ระบบหลังบ้านจะใช้ทั้ง AI และเจ้าหน้าที่ทำการตรวจสอบซ้ำ ข้อมูลที่ได้จากภาคประชาชนจะส่งต่อไปให้องค์กรภาคีต่อต้านคอร์รัปชัน สร้างไวรัลมาร์เก็ตติ้งให้หน่วยงานที่เกี่ยวข้องมาตรวจสอบและสร้างไวรัลเน็ตเวิร์คสร้างเครือข่ายการตรวจสอบ สมาชิกของทีม ประกอบด้วย  วสันต์ เวียนรุ่งเรือง,ปัณณธร นันทิประภา และ วรพัชชา บุญมี

 

ทีม 4: Corruption Analysis “กินยกแก๊ง” การเชื่อมโยงความสัมพันธ์ระหว่างนักการเมือง เครือข่ายธุรกิจ และเครือญาติ การค้นหาความจริงจากเครือข่ายทุจริต มีความยุ่งยากในการเชื่อมโยงข้อมูล Corruption Analysis เชื่อมโยงเชิงปริมาณทั่วประเทศ โดยเอาข้อมูลมาวิเคราะห์หาความสัมพันธ์ และแสดงแนวโน้มการทุจริต ตั้งแต่วิธีการจัดซื้อจัดจ้าง การทุจริตเชิงนโยบาย และการทุจริตในกระบวนการประมูล 


สมาชิกของทีม ประกอบด้วย ณัฐพงษ์ พัฒนผล, ศุภฤกษ์ พิสิฐศุภกานต์, นภา วงศ์ไชยบริหาร คำนันท์ และ ถมทอง นาถมทอง

 

และทีม 17: ขิงบ้านเรา รู้จักชุมชนของเราให้ดีกว่าที่เคย แพลตฟอร์มเน้นไปที่การตรวจสอบการใช้งบประมาณของท้องถิ่น โดยพัฒนาแพลตฟอร์มต่อยอดแอปพลิเคชั่น ACT Ai ในการทำให้การนำเสนอข้อมูลของงบประมาณท้องถิ่นเข้าใจง่าย เพื่อให้คนช่วยกันติดตามการใช้งบประมาณอย่างสะดวก โดยจะวิเคราะห์ข้อมูลการใช้งบประมาณโครงการในท้องถิ่น เริ่มจากการรวบรวมงบประมาณในท้องถิ่นเพื่อให้คนในท้องถิ่นได้รับรู้ว่ามีโครงการอะไรบ้าง สามารถตรวจสอบโครงการจัดซื้อจัดจ้างในพื้นที่ วงเงินงบประมาณ รายละเอียดการใช้จ่ายเงินงบประมาณ อนาคตสามารถเชื่อมโยงข้อมูลจากแพลตฟอร์มไปยังหน่วยงานของรัฐเพื่อตรวจสอบหาความเชื่อมโยงของผู้เกี่ยวข้องได้

 

สมาชิกของทีม ประกอบด้วย  ยุทธนา ศรีสวัสดิ์,เมธวิน เมธาววีนิจ, จรรยนนท์ โลหอุ่นจิตร, พิมพ์อร เสนากัสป์ และอาทิตย์ สุริยะวงศ์กุล

logoline

ข่าวที่น่าสนใจ