ข่าว

"สุพัฒนพงษ์" รัฐสร้าง"อีโคซิสเต็ม" ส่วน"ผู้ประกอบการไทย"ต้องเร่งปรับตัว

เกาะติดข่าวสาร >> คมชัดลึก ออนไลน์
logoline

"สุพัฒนพงษ์"ชี้" ผู้ประกอบการไทย"ต้องเร่งปรับตัว ขณะที่ภาครัฐวางอินฟราสตรัคเจอร์ สร้าง"อีโคซิสเต็ม"เพื่อรองรับการขับเคลื่อนของภาคเอกชนเต็มที่ สอดรับ "โมเดลเศรษฐกิจแบบ 4D”

 

รองนายกรัฐมนตรีและรัฐมนตรีว่าการกระทรวงพลังงาน นายสุพัฒนพงษ์ พันธุ์มีเชาว์(คลิกอ่านประวัติ) กล่าวในงาน Virtual Seminar เรื่อง Thailand Next Innovation Beyond Business โอกาสนวัตกรรมเศรษฐกิจ ของกลุ่มเนชั่นว่า เศรษฐกิจนวัตกรรมเทคโนโลยี จะเป็นรูปแบบ
เศรษฐกิจใหม่ที่เกิดขึ้นและเข้ามาช่วยฟื้นฟูประเทศไทย หลังจากสถานการณ์โควิด -19 ผ่านไป

 

 

เพราะฉะนั้นภาครัฐ จึงมีการลงทุนเตรียมพร้อมในเรื่องของอินฟราสตรัคเจอร์พร้อมสร้างอีโคซิสเต็มเพื่อรองรับการขับเคลื่อนเศรษฐกิจนวัตกรรมเทคโนโลยี ที่ทั้งภาครัฐและเอกชนจะเดินหน้าต่อไป 

 

 

ประเทศที่มีความก้าวหน้าทางด้านนวัตกรรมและเทคโนโลยี มีความได้เปรียบอย่างเห็นได้ชัดในสถานการณ์โควิด -19 ขณะนี้ เพราะสามารถใช้ระยะเวลาอันสั้นเพียงปีกว่า ๆ ก็สามารถพัฒนาวัคซีนขึ้นมาจัดการกับไวรัสโควิด -19 ได้ จากเดิมที่การค้นคิดวัคซีนแต่ละ
ชนิดใช้ระยะเวลามากถึง 8 ปี

 

 

ที่เห็นได้ชัดคือ วัคซีน mRNA  ซึ่งเป็นนวัตกรรมใหม่ล่าสุดที่เกิดขึ้นในช่วงของโควิด สิ่งที่เกิดขึ้น ทำให้ไทยต้องหันกลับมาให้ความสนใจและพัฒนานวัตกรรมอย่างเต็มที่

 

 

อย่างไรก็ตาม เรื่องของเทคโนโลยีดิจิทัล ผู้ประกอบการไทยมีการปรับตัวมาตลอด ทำให้ธุรกิจของภาคเอกชนเดินหน้าได้ต่อเนื่อง

 

 

และขณะนี้ได้มีการปรับตัวที่รวดเร็วมากขึ้น มีการนำเทคโนโลยีมาปรับใช้กับการดำเนินธุรกิจปัจจุบัน ในช่วงที่ผ่านมา เรื่องของนวัต
กรรม
และเทคโนโลยี ผู้ประกอบการไทยอาจไม่เข้มแข็งมากนัก

 

 

โดยเฉพาะองค์กรขนาดเล็ก เพราะไปมุ่งเน้นการซื้อเทคโนโลยี ซึ่งง่ายและสะดวก ไทยยังพึ่งพาแรงงานต่างด้าวเยอะ เพราะขณะนี้ไทยขาดแรงงานเนื่องจากกำลังเข้าสู่สังคมผู้สูงอายุ โดยไม่ยังมี
การลงทุนด้านนวัตกรรมและเทคโนโลยีค่อนข้างน้อย ทำให้เป็นจุดอ่อนของไทย

 

รัฐบาลให้ความสำคัญกับการส่งเสริมและผลักดันให้ผู้ประกอบการได้ขับเคลื่อนเรื่องของนวัตกรรมและเทคโนโลยีอย่างเต็มที่

 

 

โดยการลงทุนอินฟราสตรัคเจอร์ และอีโคซิสเต็ม เพื่อรองรับความต้องการของภาคเอกชนในการเดินหน้าเรื่องการลงทุนด้านนวัต
กรรมและเทคโนโลยีอย่างเต็มที่ผ่าน "โมเดลเศรษฐกิจแบบ 4D"

 

 

ได้แก่ 1.Digitalization คือการส่งเสริมเรื่องของโครงสร้างพื้นฐานด้านดิจิทัล การลดกฎระเบียบ การพัฒนาศูนย์กลางข้อมูล (Data center) ให้มีความพร้อมรับเศรษฐกิจดิจิทัลที่จะเป็นหัวใจในการ
ขับเคลื่อนเศรษฐกิจมากขึ้นเรื่อยๆ

 

 

2.Decarbonization หรือการมุ่งเน้นการส่งเสริมการผลิตที่ลดการปล่อยคาร์บอนไดออกไซด์และมลภาวะ 

 

 

3.Decentralization ซึ่งเบื้องต้นจะเน้นใน 5 อุตสาหกรรมที่ไทยมีฐานการผลิตและมีความเชี่ยวชาญได้แก่ อุตสาหกรรมเป้าหมายของประเทศ ทั้งยานยนต์ไฟฟ้าอิเล็กทรอนิกส์อัจฉริยะ การท่องเที่ยวและการดูแลสุขภาพและดิจิทัล

 

 

โดยในระยะเร่งด่วนตั้งเป้า หมายดึงกลุ่มอุตสาหกรรมการท่องเที่ยวและการดูแลสุขภาพเข้ามาก่อน เพราะสามารถทำได้เร็ว

 

 

และ 4.D-risk คือใช้ประโยชน์จากแนวโน้มการลดความเสี่ยงในเรื่องของการซื้อที่อยู่อาศัยในต่างประเทศ โดยต้องทำอย่างไรให้จุดแข็งของไทยในเรื่องการควบคุมโควิด-19 ได้ดี ระบบสาธารณสุขที่ดี  มีอาหารที่ดีราคาไม่แพงเป็นจุดแข็งที่จะดึงดูดให้ผู้มีรายได้สูงมาอยู่ในไทยในระยะยาวและมาซื้ออสังหาริมทรัพย์อยู่ในไทยเพื่อเป็นบ้านหลังที่ 2 
 

logoline

ข่าวที่น่าสนใจ