ข่าว

ห่วงเด็กกำพร้าเพิ่ม ผนึกความร่วมมือ "ตั้งศูนย์ช่วยเหลือ"เด็กโควิด-19

เกาะติดข่าวสาร >> คมชัดลึก ออนไลน์
logoline

ห่วง"เด็กกำพร้า"เพิ่มจากโควิด เดินหน้า"ศูนย์ช่วยเหลือ"เด็กโควิด-19  ผนึกกำลังหน่วยงานรัฐ เอกชน ภาคประชาชน ดูแลเด็กเชิงรุก กาย ใจ สังคม และป้องกันหลุดนอกระบบการศึกษา

กองทุนเพื่อความเสมอภาคการศึกษา  หรือ กสศ.  พร้อมกระทรวงการพัฒนาสังคมและความมั่นคงของมนุษย์ (พม.) และเครือข่ายทางการศึกษาและสังคม  ร่วมแถลงข่าวออนไลน์เกี่ยวกับการตั้งศูนย์ช่วยเหลือเด็กโควิด-19 พร้อมรายงานข้อมูล แนวโน้มสถานการณ์ และการช่วยเหลือครอบคลุมทุกปัญหาเร่งด่วนทั้งนี้มีความเป็นห่วง "เด็กกำพร้า"ที่จะเพิ่มขึ้นจากสถานการณ์โควิด-19

ห่วงเด็กกำพร้าเพิ่ม ผนึกความร่วมมือ "ตั้งศูนย์ช่วยเหลือ"เด็กโควิด-19

นางสุภัชชา สุทธิพล อธิบดีกรมกิจการเด็กและเยาวชน (ดย.) กระทรวงการพัฒนาสังคมและความมั่นคงของมนุษย์  กล่าวว่า  สถานการณ์ปัจจุบันพบเด็กติดเชื้อโควิด-19 รายวันล่าสุดประมาณ  2,900 คน มีจำนวนเด็กติดเชื้อสะสม 96,393  คน และยังมีแนวโน้มเพิ่มขึ้น  เนื่องจากเด็กเป็นกลุ่มเปราะบาง ต้องได้รับการดูแลเป็นพิเศษ  การปกป้องคุ้มครองไม่สามารถดำเนินการได้โดยหน่วยงานเดียว จึงนำมาสู่ความร่วมมือของ กระทรวงการพัฒนาสังคมและความมั่นคงของมนุษย์ กองทุนความเสมอภาคเพื่อการศึกษา กรมสุขภาพจิต และองค์การยูนิเซฟ ประเทศไทย  จัดตั้งศูนย์ช่วยเหลือเด็กโควิด-19 ขึ้น

เพื่อเป็นศูนย์กลางประสานเชื่อมต่อบริการของหน่วยงานภาครัฐ องค์กรเอกชน ภาคประชาสังคม และอาสาสมัครในการช่วยเหลือเด็กและครอบครัวได้อย่างไร้รอยต่อ กลุ่มเป้าหมายครอบคลุมตั้งแต่กลุ่มแรกเกิดจนถึงอายุ 18 ปี ห่วงเด็กกำพร้าเพิ่ม ผนึกความร่วมมือ "ตั้งศูนย์ช่วยเหลือ"เด็กโควิด-19

ข่าวที่เกี่ยวข้อง

 

 

อธิบดีกรมกิจการเด็กและเยาวชน กล่าวว่า ศูนย์ฯ เปิดดำเนินการมาตั้งแต่วันที่ 10 ส.ค.2564 โดยเคสที่น่าเป็นห่วงคือประเด็นเด็กที่ไม่มีผู้ปกครองดูแลเพราะป่วยอยู่ และเด็กกำพร้าที่มีจำนวนเพิ่มมากขึ้น

 

ข้อมูลเด็กกำพร้าที่กรมฯ ให้การช่วยเหลือและอยู่ระหว่างการช่วยเหลือ ณ วันที่ 15 ส.ค.2564 มีจำนวน 182 คน ทั้งกำพร้าบิดา มารดา หรือกำพร้าทั้งบิดาและมารดา หรือผู้ปกครอง กระบวนการช่วยเหลือเชิงรุก ของศูนย์ฯ  จะมีผู้จัดการรายกรณี ระยะเร่งด่วนคือให้เด็กมีผู้ดูแลและปลอดภัย และประสานหน่วยงานเครือข่ายให้การช่วยเหลือด้านกาย จิต สังคม รวมถึงป้องกันหลุดออกจากระบบการศึกษา  

“การทำงานของศูนย์ช่วยเหลือเด็กโควิด – 19 เป็น virtual center เชื่อมโยงฐานข้อมูลการช่วยเหลือแบบไร้รอยต่อ เน้นบุคลากร อาสาสมัครในพื้นที่ทั่วประเทศเป็นสำคัญเพื่อเข้าถึงเด็กได้อย่างรวดเร็ว   ประชาชนทั่วไปสามารถประสานแจ้งเหตุผ่านช่องทางต่างๆ ทั้ง สายด่วน 1300  ติดต่อผ่านบ้านพักเด็กและครอบครัวทั้ง 77 จังหวัด และแอปพลิเคชั่นคุ้มครองเด็ก และความร่วมมือล่าสุด 4 หน่วยงานคือ  แอปพลิเคชั่นไลน์ : @savekidscovid19 มีทีมทำงานตลอด 24 ชั่วโมง เพื่อไม่ให้มีเด็กและครอบครัวตกหล่นจากการช่วยเหลือ” นางสุภัชชา กล่าว 

ห่วงเด็กกำพร้าเพิ่ม ผนึกความร่วมมือ "ตั้งศูนย์ช่วยเหลือ"เด็กโควิด-19

ศ.ดร.สมพงษ์ จิตระดับ กรรมการผู้ทรงคุณวุฒิ ภาคประชาสังคม กองทุนเพื่อความเสมอภาคการศึกษา (กสศ.) กล่าวว่า กสศ.สนับสนุน กลไกอาสาสมัครคุณภาพเข้ามาเป็นตัวช่วยให้เด็กกลุ่มเปราะบางเข้าถึงการดูแลรวดเร็วขึ้น รวมถึงเป็นกำลังเสริมให้แก่หน่วยงานหลักต่างๆ เช่น อาสาสมัครคุณครูทั้งในระบบและนอกระบบในชุมชนต่างๆ อาสาสมัครเยาวชน ช่วยรับส่งผู้ป่วยเด็ก การส่งชุดยา เครื่องมือติดตามอาการหรืออุปกรณ์ช่วยชีวิต ในกรณีจำเป็นเร่งด่วนตลอด 24 ชม.

 
เด็กกำพร้า เป็นกลุ่มที่น่าเป็นห่วงมากที่สุด  รองลงมาคือพ่อแม่ตกงานยากจนเฉียบพลัน การฟื้นฟูเยียวยา ต้องทำทันทีโดย กสศ. เน้นป้องกันเด็กหลุดนอกระบบการศึกษา  จึงจัดให้มีทุนสร้างโอกาสทางการศึกษาสำหรับเด็กในภาวะวิกฤติโควิด โดยมีcase manager วางแผนการช่วยเหลือรายคน อย่างน้อย 1,000 ทุน ถ้าเราไม่เริ่ม  ในสถานการณ์ปีเศษ ๆ ที่ผ่านมาจะไม่มีใครดึงเด็กขึ้นมาจากความเงียบ ศูนย์ช่วยเหลือเด็กโควิด-19 ทำงานเพียง 4 หน่วยงานไม่ได้ เราจึงพร้อมระดมความร่วมมือทุกภาคส่วนต่าง ๆ มาช่วยให้เด็กของเรารอด" ศ.ดร.สมพงษ์  กล่าว

ห่วงเด็กกำพร้าเพิ่ม ผนึกความร่วมมือ "ตั้งศูนย์ช่วยเหลือ"เด็กโควิด-19

พญ.พรรณพิมล วิปุลากร อธิบดีกรมสุขภาพจิต กระทรวงสาธารณสุข กล่าวว่า ตอนนี้ยังไม่มีตัวเลขที่ชัดเจนว่าเด็กที่ได้รับผลกระทบจากการสูญเสียมีจำนวนเท่าไหร่ เนื่องจากความสามารถการเข้าถึงเด็กกลุ่มนี้ และสถานการณ์ยังคงเดินหน้าต่อเนื่องและมีบางครอบครัวมีสมาชิกมากกว่า 1 คน ที่เสียชีวิต โดยการเสียชีวิตทั้งพ่อแม่ และผู้สูงอายุ จะส่งผลกระทบต่อจิตใจของเด็กเช่นเดียวกับผู้ใหญ่ที่มีความเศร้าจากการสูญเสียคนที่รัก แต่ปฏิกริยาของเด็กไม่เหมือนกับผู้ใหญ่ ที่ต้องการคนแวดล้อม มาช่วยทำให้ความเศร้าผ่านไป

อีกทั้งการศึกษาจากหลายประเทศพบว่าผลกระทบจากโควิด-19 ส่งผลกระทบมากกว่าปกติ ทั้งการไม่มีโอกาสได้ร่ำลา จัดพิธีศพเต็มรูปแบบ ส่งผู้เสียชีวิตเป็นครั้งสุดท้าย 

 

logoline

ข่าวที่น่าสนใจ