ข่าว

ดราม่า "เรียนออนไลน์" ครูเอา "ช้างแอฟริกา" มาสอนเด็กอนุบาล บอกเป็นสัตว์ประจำชาติไทย

เกาะติดข่าวสาร >> คมชัดลึก ออนไลน์
logoline

ดราม่า "เรียนออนไลน์" ครูเอา "ช้างแอฟริกา" มาสอนเด็กอนุบาล บอกเป็นสัตว์ประจำชาติไทย หมอเห็นแล้วจะเป็นลม ขณะที่กรมอุทยานแห่งชาติ สัตว์ป่า และพันธุ์พืช ได้อธิบายโดยการจำแนกลักษณะ "ช้างไทย"

ประเด็นดราม่าในโลกออนไลน์ จากกรณีที่คุณครูหญิงท่านหนึ่งขณะสอนเด็กนักเรียนชั้นอนุบาลในการ "เรียนออนไลน์" ปรากฏว่าครูท่านนี้ได้นำภาพของ "ช้างแอฟริกา" มาสอนเด็กแล้วบอกว่า "ช้าง" ในภาพเป็นสัตว์ประจำชาติไทย ท่ามกลางเสียงวิพากษ์วิจารณ์สนั่น

โดย นพ.รังสฤษฎ์ กาญจนะวณิชย์ อาจารย์แพทย์โรคหัวใจ ภาควิชาอายุรศาสตร์ คณะแพทยศาสตร์ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่ ได้ออกมาโพสต์แสดงความคิดเห็นเกี่ยวกับเรื่องนี้ว่า "น้องนักวิทยาศาสตร์คนนึง เห็นภาพนี้ จากมูลนิธิการศึกษาทางไกลผ่านดาวเทียมที่สอนเด็กทั่วประเทศแล้วโพสต์ให้ดูเห็นแล้วจะเป็นลม อันนี้เป็นเนื้อหาสอนเด็กอนุบาลเรื่องสัตว์ไทย แต่อนิจจา รูปที่ใช้ผิดเยอะมาก อย่างรูป ช้างที่เห็นเป็น "ช้างแอฟริกา" แต่บอกว่า นี่คือ สัตว์ประจำชาติไทย

 

สอนเรื่องนกก็บอกชื่อผิดหลายตัวและแทบไม่มีนกในเมืองไทยเลย อย่าหาว่าจู้จี้เกินเหตุ เลยนะครับ ถ้าสอนเรื่องวัดพระแก้ว แล้วเอารูปโบสถ์ในกรุงวาติกันมาแทนคงไม่มีใครรับได้ ปัญหาคือ พื้นความรู้ความเข้าใจ ธรรมชาติวิทยาของไทยเราเอง เราอ่อนกันมากๆ 

 

ผิดๆถูกๆ ก็ช่างมัน สะสมมากๆ ก็กลายเป็นรากของปัญหาทางสิ่งแวดล้อมมากมาย เราจำเป็นต้องให้สิ่งที่ถูกต้องกับเด็กๆครับ"


นอกจากนี้ภาพนก นพ.รังสฤษฎ์ ได้ยกตัวอย่างตามภาพ เช่น รูปบนซ้าย ไม่ใช่นกกระจิบ แต่เป็นกลุ่มนกพง ส่วนกานั้นก็ไม่ใช่กาจริงๆ แต่เป็น นกตระกูลกา ที่พบในต่างประเทศ คลิกดูคลิปดราม่า

 

ดราม่า \"เรียนออนไลน์\" ครูเอา \"ช้างแอฟริกา\" มาสอนเด็กอนุบาล บอกเป็นสัตว์ประจำชาติไทย

 

ขณะที่ทาง กรมอุทยานแห่งชาติ สัตว์ป่า และพันธุ์พืช ได้มีการจำแนกลักษณะช้างไทย โดยบอกว่า ช้างไทยที่เราพบเห็นหรือเรียกว่าช้างไทยนั้น จริงๆแล้วคือ ช้างเอเชีย สายพันธุ์อินเดีย (Elephas maximus indicus) ซึ่งช้างอินเดีย ยังพบในอีกหลายๆประเทศด้วยกัน (อินเดีย บังกลาเทศ ภูฐาน เนปาล เมียนมาร์ ลาว กัมพูชา เวียดนาม จีน มาเลเซีย และไทย)

 

 

ในประเทศไทยนั้นเรียกสายพันธุ์นี้ว่า "ช้างไทย" และได้มีการจำแนกลักษณะช้างตัวผู้และตัวเมียออก โดยหลักๆจะดูจากงา และเพศ ซึ่งสามารถจำแนกได้ตามนี้ ช้างสีดอ คือ ช้างเพศผู้ ที่ไม่มีงา /ช้างพลาย คือ ช้างเพศผู้ ที่มีงา /ช้างพัง คือ ช้างเพศเมีย

 

นอกจากงาและเพศแล้วยังสามารถสังเกตได้จากจุดอื่นๆได้อีก เช่น ส่วนหัว ตัวผู้จะใหญ่กว่าตัวเมีย และมีฐานงวงนูนโป่งกว่าตัวเมีย ส่วนหลังและบั้นท้าย เมื่อสังเกตจากด้านข้าง ช่วงบั้นท้ายของตัวผู้จะค่อยๆโค้งลาดลง ในขณะที่ของตัวเมียจะหักตรงลงมา

 

ถุงหุ้มอวัยวะเพศ โดยถุงหุ้มอวัยวะเพศของตัวผู้จะเรียวแหลมลงมา และวางตัวขนานกับท้อง บางครั้งจะเห็นอวัยวะเพศออกมาจากช่องท้องด้วย , ต่างจากตัวเมียถุงหุ้มอวัยวะเพศจะยาวลู่ลงมาในแนวดิ่งที่บริเวณขาหลัง

 

เต้านม ช้างตัวเมียจะมีเต้านมระหว่างขาคู่หน้า เต้านม จะเต่งนูนขึ้นจนสังเกตเห็นได้ชัด

 

การตกมัน หลังจากช่วงที่ช้างได้กินอาหารอย่างอุดมสมบูรณ์ช้างตัวผู้ มักจะมีอาการตกมัน โดยจะมีของเหลวข้นกลิ่นแรง ไหลออกมาจากต่อมบริเวณขมับ (Temporal gland) ย้อยลงมาบริเวณแก้มเห็นเป็นแถบสีดำ

 

 

ขอบคุณเฟซบุ๊ก นพ.รังสฤษฎ์ กาญจนะวณิชย์กรมอุทยานแห่งชาติ สัตว์ป่า และพันธุ์พืช

 

 

logoline
แท็กที่เกี่ยวข้อง

ข่าวที่น่าสนใจ