ข่าว

หมอเตือน "เห็ดพิษ" คล้าย "เห็ดไข่ห่าน" กินเข้าไปถึงตายได้

เกาะติดข่าวสาร >> คมชัดลึก ออนไลน์
logoline

หมอเตือน "เห็ดพิษ" ซึ่งมีลักษณะคล้ายกับ "เห็ดไข่ห่าน" ชี้กินเข้าไปถึงตายได้

นพ.รังสฤษฎ์ เรืองกาญจนวณิชย์ อาจารย์แพทย์โรคหัวใจ ภาควิชาอายุรศาสตร์ คณะแพทยศาสตร์ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่ โพสต์เตือน "เห็ดพิษ" ซึ่งมีลักษณะคล้ายกับ "เห็ดไข่ห่าน" ที่ชาวบ้านเก็บมาขายและประกอบอาหาร ชี้กินเข้าไปถึงตายได้ 

 

 

"วันก่อนเดินเที่ยวป่าเต็งรังเจอชาวบ้านหลายสิบคนออกไปหา "เห็ดไข่ห่าน" ตั้งแต่เช้ามืดเอาไปขายตลาดกัน ผมเจอเห็ดนี้ชาวบ้านเก็บมาแต่ทิ้งไว้ข้างทาง ดีแล้วครับขืนเอาไปขาย ไปกินเกิดโศกนาฏกรรมหมู่แน่ มันเป็นตระกูล Amanita sp. เหมือนกันกับเห็ดไข่ห่าน มีลักษณะคล้ายกันแต่เป็นพวกก้านตัน (ระโงกตีนตัน) เห็ดชนิดนี้มี alpha-Amanitoxin มีร้ายแรงต่อตับ กินได้แต่ชีวิตนี้ กินได้ครั้งเดียว ดอกเดียวตายครับ"

 

หมอเตือน "เห็ดพิษ" คล้าย "เห็ดไข่ห่าน" กินเข้าไปถึงตายได้

 

สำหรับ เห็ดระโงกพิษ เป็นเห็ดป่าในสกุล Amanita ถือเป็นเห็ดพิษชนิดรุนแรง และเป็นอันตรายที่สุด พบได้ในประเทศไทยโดยเฉพาะทางภาคตะวันออกเฉียงเหนือ

 

อันตรายของเห็ดระโงกพิษ

 

  • มีพิษอมาทอกซิน (Amatoxn) ที่ทนความร้อนถึงแม้รับประทานแบบปรุงสุกก็ยังทำให้เสียชีวิตได้
  • พิษอมาทอกซินจะไปยับยั้งการทำงานของเอนไซม์สังเคราะห์พันธุกรรม และหยุดการสร้างดีเอ็นเอ ทำให้ไม่สามารถสร้างโปรตีนมาซ่อมแซมอวัยวะที่เสียหายจากฤทธิ์การทำลายดีเอ็นเอได้ และไปกระตุ้นให้เซลล์ตาย
  • ตับเป็นอวัยวะที่เสียหายจากพิษนี้มากที่สุด เพราะตับมีหน้าที่กำจัดสารพิษ และการดูดซึมสารพิษเริ่มที่ตับ

 

ข้อแนะนำ 

 

  • ไม่รับประทานเห็ดป่าที่ไม่รู้จักเมื่อรับประทานเห็ดพิษ หากไปโรงพยาบาลทันภายใน 1 ชั่วโมง สามารถทำการล้างกระเพาะได้

 

  • หากมาโรงพยาบาลด้วยการแสดงอาการในขั้นที่ 1 เช่น คลื่นใส้ อาเจียน ท้องเสีย ซึ่งจะเกิดภายใน 24 ชั่วโมงหลังรับประทาน การแจ้งประวัติถึงการรับประทานเห็ดจะมีความสำคัญมากเพื่อให้แพทย์รักษาได้อย่างทันท่วงที เพราะอาการที่แสดงจะแยกจากอาหารเป็นพิษได้ยาก
  • เมื่อเข้าสู่วันที่ 4 จะเริ่มมีอาการขั้นที่ 2 อาจมีอาการของตับวายแสดงออกมา เช่น ตัวเหลือง ตาเหลืองในขั้นที่ 3 เมื่อตับวายแล้ว ความดันโลหิตจะตก ไตวายจากการที่ร่างกายบีบเส้นเลือดที่เลี้ยงไตตีบจนขาดเลือด (Hepatorenal syndrome)

 

ขอบคุณเฟซบุ๊ก นพ.รังสฤษฎ์ เรืองกาญจนวณิชย์ , รพ.จุฬาลงกรณ์ สภากาชาดไทย

logoline

ข่าวที่น่าสนใจ