ข่าว

ภัยใกล้ตัว"นิ่วในถุงน้ำดี"ใครก็เป็นได้

เกาะติดข่าวสาร >> คมชัดลึก ออนไลน์
logoline

ภัยใกล้ตัว"นิ่วในถุงน้ำดี" ที่เหมือนจะเกิดขึ้นกับใครก็ได้และสาเหตุ"นิ่วในถุงน้ำดี"ก็เป็นพฤติกรรมใกล้ตัว อย่างคนชอบกินหมูติดมันหรือติดกินหมูกระทะบ่อย ๆ พฤติกรรมเหล่านี้พาเสี่ยง"โรคนิ่วในถุงน้ำดี"หรือไม่

นิ่วในถุงน้ำดี คืออะไร

"นิ่วในถุงน้ำดี" ภาษาอังกฤษเรียกว่า Gallstones หรือ Cholelithiasis โดย"นิ่วในถุงน้ำดี"เป็นสารเคมีจาก"ถุงน้ำดี"ที่เกิดการตกผลึก กระทั่งจับตัวเป็น"ก้อนนิ่ว"ขึ้นมา ซึ่ง"ก้อนนิ่วในถุงน้ำดี"อาจมีขนาดเท่าเม็ดทรายหรืออาจมีขนาดใหญ่เท่าลูกปิงปองก็ได้และอาจมีเพียงก้อนเดียวหรือเป็นร้อย ๆ ก้อนก็ได้เช่นกัน

 

ใครบ้างที่เสี่ยงเป็น"นิ่วในถุงน้ำดี"

ผู้หญิงมีความเสี่ยงกว่าผู้ชาย 2-3 เท่าและเมื่ออายุ 40-60 ปี มีโอกาสเป็นเพิ่มขึ้นอีกโดยเฉพาะผู้หญิงสูงวัยที่มีน้ำหนักตัวเกินมาตรฐาน

 

และหากชอบกินอาหารมัน-หวาน ดื่มแอลกอฮอล์เป็นประจำก็มีเสี่ยงเช่นกัน เพราะการดื่มรับประทานแบบนี้เป็นสาเหตุสำคัญที่ทำให้มีคอเลสเตอรอลในเลือดสูงและมันคือปัจจัยอันดับต้น ๆ ในการเกิด"นิ่ว"นั่นเอง

 

-ผู้ป่วยโรคเลือดบางชนิดที่มีการแตกตัวของเม็ดเลือดแดงเร็วกว่าปกติ เช่น โรคธาลัสซีเมีย

 

- ผู้ป่วยโรคเบาหวานเพราะ"ถุงน้ำดี"จะมีการบีบตัวน้อยลงในผู้ที่มีน้ำตาลในเลือดสูง

 

- กรรมพันธุ์ โดยเฉพาะผู้ที่มีประวัติคนในครอบครัวเป็น"โรคนิ่วในถุงน้ำดี"มาก่อน

 

อาการ"นิ่วในถุงน้ำดี"

โดยทั่วไปไม่มีเกิดอาการ ผู้ป่วยมักจะทราบว่าเป็นโรคก็ต่อเมื่อมาตรวจสุขภาพหรือพบแพทย์หรืออาจทำให้เกิดอาการต่าง ๆ เช่น

 

  • มีไข้และหนาวสั่น

    

  • ปวดท้องกะทันหันและรุนแรง

 

     -คลื่นไส้หรืออาเจียน

 

    - ปวดหลังบริเวณระหว่างไหล่และสะบัก

 

    - ตัวเหลือง ตาเหลือง ปัสสาวะมีสีเข้ม

    

    -อุจจาระมีสีซีดลงเนื่องจากลำไส้ขาดน้ำดี

วิธีรักษา"นิ่วในถุงน้ำดี"

1. พบแพทย์ หากมีอาการปวดท้องที่น่าสงสัยว่าอาจจะเป็นนิ่วในถุงน้ำดี ควรไปตรวจที่โรงพยาบาลเพื่อพบแพทย์ภายใน 24 ชั่วโมงหรือพบแพทย์ฉุกเฉินหากมีอาการรุนแรง

 

2.การรักษาประคับประคองตามอาการ เช่น กรณีมีอาการท้องอืดท้องเฟ้อให้ทานยาลดกรดหรือยาแก้ท้องอืดท้องเฟ้อ

 

3.ยาละลายนิ่วในถุงน้ำดีซึ่งมักไม่ค่อยได้ผลใช้ได้เฉพาะกับ"นิ่ว"บางชนิดเท่านั้นและไม่เหมาะสมกับผู้ป่วยส่วนใหญ่และเมื่อหยุดยาก็อาจเกิด"นิ่ว"ในถุงน้ำดีเพิ่มได้อีกประมาณ 10% ต่อปีหรือประมาณ 50% ในระยะเวลา 5 ปี ฉะนั้นการรักษาที่แน่นอนคือการตัด"ถุงน้ำดี"ออกไป

 

4.การใช้วิธีสลายนิ่วด้วยคลื่นเสียงความถี่สูง (Extracorporeal shock wave lithotripsy – ESWL) เป็นการใช้คลื่นเสียงกระแทกนิ่วให้แตก หลังการรักษาผู้ป่วยอาจมีอาการปวดท้องแต่มีอัตราสำเร็จต่ำ ในปัจจุบันแพทย์จะไม่แนะนำให้ใช้วิธีนี้ในการสลายนิ่วในถุงน้ำดีกับผู้ป่วยไทย

 

5. การผ่าตัดเอาถุงน้ำดีออก (Cholecystectomy) เป็นการแก้ปัญหาอย่างถาวรเพื่อไม่ให้เกิด"นิ่วในถุงน้ำดี"ขึ้นอีกต่อไปซึ่งการผ่าตัดถุงน้ำดีในปัจจุบันจะมีอยู่ด้วยกัน 2 วิธี คือ

 

– การผ่าตัดถุงน้ำดีแบบเปิดหน้าท้อง (Open cholecystectomy) ซึ่งเป็นวิธีการผ่าตัดแบบเดิม ในปัจจุบันแพทย์จะเลือกใช้ในการผ่าตัดถุงน้ำดีที่มีอาการอักเสบมากหรือแตกทะลุในช่องท้อง(หลังการผ่าตัดด้วยวิธีนี้ ผู้ป่วยไม่ควรทำงานหนักหรือยกของหนักอย่างน้อย 4-6 สัปดาห์)

 

–การผ่าตัดถุงน้ำดีโดยการส่องกล้อง(Laparoscopic cholecystectomy) ซึ่งเป็นวิธีการผ่าตัดแบบใหม่และได้กลายเป็นการรักษามาตรฐานเพื่อรักษาภาวะนิ่วในถุงน้ำดี โดยจะเป็นการเจาะรูเล็ก ๆ ที่หน้าท้อง 4 จุด ทำให้เจ็บแผลน้อย ฟื้นตัวได้เร็ว 1-2 วันก็สามารถกลับบ้านได้

 

(ยกเว้นในกรณีที่ผู้ป่วยมีถุงน้ำดีอักเสบเฉียบพลัน ถ้าเป็นมากบางครั้งอาจจำเป็นต้องผ่าตัดใหญ่ด้วยวิธีการผ่าตัดแบบเปิดหน้าท้องหรือแบบเดิม ซึ่งแพทย์จะพิจารณาเป็นราย ๆ ไป)

 

6.รอเวลาที่เหมาะสม ในผู้ป่วยที่เป็นนิ่วในถุงน้ำดีที่ยังไม่มีอาการแสดงอะไรเลย แต่ตรวจพบโดยบังเอิญในขณะที่ตรวจรักษาโรคอื่น อาจจะยังไม่จำเป็นต้องรีบทำการผ่าตัด เนื่องจากมักเป็นนิ่วก้อนเล็กและอยู่ลึกที่ก้นถุงน้ำดี ซึ่งจะไม่ก่ออันตรายแก่ผู้ป่วย และแพทย์จะนัดติดตามดูเป็นระยะ ๆ

 

7.การส่องกล้องตรวจรักษาท่อทางเดินน้ำดีและตับอ่อน  ในกรณีที่ผู้ป่วยมีนิ่วในท่อน้ำดีร่วมด้วย เพื่อเอานิ่วที่อยู่ในท่อน้ำดีออกมา

logoline

ข่าวที่น่าสนใจ