แรงงานอเมริกาเดือด โควิดทำพิษ รายได้ไม่พอใช้
"โควิด-19วันนี้" เปิดช่องว่างความเหลื่อมล้ำในรอบ 40 ปีที่ผ่านมาจนวันนี้ ขณะที่รายได้ของกลุ่มแรงงานเพิ่มขึ้น 3.3% แต่รายได้ของกลุ่มผู้มีรายได้สูงสุด 5% ของประเทศกลับเพิ่มขึ้น 63.2%
ในวิกฤติการณ์โควิดอย่างนี้หลายคนอาจโชคดีได้ทำงานที่บ้านแล้วรับเงินเดือนตามปกติ หลายคนอาจจะลงทุนในหุ้นที่สร้างกำไรได้ บางบริษัทอาจจะเป็นขาขึ้นจึงไม่ได้รับผลกระทบจากพิษเศรษฐกิจโควิด แต่ก็มีคนกลุ่มหนึ่งที่ได้รับผลกระทบเข้าเต็ม ๆ อย่างนายเสว หวาง (Xue Vang) และแรงงานในบริษัทยูนิฟาย (Unifi) บริษัทเกี่ยวกับการตรวจสอบความปลอดภัยของเครื่องบินก่อนเครื่องจะขึ้น
นายเสวเล่าว่า เขานั้นต้องทำงานละลายน้ำแข็งออกจากตัวและปีกของเครื่องบินในช่วงฤดูหนาว ลำเลียงกระเป๋าเดินทางขึ้นเครื่อง ทั้งยังต้องคอยยึดล้อเครื่องบินเอาไว้เวลาที่นั้นเครื่องลงจอด นอกจากนี้ งานของเขามีความเสี่ยงต่อชีวิตมาก เพราะมีโอกาสที่จะเขาโดนดูดเข้าไปในเครื่องยนต์เครื่องบินได้ตลอดเวลา ที่สาหัสไปกว่านั้นในช่วงสถานการณ์โควิดนี้ ยังส่งผลให้เขาต้องทำงานยังหนักขึ้นเป็นเท่าตัวจากการที่มีการลดปลดพนักงานบางส่วนออก แต่เขากลับรู้สึกว่า ค่าแรงที่เขาได้รับกลับเท่าเดิมและไม่เพียงพอต่อความอยู่รอดและไม่คุ้มต่อความเสี่ยงที่เขาต้องเผชิญ ค่าจ้างนายเสวอยู่ที่ $11.50 (380 บาท) ต่อชั่วโมงในขณะที่งานวิจัยเปิดเผยว่าค่าจ้างขั้นต่ำที่เขาควรจะรับได้รับอยู่ที่ $14.13 (465 บาท) ต่อชั่วโมง
ไม่เพียงแต่นายเสว แต่เพื่อนร่วมงานคนอื่น ๆ ก็รู้สึกเช่นเดียวกัน นอกจากงานที่หนักแล้วพวกเขายังไม่พอใจกับสัญญาการปรับขึ้นค่าจ้างที่บริษัทให้ไว้เมื่อหลายปีก่อนแต่ไม่ได้เกิดขึ้นจริง และเมื่อพวกเขาได้รู้ว่ามีบริษัทอย่าง (Taco Bell) ให้ค่าจ้างเริ่มต้นที่ $14 (461 บาท) ต่อชั่วโมงทำให้พวกเขารวมตัวกันประท้วงต่อบริษัทยูนิฟายโดยไม่กลัวต่อการถูกไล่ออก
ประเด็นสำคัญคือ การรวมตัวประท้วงของแรงงานนี้ไม่ได้เกิดขึ้นเพียงกับบริษัทยูนิฟาย แต่เกิดเป็นกระแสการประท้วงของแรงงานในอุตสาหกรรมอื่น ๆ เช่นกัน
ไม่ว่าจะเป็นจากแรงงานในอุตสหกรรมฟาสท์ฟู๊ด แรงงานในสวนสนุก แรงงานภาคการเกษตร พยาบาลในบริษัทยาที่เห็นว่าบริษัทตัวเองนั้นประกาศงบออกมาว่าทำกำไรได้สูง แต่ทำไมค่าจ้างของรายชั่วโมงของพวกเขาถึงไม่ขยับขึ้นตาม
แรงงานจากอุตสาหกรรมเหล่านี้ต่างออกมาประท้วงเรียกร้องความเป็นธรรมให้กับตัวเองเพื่อให้นายจ้างขึ้นค่าแรงและเพิ่มสวัสดิการตามที่เขาควรจะได้รับ หากไม่ได้ผลพวกเขาก็ตัดสินใจด้วยการลาออกแล้วหาลู่ทางใหม่ที่จะทำให้มีรายรับเพิ่มขึ้นมากกว่าที่เป็นอยู่ ด้วยเหตุนี้เองนักเศรษฐศาสตร์จึงเฝ้าสังเกตุการณ์อย่างใกล้ชิดว่าปรากฏการณ์ดังกล่าวเป็นสัญญาณการบ่งชี้ว่าเศรษฐกิจในภาพรวมกำลังจะฟื้นตัวขึ้น และบังคับให้บริษัทใหญ่ ๆ ต่างต้องรีบหาแรงงานมาทดแทนส่วนที่ลาออกไป หรือ เป็นสัญญาณนี้เป็นที่บ่งชี้ว่า กลุ่มแรงงานไม่สามารถทนต่อแรงเสียดทานของระบบการจ่ายค่าจ้างที่ไม่เอื้ออำนวยต่อการพัฒนาคุณชีวิตของพวกเขาได้อีกต่อไป
แต่เรื่องที่น่าเก็บมาคิดด้วยคือ ตัวเลขของสถาบันนโยบายเศรษฐกิจของสหรัฐอเมริกา (Economic Policy Institute) ที่เปิดเผยว่าในรอบ 40 ปีที่ผ่านมา ในขณะที่รายได้ของกลุ่มแรงงานเพิ่มขึ้น 3.3% แต่รายได้ของกลุ่มผู้มีรายได้สูงสุด 5% ของประเทศกลับเพิ่มขึ้น 63.2% เพราะแบบนี้หรือเปล่าที่ทำให้แรงงานไม่สามารถยอมจำนนได้อีกต่อไป ก็ยังไม่มีข้อสรุปที่แน่ชัด
ที่มาของบทความ:
https://time.com/6082457/hourly-workers-demand-pay-benefits/?utm_source=facebook|
ที่มาของภาพประกอบ:
https://unsplash.com/