ข่าว

นักวิจัยเซอร์ไพรส์พบครั้งแรก "ลิงชิมแปนซีฆ่ากอริลลา" คาดแย่งชิงอาหาร (คลิป)

เกาะติดข่าวสาร >> คมชัดลึก ออนไลน์
logoline

พบเชิงประจักษ์ครั้งแรก "ลิงชิมแปนซีฆ่ากอริลลา" คาดแย่งชิงอาหาร ต้องศึกษาเพิ่มโคลเมตเชนจ์ มีบทบาทแค่ไหน


นักวิทยาศาสตร์จากมหาวิทยาลัยออสนาบรึก และสถาบันมักซ์ พลังค์ เพื่อมานุษยวิทยาวิวัฒนาการ ในเยอรมนี ซึ่งสังเกตการณ์ลิงชิมแปนซีในอุทยานแห่งชาติ Loango ประเทศกาบอง ภายใต้โครงการ Loango Chimpanzee Project  มาตั้งแต่ปี 2548 พบเห็นลิงชิมแปนซีโจมตีและฆ่าลิงกอริลลาเป็นครั้งแรก 

ลิงชิมแปนซีและกอริลลา อาจต่อสู้และฆ่ากัน แต่มักเกิดขึ้นในเผ่าพันธุ์ตัวเอง การปะทะกันถึงตายระหว่างลิงใหญ่สองชนิดพันธุ์ แทบไม่เคยพบมาก่อน โทเบียส เดชเนอร์ นักวานรวิทยาหัวหน้าทีม LCP กล่าวว่า นี่จึงเป็นหลักฐานครั้งแรกว่า การมีอยู่ของลิมชิมแปนซี มีผลกระทบอันตรายต่อลิงกอริลลา ซึ่งทีมวิจัยจะสอบสวนต่อไปว่าปัจจัยอะไรที่เป็นสาเหตุ 

 

นักวิจัยในโครงการ Loango Chimpanzee สังเกตพฤติกรรมลิงใหญ่ในอุทยานแห่งชาติ Loango มานานหลายปีเพื่อเรียนรู้พฤติกรรมในด้านต่างๆ รวมถึงปฏิสัมพันธ์โดยตรงระหว่างลิงกอริลลากับชิมแปนซี  ซึ่งพบว่าเป็นปฏิสัมพันธ์แบบเป็นมิตร  9 ครั้ง กระทั่งในปี 2552 นักวิจัยต้องประหลาดใจเมื่อพบลิงชิมแปนซีโจมตีกอริลลาจนถึงตาย 2 ครั้ง  แม้กอริลลามีขนาดใหญ่กว่า แต่ฝูงลิงชิมแปนซีได้เปรียบกว่า เนื่องจากความสามารถในการผนึกกำลังโจมตีอีกฝั่งที่มีจำนวนน้อยกว่า  การโจมตีครั้งแรกที่นักวิจัยพบเห็น เกิดขึ้นระหว่างลิงชิมแปนซี 27 ตัว กับลิงกอริลลา 5 ตัว ครั้งที่สอง  ลิงแชมแปนซีฝูงเดียวกันโจมตีลิงกอริลลา 7 ตัว   ทั้งสองครั้งกินเวลานานกว่า 1 ชม.  เกิดขึ้นบริเวณรอบนอกของเขตแดนชิมแปนซี หัวโจกเป็นลิงชิมแปนซีเพศผู้  นักวิจัยสังเกตการณ์ห่างจากจุดนั้นราว 30 เมตร

กอริลลาโตเต็มวัยหลบหนีได้ทั้งสองครั้งแต่มีสูญเสียและบาดเจ็บ  ครั้งแรก ลูกกอริลลาตาย 1 ตัว ลิงชิมแปนซีบาดเจ็บ 3 ตัว  ครั้งที่สอง ลูกกอริลลาตาย 1 ตัว ครั้งแรก ซากถูกปล่อยทิ้งไว้  แต่การโจมตีครั้งที่สอง  ลิงชิมแปนซีโตเต็มวัยเพศเมียกินลูกเล็กกอริลลาเกือบทั้งตัว 

 

 

คำอธิบายที่เป็นไปได้สำหรับพฤติกรรมใหม่นี้ คือการแย่งชิงอาหาร 

การปะทะกันสองครั้งคล้ายกับเวลาที่ลิงชิมแปนซีสองฝูงสู้กันเอง และมีหลักฐานบ่งชี้ว่า ลิงชิมแปนซีเพศผู้โตเต็มวัย ฆ่าลูกเล็กของลิงต่างฝูง เพื่อลดการแย่งชิงอาหาร ด้วยการชักนำให้ลิงเพศเมียของฝั่งตรงข้าม หลีกเลี่ยงพื้นที่นั้นๆ ดังนั้น จึงเป็นไปได้ว่า ลิงกอริลลาถูกมองว่าเป็นคู่แข่งทั้งในแง่การใช้ทรัพยากรและพื้นที่ นอกจากนี้ การปะทะกันทั้งสองครั้งเกิดขึ้นในช่วงเวลาที่อาหารขาดแคลน และการแก่งแย่งอาหารเพิ่มขึ้นอาจมีสาเหตุจากสภาพภูมิอากาศโลกเปลี่ยนแปลง กับผลไม้ในป่าเขตร้อนในประเทศกาบองลดลง “การแบ่งปันทรัพยากรอาหารของชิมแปนซี  กอริลลาและช้างป่าในอุทยานแห่งชาติ Lanago อาจนำไปสู่การแย่งชิงและการปะทะระหว่างลิงใหญ่สองชนิดพันธุ์” 

logoline
แท็กที่เกี่ยวข้อง

ข่าวที่น่าสนใจ