ข่าว

"กรุงเทพฯ" รอดมั้ย รศ.ดร.เสรี เตือน "ฝนพันปี" ถล่มเหมือนเจิ้งโจวจะเกิดอะไรขึ้น

22 ก.ค. 2564

รศ.ดร.เสรี ศุภราทิตย์ เตือน ลานีญา แผลงฤทธิ์ปลายปี ผวา ฝนพันปี ถล่ม "กรุงเทพฯ" ซ้ำรอย ยุโรป - เจิ้งโจว ตั้งคำถาม แผนรับมือ ชี้ การประเมินความเสี่ยงเป็นเรื่องสำคัญ

"กรุงเทพฯ" รอดมั้ย จากกรณี "ฝนพันปี" ถล่มเจิ้งโจวหนักสุดรอบพันปี น้ำท่วมอัมพาตยกเมือง ยอดผู้เสียชีวิตยังไม่นิ่ง รศ.ดร.เสรี ศุภราทิตย์ ผู้อำนวยการศูนย์การเปลี่ยนแปลงภูมิอากาศและภัยพิบัติ มหาวิทยาลัยรังสิต โพสต์เพจเฟซบุ๊ก รศ.ดร.เสรี ศุภราทิตย์ ระบุ สัปดาห์ก่อนมีเหตุการณ์ภัยซ้ำซ้อนน้ำท่วมใหญ่ที่ยุโรป มาสัปดาห์นี้ เมื่อวันที่ 21 กรกฎาคม ที่ผ่านมา ที่ ประเทศจีน ทำให้มีผู้เสียชีวิตเกือบ 20 คน ในเมืองหลวง เจิ้งโจว มณฑลเหอหนาน และมีการอพยพกว่า 200,000 คน สถานีรถไฟฟ้าใต้ดินจมน้ำ น้ำล้นตลิ่ง

 

โควิด-19, ลานีญา, เจิ้งโจว, กรุงเทพฯ, ฝน 1,000 ปี, ฝนพันปี

โควิด-19, ลานีญา, เจิ้งโจว, กรุงเทพฯ, ฝน 1,000 ปี, ฝนพันปี

 

 

รศ.ดร.เสรี ยังระบุอีกว่า ศ. Johnny Chan แห่งมหาวิทยาลัยฮ่องกง กล่าวว่า นี่คือผลพวงจากภาวะโลกร้อน ทำให้มีปริมาณฝนตกหนักในรอบ 1,000 ปี กล่าวคือ ปริมาณฝนสะสม 3 วัน ที่เมืองเจิ้งโจว มีมากถึง 617.1 mm (โดยที่ปริมาณฝนเฉลี่ยรายปีที่เมืองนี้ 640.8 mm) กล่าวคือ ฝนตก 3 วัน เทียบเคียงฝน 1 ปี เหตุการณ์แบบนี้จะเกิดบ่อยครั้งขึ้นในอนาคต

 

โควิด-19, ลานีญา, เจิ้งโจว, กรุงเทพฯ, ฝน 1,000 ปี, ฝนพันปี

โควิด-19, ลานีญา, เจิ้งโจว, กรุงเทพฯ, ฝน 1,000 ปี, ฝนพันปี

 

 

โควิด-19, ลานีญา, เจิ้งโจว, กรุงเทพฯ, ฝน 1,000 ปี, ฝนพันปี

 

นอกจากนี้ รศ.ดร.เสรี ยังเปิดเผยด้วยว่า ปลายปีนี้ คาดว่าปรากฏการณ์ ลานีญา มีโอกาสเกิดขึ้น ถ้าปริมาณฝน 1,000 ปี มาตกในพื้นที่กรุงเทพมหานครในปีที่เราเผชิญกับ COVID-19 เหมือนเจิ้งโจวที่มีประชากรใกล้เคียง กทม. จะเกิดอะไรขึ้น ? แผนรองรับเป็นอย่างไร ? จะอพยพกันอย่างไร ? อพยพไปที่ไหน ? นี่คือมหันตภัยซ้ำซ้อน ที่เราควรตั้งอยู่ในความไม่ประมาท และมีสติน่ะครับ ผมได้จำลองสถานการณ์ไว้แล้ว (ดูรูปแนบ) การประเมินความเสี่ยงเป็นเรื่องสำคัญมาก โปรดดิดตามตอนต่อไป

 

โควิด-19, ลานีญา, เจิ้งโจว, กรุงเทพฯ, ฝน 1,000 ปี, ฝนพันปี

โควิด-19, ลานีญา, เจิ้งโจว, กรุงเทพฯ, ฝน 1,000 ปี, ฝนพันปี

โควิด-19, ลานีญา, เจิ้งโจว, กรุงเทพฯ, ฝน 1,000 ปี, ฝนพันปี

 

ล่าสุด รศ.ดร.เสรี ศุภทราทิตย์ ผู้อำนวยการศูนย์การเปลี่ยนแปลงภูมิอากาศและภัยพิบัติ มหาวิทยาลัยรังสิต ให้สัมภาษณ์กับ "คมชัดลึกออนไลน์" ขยายเรื่อง "ฝนพันปี" นี้ว่า มีการคาดการณ์ฝนในเดือนตุลาคมจะมีตกหนัก เพราะฉะนั้นก็คิดว่า "กรุงเทพฯ" มีความเสี่ยงจากฝนตกหนัก ก็ต้องป้องกันไว้ เพราะขณะนี้ หน่วยงานต่าง ๆ รุมในเรื่อง โควิด-19 แต่อาจลืมไปแล้วเรื่องระบบระบายน้ำเป็นอย่างไร เพราะมีเวลานับจากนี้เพียง 2 เดือนเท่านั้นให้เตรียมความพร้อม หน่วยงานภาครัฐต้องเตรียมความพร้อมไว้ด้วย ไม่เช่นนั้นจะเกิดความโกลาหลได้

"เหตุการณ์พวกนี้สิ่งที่คาดการณ์ได้ยากสุด คือ ฝนจะตกเท่าไหร่ กรุงเทพมหานครมันอ่อนไหวอยู่แล้ว ฝนตกเกิน 60 มิลลิเมตร มันก็เป็นไปแล้ว เจิ้งโจว ฝนตกวันละ 200 มิลลิเมตร มันเหนื่อยแล้วไง 3 วัน สมมติ 600 มิลลิเมตร จะท่วมขนาดไหน กำลังศึกษาดูว่าถ้าตกขนาดไหน ปกติฝนบ้านเราจะตกหนักกว่า เจิ้งโจว เพราะเราอยู่ในโซนร้อน ของเขาอยู่ในโซนอบอุ่น เพราะฉะนั้นปกติฝนเราจะหนักกว่าเขาโดยทั่วไป" รศ.ดร.เสรี บอกกับผู้สื่อข่าวคมชัดลึกออนไลน์

ทั้งนี้ "กรุงเทพฯ" เคยเกิด "ฝนพันปี" ในเดือนพฤษภาคม พ.ศ. 2537 โดยข้อมูลจากสำนักการระบายน้ำ กรุงเทพมหานคร เมื่อวันที่ 3 มิถุนายน 2560 ระบุว่า เหตุการณ์ในเดือนพฤษภาคม พ.ศ. 2537 มีปริมาณน้ำฝนรวม 487 มิลลิเมตร

ส่วนน้ำท่วมครั้งใหญ่อีกรอบในกรุงเทพฯ คือ ในเดือนพฤษภาคม พ.ศ. 2560 มีปริมาณน้ำฝนมากถึง 504 มิลลิเมตร

 

อ่านข่าวที่เกี่ยวข้อง