ข่าว

ด่วน กรมวิทย์ เตือนให้ระวัง "โควิด-อินเดีย" 63 เปอร์เซ็นต์ ระบาดทั่วประเทศ

เกาะติดข่าวสาร >> คมชัดลึก ออนไลน์
logoline

อธิบดีกรมวิทยาศาสตร์การแพทย์ เตือนให้ระวัง "โควิด-อินเดีย" สายพันธุ์เดลตา ร้อยละ 63 เปอร์เซ็นต์ กำลังระบาดทั่วประเทศ

นายแพทย์ศุภกิจ ศิริลักษณ์ อธิบดีกรมวิทยาศาสตร์การแพทย์ ระบุถึงการเฝ้าระวังสายพันธุ์โควิด-19 ว่า ช่วงสัปดาห์ที่ผ่านมาได้ตรวจสายพันธุ์โควิด  พบว่า สายพันธุ์อินเดีย  (เดลต้า )ได้แซงสายพันธุ์อังกฤษ (อัลฟ่า) แล้ว  ส่วยสายพันธุ์แอฟฟริกาใต้ (เบต้า) จะระบาดอยู่ที่ชายแดนภาคใต้เป็นส่วนใหญ่  

 

ด่วน กรมวิทย์ เตือนให้ระวัง  \"โควิด-อินเดีย\" 63 เปอร์เซ็นต์ ระบาดทั่วประเทศ

 

โดยภาพรวมของประเทศไทยในช่วงสัปดาห์ที่ผ่านมา ในการตรวจหาสายพันธุ์ "โควิด" กว่า 3,000 ตัวอย่าง พบว่า สายพันธุ์เดลต้าระบาดไปแล้วทั่วประเทศประมาณร้อยละ 63 เปอร์เซ็นต์ ส่วนสายพันธุ์อัลฟ่า พบร้อยละ 34 เปอร์เซ็นต์  และสายพันธุ์เบต้า ร้อยละ 3  ขณะที่กรุงเทพมหานคร พบว่า มีการแพร่ระบาดของ สายพันธุ์เดลตา ร้อยละ 71 ในภูมิภาค ร้อยละ 47 ซึ่งมีแนวโน้มเพิ่มขึ้นรวดเร็ว 

 

ด่วน กรมวิทย์ เตือนให้ระวัง  \"โควิด-อินเดีย\" 63 เปอร์เซ็นต์ ระบาดทั่วประเทศ

  

วันนี้พบสายพันธุ์เดลตา กว่า  71 จังหวัดเพิ่มขึ้น 11 จังหวัดเพิ่มขึ้นจากสัปดาห์ที่แล้ว  เช่น จ.แม่ฮ่องสอน พบเดลตา 3 ราย / กาญจนบุรี 1 ราย / สมุทรสงคราม 4 ราย /ฉะเชิงเทรา 20 ราย / ตราด 2 ราย / สุรินทร์ 28 ราย / ชุมพร 1 ราย / นรรศรีธรรมราช 2 ราย / กระบี่ 2 ราย / พังงา 1 รายและปัตตานี 2 ราย จะเห็นได้ว่า มีการระบาดเกือบทั้งประเทศ เหลือแค่ 4-5 จังหวัดที่ยังไม่พบ 

 

ขณะนี้สายพันธุ์อินเดีย เป็นคำตอบว่า ทำไมจำนวนตัวเลขผู้ติดเชื้อรายวันถึงสูงขึ้นค่อนข้างรวดเร็ว เพราะสายพันธุ์อินเดีย ติดกันง่าย แต่ความรุนแรงของโรค หรืออัตราการป่วยตาย ยังไม่มีผลมากเท่าไหร่ ยกเว้นว่า มีผู้ติดเชื้อจำนวนมากจนดูแลไม่ทัน จะมีผลกระทบได้

 

ส่วนสายพันธุ์เบตา ( แอฟริกา) ยังพบในภาคใต้เป็นส่วนใหญ่ สัปดาห์ที่ผ่านมาพบใน จ.นราธิวาส เป็นส่วนใหญ่ แต่ยังจังหวัดใกล้เคียงในเขต 12 เช่นปัตตานี / ยะลา /สงขลา/ พัทลุง ยังพบผู้ติดเชื้อเพิ่มขึ้น /จ.ชุมพร 1 ราย และพบจ.บึงกาฬ 1 ราย 

 

ส่วนในกรุงเทพมหานคร สัปดาห์นี้ยังไม่เจอสายพันธุ์เบต้า ซึ่งถ้าสัปดาห์หน้ายังไม่เจอ สายพันธุ์เบต้าก็อาจจะไม่มีกทม. และไม่มีการระบาดในวงกว้าง แต่ต้องเฝ้าระวังกันต่อไป 

 

ส่วนการติดเชื้อซ้ำมีโอกาสเกิดขึ้นได้แต่มักพบว่าการติดเชื้อภายหลังอาการป่วยจะไม่รุนแรง ขณะที่โอกาสของการเกิดเชื้อกลายพันธุ์ ในพื้นที่ซึ่งพบการติดเชื้อจำนวนสูง สามารถเกิดขึ้นได้ เช่น กรณีที่พบผู้ติดเชื้อ 2 สายพันธุ์ ก็สามารถนำไปสู่การเกิดสายพันธุ์ใหม่ แต่ทั้งนี้ยังอยู่ในระบบการเฝ้าระวัง ซึ่งในประเทศไทยขณะนี้ยังไม่พบการเกิด สายพันธุ์ใหม่หรือการกลายพันธุ์

 

 

logoline

ข่าวที่น่าสนใจ