ข่าว

โค้ชลูกขนไก่"บาส-ปอป้อ" เปิดใจศึกโตเกียว2020"ไม่ง่าย

เกาะติดข่าวสาร >> คมชัดลึก ออนไลน์
logoline

เทรนเนอร์ ซึ่งดูแลคู่ผสม " บาส-ปอป้อ" วิเคราะห์" โตเกียว2020" ไม่ง่ายสำหรับคู่แบดมินตันไทย ชี้ผลงานที่่ผ่านมาถือเป็นอดีตไปแล้ว เมื่อเข้าสู่รายการใหม่ คือการนับหนึ่งใหม่

 

 

 

ศ.ดร.เจริญ กระบวนรัตน์ หัวหน้าผู้เชี่ยวชาญด้านวิทยาศาสตร์การกีฬา "เอสซีจี แบดมินตัน อคาเดมี" ซึ่งเป็นผู้วางแผนการฝึกซ้อมร่วมกับทีมงานผู้ฝึกสอน  ให้กับ นักแบดมินตันคู่ผสมมือ 2 ของโลก "บาส" เดชาพล พัววรานุเคราะห์ และ "ปอป้อ" ทรัพย์สิรี แต้รัตนชัย   เปิดเผยว่า  ในการฝึกซ้อมให้กับ “บาส-ปอป้อ”  ก่อนเข้าสู่การแข่งโอลิมปิก2020 “ โตเกียว2020”   ในการฝึกซ้อมเป็นไปตามเป้าหมายที่วางไว้ อย่างไรก็ทัวร์นาเมนต์นี้    ถือว่าทั้งทายต่อทั้งคู่ในการทำผลงาน 

 

 

 

 

 

 

 

 

แบดมินตันใน”โตเกียว2020”  ทั้ง สำหรับการแข่งขันประเภทคู่ผสมแบ่งออกเป็น 4 กลุ่ม "บาส-ปอป้อ" เป็นมือวางอันดับ 3 อยู่ในกลุ่ม บี ร่วมกับ ทอม กีคู/เดลฟิน่า เดลรัว(มือ 10-ฝรั่งเศส), มาร์คัส เอลลิส/ลอเรน สมิธ (มือ 8-สหราชอาณาจักร), โจชัว เฮอร์เบิร์ต-หยู/โจเซฟีน หวู (มือ 14-แคนาดา) โดยจะคัดอันดับ 1-2 ของแต่ละกลุ่มเข้ารอบ 8 คู่สุดท้ายซึ่งจะเป็นรอบน็อคเอาท์ไปจนถึงรอบชิงชนะเลิศ

 

 

 

โดยรอบแบ่งกลุ่มใน"โตเกียว 2020" กำหนดแข่ง วันที่ 24-26 กรกฎาคม, รอบก่อนรองชนะเลิศ วันที่ 28 กรกฎาคม, รอบรองชนะเลิศ วันที่ 29 กรกฎาคม, รอบชิงเหรียญทองแดงและรอบชิงชนะเลิศ วันที่ 30 กรกฎาคม  ในการเข้าสู่การแข่งขัน  "บาส-ปอป้อ"  มีกำหนดเดินทางไปประเทศญี่ปุ่น ในวันศุกร์ที่ 16 กรกฏาคม  และจะเข้ากักตัวที่ญี่ปุ่นเป็นเวลา 3 วัน

 

 

 

ก่อนเข้าสู่ทัวร์นาเมนต์ใน" โตเกียว2020"   คู่แบดมินผสมจากไทย  "บาส-ปอป้อ"  ทำผลงาน  คว้าแชมป์ “โยเน็กซ์ ไทยแลนด์ โอเพ่น” ,“โตโยต้า ไทยแลนด์ โอเพ่น”   และเอชเอสบีซี บีดับเบิลยูเอฟ เวิลด์ทัวร์ ไฟนอล 2020”   โดยเป็นแชมป์ 3 รายการติดต่อกัน

 

 

 

ศ.ดร.เจริญ  กล่าววว่า   การฝึกซ้อมของ “บาส-ปอป้อ” ที่ผ่านมาเป็นไปตามเป้าหมายที่วางไว้ทุกอย่าง เพราะทางทีมงานได้มีการทดสอบ วัดและประเมินผลการฝึกซ้อมทุกช่วงการฝึกซ้อมเป็นระยะ ซึ่งเป็นไปตามหลักการทางด้านวิทยาศาสตร์การกีฬา  หลักการสำคัญก่อนเริ่มเข้าสู่ระบบการซ้อมมี 3 ด้านคือ

 

 

 

การเตรียมสมรรถภาพทางกลไก การพัฒนาทักษะและเทคนิคกีฬา และการฝึกความแข็งแกร่งทางด้านจิตใจ   เหล่านี้คือสิ่งที่นำมาใช้ ในการสร้างความพร้อมให้กับ “ บาส-ปอป้อ” ใน “โตเกียว 2020”    กรณีที่ “บาส-ปอป้อ”ไม่ได้ลงแข่งขันอีกเลยหลังจากที่แข่งขัน 3 รายการใหญ่ที่ผ่านมา เพื่อประเมินแผนการฝึกซ้อมในช่วงสุดท้ายก่อนเดินทางไปแข่งขัน”โตเกียว 2020”  

 

 

 

ได้ทดแทนด้วยการจัดแข่งขันกันเองโดยพยายามวิเคราะห์ และจำลองเหตุการณ์ และรูปแบบการเล่นต่างๆ ให้นักกีฬาได้ใช้ทักษะเหมือนกับการแข่งขันจริงทุกอย่าง   ในการไปแข่งขัน “ โตเกียว2020”  ต้องยอมรับความจริงอย่างว่าทุกคู่ที่เป็นมือวางมีสิทธิ์แพ้ชนะได้เท่ากันหมด เพราะผลงานที่ผ่านมาเป็นอดีตไปแล้ว

 

 

 

โค้ชลูกขนไก่\"บาส-ปอป้อ\" เปิดใจศึกโตเกียว2020\"ไม่ง่าย

 

 

 

 

 

 

มือวางอันดับโลก คือ สิ่งที่กำหนดไว้เพื่อระบบการจัดการแข่งขันเท่านั้น ของจริงอยู่ที่ว่า เวลาลงสนามใครสามารถควบคุมเกมและควบคุมวิธีการเล่นของตนเองได้ดีกว่า และผิดพลาดน้อยกว่า คือ ผู้ชนะ ซึ่ง “บาส-ปอป้อ” ได้บทเรียนจากการแพ้คู่เกาหลีมาแล้วเมื่อต้นปี

 

 

 

โค้ชลูกขนไก่\"บาส-ปอป้อ\" เปิดใจศึกโตเกียว2020\"ไม่ง่าย

 

 

 

การไปแข่งขันโอลิมปิกครั้งนี้ของบาส-ปอป้อ จึงเป็นโอกาสที่ทั้งคู่จะได้ใช้ความสามารถแสดงผลงานให้เป็นที่ปรากฏ ด้วยการเล่นอย่างเต็มความสามารถให้ดีที่สุดทุกแต้มจนสิ้นสุดเกม ไม่ว่าจะเป็นฝ่ายนำหรือตาม ให้มีสมาธิอยู่กับเกมและการเล่นทุกแต้ม ไม่คาดหวังในผลการแข่งขันที่ยังไม่จบ ซึ่งจะทำให้กดดันตัวเอง "เกมกดดันไม่เป็นไร แต่เราต้องไม่กดดันตัวเอง คือ สิ่งที่เราให้ข้อคิดบาสและปอป้อนำไปปฏิบัติในการแข่งขันมาโดยตลอด"

 

 

 

ส่วนความพร้อมด้านจิตใจ ซึ่งสำคัญไม่แพ้ความพร้อมด้านร่างกายนั้น   นักกีฬาทุกคนมีความกดดันแน่นอน เพราะมีความคาดหวังสูง การฝึกเรื่องสภาวะจิตใจจึงถือเป็นเรื่องสำคัญที่จะต้องปลูกฝัง และทำความเข้าใจกับทุกสิ่งและทุกเหตุการณ์ที่เกิดขึ้นในเกม ด้วยการเตรียมความคิด ฝึกวิธีคิดและการประมวลผลข้อมูลอย่างมีเหตุผล ด้วยการให้เรียนรู้และทำความเข้าใจกับเกม

 

 

 

โค้ชลูกขนไก่\"บาส-ปอป้อ\" เปิดใจศึกโตเกียว2020\"ไม่ง่าย

 

 

 

 

โดยทีมผู้ฝึกสอนกีฬาและนักวิทยาศาสตร์การกีฬาได้มีการจำลองเหตุการณ์  และสถานการณ์แวดล้อมให้นักกีฬาได้ทำการฝึกซ้อม เพื่อให้นักกีฬาได้เรียนรู้และปรับตัวเตรียมพร้อมที่จะเผชิญกับเหตุการณ์นั้นๆในเกมการแข่งขัน ซึ่งสิ่งเหล่านี้ต้องมีการฝึกฝนอย่างต่อเนื่องสม่ำเสมอยาวนาน ไม่ใช่ถึงเวลาแข่งขันก็แนะนำเพียงว่า อย่าตื่นเต้น อย่าเครียด อย่าวิตกกังวล ก่อนลงสนาม ซึ่งเท่ากับไปกระตุ้นให้นักกีฬายิ่งเครียด ยิ่งกดดันมากยิ่งขึ้น

 

 

 

 

การแข่งขันโอลิมปิกครั้งนี้แตกต่างจากทุกครั้ง เพราะจะมีการตรวจเช็กผู้เข้าร่วมมหกรรมมากกว่าปกติ  เพื่อเฝ้าระวังโควิด -19  ซึ่งอาจจะส่งผลกระทบต่อความรู้สึกและอารมณ์ได้ ทำให้นักกีฬารู้สึก วิตกกังวล และเครียดได้ ดังนั้น จึงย้ำในเรื่องนี้ ให้ทุกคนเตรียมใจและทำใจยอมรับกับเหตุการณ์เหล่านี้ และให้มองเป็นเรื่องปกติที่เกิดขึ้นกับนักกีฬา ที่เข้าร่วมการแข่งขันทุกคน มิใช่เกิดขึ้นแต่เฉพาะ นักกีฬาจากไทยเท่านั้น 

 

 

อ่านข่าวที่เกี่ยวข้อง

 

logoline

ข่าวที่น่าสนใจ