ข่าว

7 เดือน 7 "เทศกาลทานาบาตะ" กับเรื่องเล่าตำนานญี่ปุ่น "เจ้าหญิงทอผ้า" กับ "ชายเลี้ยงวัว"

เกาะติดข่าวสาร >> คมชัดลึก ออนไลน์
logoline

"เทศกาลทานาบาตะ" วันที่ 7 เดือน 7 กับเรื่องเล่าตำนานญี่ปุ่น "เจ้าหญิงทอผ้า" กับ "ชายเลี้ยงวัว"

"เทศกาลทานาบาตะ" หรือ เทศกาลขอพรจากดวงดาว เป็นหนึ่งในเทศกาลอันเก่าแก่ของประเทศญี่ปุ่น ซึ่งจะจัดขึ้นในวันที่ 7 เดือน 7 (กรกฎาคม) ของทุกปี 

 

7 เดือน 7 \"เทศกาลทานาบาตะ\" กับเรื่องเล่าตำนานญี่ปุ่น \"เจ้าหญิงทอผ้า\" กับ \"ชายเลี้ยงวัว\"

 

 

วัน "ทานาบาตะ" นี้ ชาวญี่ปุ่นจะเขียนคำอธิษฐานลงในกระดาษสี่เหลี่ยมผืนผ้าที่มีสีสันหลากหลาย หรือที่เรียกว่า ทังซะกุ (Tanzaku) หรือพับกระดาษให้เป็นรูปนกกระเรียนหรือรูปทรงสวยงามต่าง ๆ แล้วจึงนำไปแขวนไว้ที่กิ่งไผ่ เพื่อขอพรจากดวงดาว

 

ตำนานวันทานาบาตะที่คนญี่ปุ่นเชื่อถือและเล่ากันต่อ ๆ มาสู่ลูกหลานฟัง เป็นเทศกาลเฉลิมฉลองตามดวงดาวของญี่ปุ่น มีต้นกำเนิดมาจากงานเทศกาลเจ็ดนางฟ้าของจีน เนื่องจากการพบกันของนางฟ้าโอริฮิเมะ (ดาวเวกา Vega) และฮิโกโบชิ (ดาวอัลแทร์ Altair) ผู้เลี้ยงวัวบนสวรรค์ โดยอ้างอิงจากตำนานในอดีตว่าทางช้างเผือกคือแม่น้ำของดวงดาวพาดผ่านท้องฟ้า ได้แยกคู่รักคือโอริฮิเมะและฮิโกโบชิไม่ให้ได้อยู่กินด้วยกันฉันสามีภรรยา แต่อนุญาตให้พบกันเพียงปีละ 1 ครั้งในวันที่ 7 ของเดือน 7 ตามปฏิทินสุริยจันทรคติ เทศกาลเฉลิมฉลองมีขึ้นตอนกลางคืนของวันนั้น

 

เทศกาลทานาบาตะได้รับอิทธิพลจากตำนานเจ็ดนางฟ้าจากประเทศจีน ตำนานมีหลายหลายรูปแบบ บางรูปแบบได้ถูกรวมอยู่ในตำนานหมื่นใบไม้ ซึ่งเป็นหนังสือรวบรวมบทกลอนเก่าแก่ที่สุดของญี่ปุ่น

 

รูปแบบของตำนานที่ถูกกล่าวขานมากที่สุดก็คือ นางฟ้าโอริฮิเมะ ซึ่งเป็นลูกสาวของกษัตริย์แห่งท้องฟ้า (หรือจักรวาล) ทำหน้าที่ทอผ้าอยู่ที่แม่น้ำอามาโนกาวะ ท่านพ่อชอบฝีมือการทอผ้าของเธอ แม้ว่าเธอจะทำงานอย่างหนักทุกวันแต่มันก็ไม่ได้ทำให้เธอมีความสุข เพราะไม่ได้พบหรือได้หลงรักชายใดเลย

 

7 เดือน 7 \"เทศกาลทานาบาตะ\" กับเรื่องเล่าตำนานญี่ปุ่น \"เจ้าหญิงทอผ้า\" กับ \"ชายเลี้ยงวัว\"

 

 

กษัตริย์แห่งท้องฟ้าผู้ห่วงใยลูกสาวเลยได้จัดการให้เธอได้พบกับฮิโกโบชิ ผู้เลี้ยงวัวอาศัยอยู่อีกฝั่งของทางช้างเผือก เมื่อทั้งคู่ได้พบกัน ไม่นานนักทั้งคู่ก็ได้หลงรักกันและได้แต่งงาน

 

เมื่อแต่งงานแล้วนางฟ้าโอริฮิเมะก็ไม่ได้ขยันทอผ้าดั่งที่เคย ส่วนฮิโกโบชิก็ได้ปล่อยให้วัววิ่งเพ่นพ่านไปทั่วสวรรค์ ด้วยความโกรธ กษัตริย์แห่งท้องฟ้าจึงได้แยกทั้งคู่ไม่ให้พบกัน กีดกั้นโดยทางช้างเผือก นางฟ้าโอริฮิเมะเสียใจจากการสูญเสียสามีจึงได้ขอร้องบิดาของตนให้ได้เจอกับสามีของนางอีกครั้ง บิดาพ่ายแพ้แก่น้ำตาของลูกสาวจึงยอมให้ทั้งคู่สามารถเจอกันได้ในวันที่ 7 เดือน 7 ของทุกปี แต่จะสามารถพบได้ก็ต่อเมื่อเธอทำงานอย่างหนักและทอผ้าจนเสร็จ

 

เมื่อถึงเวลาที่จะได้พบกันอีกครั้งแรก ทั้งคู่ไม่สามารถข้ามทางช้างเผือกมาพบกันได้ เนื่องจากไร้ซึ่งสะพานข้ามทางช้างเผือก เมื่อรู้ดังนั้น นางฟ้าโอริฮิเมะได้ร้องไห้อย่างหนักจนฝูงนกกางเขนได้เข้ามาหาด้วยความสงสารและสัญญาว่าจะสร้างสะพานโดยใช้ปีกของพวกมันช่วยกัน จนเธอสามารถข้ามทางช้างเผือกได้

 

มีคนกล่าวไว้ว่าถ้าในวันทานาบาตะปีไหนเกิดฝนตก เหล่าฝูงนกกางเขนจะไม่สามารถช่วยเป็นสะพานในปีนั้นได้ จะทำให้ทั้งคู่ต้องรออีกถึงปีหน้า เพื่อที่จะได้พบกันอีก

 

7 เดือน 7 \"เทศกาลทานาบาตะ\" กับเรื่องเล่าตำนานญี่ปุ่น \"เจ้าหญิงทอผ้า\" กับ \"ชายเลี้ยงวัว\"

 

7 เดือน 7 \"เทศกาลทานาบาตะ\" กับเรื่องเล่าตำนานญี่ปุ่น \"เจ้าหญิงทอผ้า\" กับ \"ชายเลี้ยงวัว\"

 

7 เดือน 7 \"เทศกาลทานาบาตะ\" กับเรื่องเล่าตำนานญี่ปุ่น \"เจ้าหญิงทอผ้า\" กับ \"ชายเลี้ยงวัว\"

 

ข้อมูล wikipedia

 

อ่านข่าวที่เกี่ยวข้อง

 

เมืองญี่ปุ่นใช้เงินเยียวยาโควิด 7 ล้าน สร้างรูปปั้นหมึกยักษ์

ญี่ปุ่นช็อก คลิปนาที"โคลนถล่ม"เมืองริมทะเลไม่ทันตั้งตัว ซัดหาย 20 ชีวิต (คลิป)

นายกฯญี่ปุ่นขอบคุณชาติชั้นนำหนุนภารกิจเจ้าภาพ"โอลิมปิก2020"

จับภรรยาม่ายวัย 25 ต้องสงสัยวางยาสามีเศรษฐีฉายา ดอนฮวนญี่ปุ่น วัย 77

"มาเซราติ" ฉีกกฎการออกแบบผสานแนวสตรีทแฟชั่นของญี่ปุ่นโดย ฮิโรชิ ฟูจิวาระ

 

 

logoline

ข่าวที่น่าสนใจ