
เช็กเลย "เยียวยาโควิด" นายจ้าง-ลูกจ้าง ไม่ได้อยู่ในระบบประกันสังคมต้องทำอย่างไรบ้าง
เช็กเลย มาตรการ "เยียวยาโควิด" นายจ้าง-ลูกจ้าง ไม่ได้อยู่ในระบบประกันสังคมต้องทำอย่างไรบ้าง
"มาตรการเยียวยาโควิด" ให้กับลูกจ้าง นายจ้างระบบ "ประกันสังคม" หยุดงานเหตุสุดวิสัย เฉพาะ 6 จังหวัดพื้นที่สีแดงเข้ม ประกอบด้วย กรุงเทพมหานคร, นครปฐม, นนทบุรี, ปทุมธานี, สมุทรปราการ, สมุทรสาคร ซึ่งผู้ได้รับผลกระทบจากสถานการณ์การแพร่ระบาดของโรคโควิด-19 หลังมีการออกประกาศข้อกำหนด พ.ร.ก.ฉุกเฉิน ฉบับที่ 25
แล้วถ้าผู้ที่ไม่มีประกันสังคมล่ะ จะได้รับเงินเยียวยาอย่างไร?
เกี่ยวกับเรื่องนี้ นายดนุชา พิชยนันท์ เลขาธิการสภาพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ แถลงภายหลังการประชุมคณะที่ปรึกษาทางเศรษฐกิจเพื่อหารือถึงมาตรการเยียวยาประชาชนผู้ได้รับผลกระทบจากสถานการณ์การแพร่ระบาดของโรคติดเชื้อไวรัสโคโรน่า 2019 (โควิด-19)
มีผลบังคับใช้ในกรุงเทพมหานครและปริมณฑลครอบคลุม 6 จังหวัด คือ กรุงเทพมหานคร, นครปฐม, นนทบุรี, ปทุมธานี, สมุทรปราการ, สมุทรสาคร
4 จังหวัดชายแดนใต้ ประกอบด้วย นราธิวาส ปัตตานี ยะลา สงขลา
มีธุรกิจที่ได้รับผลกระทบ
- ธุรกิจการก่อสร้าง ที่มีการปิดไซต์งาน
- ร้านอาหารที่ให้เปิดบริการเฉพาะซื้อกลับไปทานเท่านั้น (Take Away)
สำหรับ มาตรการเยียวยาผู้ได้รับผลกระทบในระบบประกันสังคมได้ จ่ายชดเชยสิทธิประโยชน์ว่างงานเหตุสุดวิสัยแก่ลูกจ้างร้อยละ 50 ของฐานเงินเดือน สุงสุดไม่เกิน 7,500 บาท รวมทั้งภาครัฐยังสมทบเงินเพิ่มเติมทางให้แก่ลูกจ้างในระบบประกันสังคม 2,000 บาทต่อราย กรณีลูกจ้างถูกลดเงินเดือนหรือบางธุรกิจไม่จ่ายเงินเดือน
ขณะเดียวกัน นายจ้าง ผู้ประกอบการ ในระบบประกันสังคม จะได้รับเงินช่วยเหลือ 3,000 บาท ต่อจำนวนลูกจ้างในบริษัท สูงสุดไม่เกิน 200 คน เป็นระยะเวลา 1 เดือน
ไม่ได้อยู่ในระบบประกันสังคมจะรับเงินเยียวยายังไง
- นายจ้างและลูกจ้างที่อยู่นอกระบบประกันสังคม ลงทะเบียนผ่านแอปพลิเคชั่น "ถุงเงิน" เพื่อที่จะได้รับความช่วยเหลือ
- นายจ้างได้รับเงินช่วยเหลือ 3,000 บาท
- ลูกจ้างที่มีสัญชาติไทยได้รับเงินช่วยเหลือ 2,000 บาท
สำหรับเงินเยียวยาเหตุสุดวิสัยนั้น ตามกฎหมายประกันสังคมลูกจ้างจะต้องจ่ายเงินสมทบไม่น้อยกว่า 6 เดือนจึงจะได้รับเงินชดเชยร้อยละ 50 ของฐานเงินเดือน ทำให้ลูกจ้างนอกระบบประกันสังคมจะไม่ได้รับเงินเยียวยาดังกล่าว
สำหรับผู้ประกอบการที่ไม่สามารถขึ้นทะเบียนประกันสังคมได้เนื่องจากไม่มีลูกจ้าง สามารถลงทะเบียนในแอปพลิเคชั่นถุงเงินผ่านทางโครงการคนละครึ่ง โดยเป็นมาตรการช่วยเหลือผู้ประกอบการร้านอาหาร โดยจะได้รับเงินจำนวน 3,000 บาท
อ่านข่าวที่เกี่ยวข้อง
เคาะ "มาตรการเยียวยาโควิด" 6 จว. หยุดงานสุดวิสัย "ลูกจ้าง" รับเพิ่ม 2,000
ไม่เลื่อน "คนละครึ่งเฟส 3" "ยิ่งใช้ยิ่งได้" เยียวยาจ่ายค่าจ้าง 50% เช็กที่นี่
ข้อมูลจาก รัฐบาลไทย