ข่าว

"นิ้วล็อค" ปัญหาทุกข์ใจ กับท่าบริหารเฉพาะ เพื่อหลีกเลี่ยงอาการ

เกาะติดข่าวสาร >> คมชัดลึก ออนไลน์
logoline

วิธีหลีกเลี่ยงอาการ "นิ้วล็อค" ที่หลายๆ คนกำลังทุกข์ใจ และการแก้ไขปัญหาด้วยท่าบริหารเฉพาะ

ปัญหา "นิ้วล็อค" อาการยอดฮิต ที่หลายๆ มักประสบปัญหา โดยเฉพาะพนักงานออฟฟิศ กับแป้นพิมพ์คอมพิวเตอร์ หรือผู้ที่ต้องใช้มือและนิ้วมือในการทำงานมากๆ หรือหนักจนเกินไป ก็มักจะเกิดอาการเช่นนี้ได้  

 

"นิ้วล็อค" ปัญหาทุกข์ใจ กับท่าบริหารเฉพาะ เพื่อหลีกเลี่ยงอาการ

สำหรับ "นิ้วล็อค" ก็คือ สามารถงอนิ้วมือได้  แต่เมื่อเวลาเหยียดออก กลับมีปัญหาติดขัด  ยืดออกไม่ได้ หรือยืดออกลำบากคล้ายกับว่า นิ้วมือถูกล็อกเอาไว้ ซึ่งอาการนิ้วล็อกดังกล่าว พบได้กับคนทั่วไปที่ต้องใช้มือจับสิ่งของ หรืออุปกรณ์ต่างๆ อย่างต่อเนื่อง แต่ขอบอกเอาไว้ก่อนเลยว่า เจ้าโรคนี้ไม่มีอันตรายใดๆ   เพียงแต่ให้ความรู้สึกเจ็บปวด และใช้มือไม่ถนัดในการจัดสิ่งของ และเป็นอาการที่สามารถป้องกัน และรักษาให้หายได้

 

หากมีอาการเจ็บตรงโคนนิ้วมือ เวลา "งอนิ้ว" แล้วเหยียดออก มีเสียงดังก๊อก หรือ "งอนิ้ว"แล้วกากออกเองไม่ได้ ควรรีบไปปรึกษาพบแพทย์ เพื่อตรวจวินิจฉัย เมื่อพบว่าเป็นโรคนิ้วล็อก ผู้ป่วยควรได้รับการรักษาจากแพทย์อย่างจริงจัง และควรปฏิบัติดังนี้

-ไม่ขยับนิ้ว หรือดีดนิ้วที่เป็นนิ้วล็อกเล่น เพราะอาจทำให้เส้นเอ็นอักเสบมากขึ้นได้

-ถ้ามีอาการข้อฝืด กำไม่ถนัดตอนเช้า ควรแช่น้ำอุ่นจัดๆ และบริหารด้วยการกำมือ และแบออกเบาๆ ในน้ำ เพราะจะทำให้นิ้วมือเคลื่อนไหวได้สะดวกขึ้น

-เมื่อต้องกำหรือจับสิ่งของแน่นๆ เช่น ตะหลิว กระทะ หรือไม้กวาด ควรใช้ผ้าหรือฟองน้ำพันรอบๆ หรือใช้ถุงมือจับจะช่วยลดแรงกด หรือเสียดสีได้

 

"นิ้วล็อค" ปัญหาทุกข์ใจ กับท่าบริหารเฉพาะ เพื่อหลีกเลี่ยงอาการ

 

สำหรับการป้องกันอาการ "นิ้วล็อค" 
- ควรหลีกเลี่ยงการใช้มือทำงานหนัก ลักษณะทำให้เกิดแรงกด หรือเสียดสีกับเส้นเอ็นแบบซ้ำซาก
- การหิ้วของหนักๆ เช่น ถุงหนักๆ  ถังแก๊ส  ถังน้ำ  กระเป๋า (ควรใช้รถเข็นลาก หรือใช้ถุงมือ)
-การซักผ้า  บิดผ้า (ควรใช้เครื่องซักผ้าแทน)

 

วิธีการบริหาร เพื่อผ่อนคลายปัญหา "นิ้วล็อค" 

 

"นิ้วล็อค" ปัญหาทุกข์ใจ กับท่าบริหารเฉพาะ เพื่อหลีกเลี่ยงอาการ


1. ยืดกล้ามเนื้อแขน มือ นิ้วมือ โดยยกแขนระดับไหล่ ใช้มือข้างหนึ่งดันให้ข้อมือกระดกขึ้น-ลง ปลายนิ้วเหยียดตรงค้างไว้ นับ 1-10 แล้วปล่อยทำ 6-10 ครั้ง/เซต

2. บริหารการกำ-แบมือ โดยฝึกกำ-แบ เพื่อเพิ่มการเคลื่อนไหวของข้อนิ้วมือ และกำลังกล้ามเนื้อภายในมือ หรืออาจถือลูกบอลในฝ่ามือก็ได้ โดยทำ 6-10 ครั้ง/เซต

3. ท่าเพิ่มกำลังกล้ามเนื้อที่ใช้งอ-เหยียดนิ้วมือ โดยใช้ยางยืดช่วยต้าน แล้วใช้นิ้วมือเหยียดอ้านิ้วออก ค้างไว้ นับ 1-10 แล้วค่อยๆ ปล่อย ทำ 6-10 ครั้ง/เซต

 

 


ขอบคุณข้อมูล  /  กองเทคโนโลยีสารสนเทศ การประปาส่วนภูมิภาคเขต 7    /   รพ.พญาไท  /  โรงพยาบาลพริ้นซ์ สุวรรณภูมิ

 

                        

logoline

ข่าวที่น่าสนใจ