ข่าว

สุดทึ่ง อาชีพอันตราย จับ"งูเห่า"ขายได้หลักแสน

เกาะติดข่าวสาร >> คมชัดลึก ออนไลน์
logoline

เปิดอาชีพสุดทึ่ง จับ"งูเห่า"ขาย รู้ว่าเสี่ยงแต่รายได้หลักแสน ไม่น่าเชื่อทำกันมาร่วม100ปีสืบทอดตั้งแต่รุ่นปู่ย่า แต่เจอพิษโควิด-19 ระบาด 3 รอบ แทบอยากจะเลิก เพราะไม่มีลูกค้า แต่ด้วยใจรักทำให้เลิกไม่ได้ ห่วงไม่มีใครสืบทอดวิชาจับงู

ที่ อ.ดอนพุด จ.สระบุรี  ซึ่งเป็นอำเภอที่ทำให้จังหวัดสระบุรีมีหน้ามีตา ขึ้นชื่ออำเภอหนึ่งในเรื่องการจับงูเห่าเลี้ยงชีพ มานานร่วม 100 ปี ตั้งแต่รุ่นปู่ย่าจนถึงรุ่นหลานเหลน ได้ถ่ายทอดการเลี้ยงชีพจับงูเห่าเป็นอาชีพเลี้ยงครอบครัวได้มาโดยตลอด จนมาถึงปัจจุบันนี้ ผู้สื่อข่าวได้พาไปรู้จัก นายขวัญเมือง อรทัด อายุ 37 ปี และ น.ส.รัตนา ทองแก้ว อายุ 38 ปี ซึ่งอาศัยอยู่บ้านเลขที่ 31 หมู่ 6 ต.ดอนทอง อ.หนองโดน จ.สระบุรี  2 สามีภรรยา ซึ่งมีใจรักอาชีพในการจับงูเห่าเพื่อหาเลี้ยงในครอบครัว มา 20 กว่าปีแล้ว จนทำให้หลายๆจังหวัดในประเทศไทย แม้แต่ต่างประเทศได้รู้จักคำว่า งูเห่า ซึ่งมีเพียง 1 เดียว ในจังหวัดสระบุรี ที่อยู่ใน อ.ดอนพุด 

 

สุดทึ่ง อาชีพอันตราย  จับ\"งูเห่า\"ขายได้หลักแสน

สุดทึ่ง อาชีพอันตราย  จับ\"งูเห่า\"ขายได้หลักแสน

 

นายขวัญเมือง อรทัด และ น.ส.รัตนา ทองแก้ว 2 สามีภรรยา  เล่าให้ผู้สื่อข่าวถึงที่มาที่ไปในอาชีพจับงูเห่า ว่าตนและภรรยามีอาชีพจับงูเห่าเพื่อเอาไว้ขาย ซึ่งได้ฝึกการหาจับงูเห่ามาจากพ่อ เพื่อหาเลี้ยงชีพและครอบครัว เป็นอาชีพที่บริสุทธิ์และไม่ผิดกฎหมาย ไม่ต้องเป็นลูกจ้างใคร  งูเห่า ที่จับได้จะส่งขายให้กับลูกค้าต่างจังหวัดที่มาจองออเดอร์ไว้ เพื่อนำไปประกอบอาหารขาย รวมทั้งจากต่างประเทศที่ได้มีการสั่งจองเข้ามา จนหารายได้เป็นกอบเป็นกำ ในแต่ละวันต้องหาได้ไม่ต่ำกว่า 7-10 กิโล และนำไปขังไว้ในบ่อปูนจนกว่าจะจับงูเห่าได้จนครบออเดอร์ที่มีลูกค้าสั่งจองเข้ามา ซึ่งมีจำนวนหลายร้อยกิโลกรัมต่ออาทิตย์ โดยขายในราคากิโลกรัมละไม่ตำกว่า 400 บาท ทำรายได้ต่อเดือนไม่ต่ำกว่าหลักแสนขึ้นไป จึงทำให้ตนกับภรรยา ขยันสู้แดดสู้ฝน ออกไปหาจับงูเห่าให้กับลูกค้าเป็นชีวิตประจำวัน

 

สุดทึ่ง อาชีพอันตราย  จับ\"งูเห่า\"ขายได้หลักแสน

 

สุดทึ่ง อาชีพอันตราย  จับ\"งูเห่า\"ขายได้หลักแสน

 

สุดทึ่ง อาชีพอันตราย  จับ\"งูเห่า\"ขายได้หลักแสน

 

แต่มาในระยะนี้ ที่เกิดโรคไวรัสโควิด-19 ทุกอำเภอในจังหวัดสระบุรีได้รับผลกระทบ  รายได้ที่เคยได้ก็ลดต่ำลงมาเรื่อยๆ จากออเดอร์ที่รับกิโลละ 400 บาท อาทิตย์หนึ่งไม่ต่ำกว่า 400 - 500 กิโล ก็ลดต่ำลงมาเรื่อยๆ จนต้องมาเหลือกิโลละ 300 บาท  ช่วงที่โควิด-19 ระบาดครั้งที่ 2 ก็ได้ลดลงมาเรื่อยๆอีก จนทำให้เศรษฐกิจหรือการใช้จ่ายในครอบครัวได้เกิดฝืดเคืองไม่พอใช้จ่ายในครอบครัว จนมาระบาดรอบที่ 3 ยิ่งแย่หนักเข้าไปอีก จากการที่พอเคยมีการสั่งออเดอร์ มาถึงตอนนี้ไม่มีสั่งแม้แต่สักเจ้าเดียว ทั้งลูกค้าต่างจังหวัด หรือแม้แต่จ่ากต่างประเทศ ก็ไม่มีใครสั่งเลย  เรียกได้ว่าได้รับผลกระทบจากโควิด-19 รอบ 3 นี้ เข้าอย่างจัง จนไม่มีจะกินหรือใช้จ่ายในบ้าน เนื่องจากไม่มีคนสั่งงูเห่าเลย จะออกไปจับมาก็ไม่มีคนสั่ง จะมาขายปลีกแต่ละวันคนกินก็น้อยลง เพราะทุกคนได้รับผลกระทบจากโควิดไปตามๆกัน วันไหนที่ไม่มีเงินจุนเจือในครอบครัวก็ ต้องออกไปหาจับงูเห่า เพื่อเอางูมาแลกกับเงิน ต้องไปหาขายตามบ้านเรือนอ้อนวอนให้เขาช่วยซื้อกับคนที่เคยกิน ในราคา 200 บาท แต่ที่จับงูเห่ามาแต่ละตัวมีน้ำหนักไม่ต่ำกว่ากิโลละ 3 ขีด ทุกตัว จึงมีการแถมให้เขาไปภายในตัวอีกด้วย ตนอยากจะเลิกอาชีพจับงูเห่า ไปหางานทำ แต่ก็เลิกไมได้เพราะรักอาชีพนี้เป็นชีวิตจิตใจ จึงอยากจะหาคนมาถ่ายทอดวิธีการจับงูเพื่ออนุรักษ์ในอาชีพการจับงูเห่า ของ อ.ดอนพุด จ.สระบุรี ที่มีชื่อเสียงในประเทศและต่างประเทศอยู่แล้วให้คงไว้ตลอดไป

 

สุดทึ่ง อาชีพอันตราย  จับ\"งูเห่า\"ขายได้หลักแสน

สุดทึ่ง อาชีพอันตราย  จับ\"งูเห่า\"ขายได้หลักแสน

 

สุดทึ่ง อาชีพอันตราย  จับ\"งูเห่า\"ขายได้หลักแสน

ขอบคุณ..เกียรติยง อัศวราศี ผู้สื่อข่าวจังหวัดสระบุรี

logoline

ข่าวที่น่าสนใจ