ข่าว

ศูนย์กลางการค้าแห่ง "ความสุข" ที่ MRT

เกาะติดข่าวสาร >> คมชัดลึก ออนไลน์
logoline

"Bangkok Metro Networks" (BMN) ผู้ให้บริการ "สื่อโฆษณา" ที่อยากให้ผู้โดยสาร MRT ทุกคนมีความสุข เพราะทุกการเดินทางบน MRT จะไม่น่าเบื่ออีกต่อไป

Bangkok Metro Networks (BMN) เป็นผู้ดำเนินการธุรกิจพัฒนาพื้นที่เชิงพาณิชย์ และสื่อโฆษณาภายในสถานีรถไฟฟ้า MRT จากบริษัททางด่วนและรถไฟฟ้ากรุงเทพ จำกัด ประกอบธุรกิจจัดทำสื่อโฆษณาบริเวณสถานีรถไฟฟ้า 38 สถานี ภายในขบวนรถไฟฟ้าอีก 54 ขบวน รวมถึงพื้นที่ร้านค้า และพื้นที่กิจกรรมต่าง ๆ อีกด้วย

 

ศูนย์กลางการค้าแห่ง "ความสุข" ที่ MRT

 

ในปัจจุบันต้องยอมรับว่าการให้บริการรถไฟฟ้า MRT เข้ามามีบทบาทกับชีวิตคนเมืองเป็นอย่างมาก เพราะเป็นการเดินทางในระบบขนส่งมวลชนที่ตรงเวลา และรวดเร็ว อีกทั้งยังมีสิ่งอำนวยความสะดวกในระหว่างการเดินทางอีกมากมาย ไม่ว่าจะเป็นร้านค้าในเมโทรมอลล์ ซึ่งมีไว้รองรับผู้โดยสารทั้งหมดจำนวน 8 สถานี  สำหรับคนเมืองที่มีเวลาน้อยและใช้ชีวิตเร่งรีบ นอกจากนั้นผู้โดยสารที่มาใช้บริการรถไฟฟ้า MRT อีกสิ่งหนึ่งที่จะได้พบเจอคือ สื่อโฆษณาประชาสัมพันธ์ของสินค้าต่าง ๆ และกิจกรรมที่หลากหลาย ทำให้อดคิดไม่ได้ว่าใครกันหนอ ที่เข้ามาอยู่ตรงจุดนี้ได้ และนี่ถือเป็นโอกาสดีที่ได้พูดคุยกับคุณวิทสุวัฒน์ อำคาเพท กรรมการผู้จัดการ บริษัท Bangkok Metro Networks (BMN)  ถึงแคมเปญและธุรกิจของ Bangkok Metro Networks (BMN ) ว่าอะไรทำให้มีแนวคิดที่อยากให้ผู้โดยสาร MRT มีความสุข 

 

ศูนย์กลางการค้าแห่ง "ความสุข" ที่ MRT

วิทสุวัฒน์ อำคาเพท

ศูนย์กลางการค้าแห่ง "ความสุข" ที่ MRT

 

 

 

 

 

ที่มาของแคมเปญ The Happy Commercial Hub of MRT คืออะไร

ก่อนอื่นต้องบอกว่า สิ่งที่เราทำในระบบ MRT อยู่นั้น เราตระหนักถึงความสำคัญของผู้โดยสารเป็นหัวใจหลัก ทีนี้เราเลยมองว่าผู้ที่มาใช้บริการของเราทั้งหมดไม่ว่าจะเป็นผู้ที่สัญจรไปมาในระบบรถไฟฟ้า MRT  การเห็นสื่อโฆษณาประชาสัมพันธ์สินค้า และกิจกรรมต่างๆ หรือแม้กระทั่งผู้ที่มาใช้บริการในเมโทรมอลล์ เราอยากให้พวกเขามีความสุขในทุก ๆ ครั้งที่มา แต่อะไรที่จะตอบโจทย์นั้นได้ เราจึงต้องพัฒนาการให้บริการใน MRT อย่างต่อเนื่อง ให้กลายเป็นศูนย์กลางการให้บริการครบวงจร เราทุ่มเทในการเปลี่ยนแปลง และปรับปรุงรูปแบบของสื่อโฆษณาไม่ให้จำเจ เพื่อสร้างประสบการณ์ใหม่ ๆให้กับผู้โดยสารที่ได้รับจากสื่อโฆษณาในรูปแบบที่แปลกใหม่และน่าสนใจ และส่วนของเมโทรมอลล์ ที่มีร้านอาหาร ร้านค้ากับแบรนด์ต่าง ๆ ที่หลากหลาย ซึ่งเราได้ทำการวิจัยและคัดสรรร้านค้าจากความต้องการของลูกค้าเพื่อให้ตอบโจทย์ไลฟ์สไตล์ของชีวิตคนกรุงเทพฯที่เปลี่ยนไปในแต่ละวันเป็นหลัก เพราะเราเชื่อว่าสิ่งที่ผู้โดยสารอยากได้คือความสุข ไม่ว่าจะเป็นการเดินทางระยะใกล้ หรือไกล ก็เลยเป็นที่มาของคำว่า “The Happy Commercial Hub of MRT” 

 

ศูนย์กลางการค้าแห่ง "ความสุข" ที่ MRT

 

แนวโน้มการลงทุนในปี 2564 ของ BMN

เรามีโปรเจกต์ใหม่ ๆ ที่เกิดจากความต้องการของนักการตลาดและนักโฆษณา เพื่อตอบโจทย์แคมเปญของแต่ละแบรนด์ และอีกส่วนหนึ่งเราก็ Transform พื้นที่ จากพื้นที่ที่มีอยู่อย่างจำกัดให้มีขนาดใหญ่ขึ้นและสร้างจุดเด่นให้ได้มากยิ่งขึ้น ปรับเปลี่ยนกล่องไฟ เปลี่ยนจากสติ๊กเกอร์ เป็นจอดิจิตอล พร้อมกับนำ Technology LED Motion เข้ามาผสมผสาน ก็จะสามารถดึงดูดสายตาผู้คนมากขึ้นด้วย ในแง่การลงทุนเราก็ไม่ทำเฉพาะ Offline แต่เรามีการนำสื่อ Interactive เข้ามาใช้กับผู้โดยสารเพื่อให้เกิดการมีส่วนร่วมกับสื่อของเรา ให้สอดคล้องไปกับโฆษณาและแคมเปญของแบรนด์ได้ ฉะนั้นการลงทุนเราจะเน้นเรื่องนวัตกรรมใหม่ ๆ เพื่อตอบโจทย์ให้กับลูกค้าปัจจุบัน และลูกค้าในอนาคตที่กำลังจะเข้ามา ทั้งยังลงทุนในกรอบของสัมปทานของ MRT ซึ่งในปัจจุบัน เราไม่ได้อยู่ใต้ดินเพียงอย่างเดียว  แต่ MRT ยังมีสถานีลอยฟ้าอีกด้วย นอกจากนี้เรายังมีพื้นที่ OnGround ซึ่งสามารถทำสื่อโฆษณาหรือกิจกรรมประชาสัมพันธ์ได้อีก อย่างเช่นย่านถนนรัชดาภิเษก สุขุมวิท พระราม 4  ซึ่งถือเป็นย่านธุรกิจหลักของกรุงเพทพฯ ที่มีการสัญจรไปมาบนถนนอย่างคับคั่ง  ก็สามารถเป็นอีกหนึ่งทางเลือกให้กับนักการตลาด และนักโฆษณาในการสื่อสารเกี่ยวกับสินค้า และกิจกรรมของแบรนด์ไปยังผู้บริโภคได้อีกด้วย

 

ศูนย์กลางการค้าแห่ง "ความสุข" ที่ MRT

ศูนย์กลางการค้าแห่ง "ความสุข" ที่ MRT

 

 

 

 

มีการพูดถึง Disruption กันเยอะ ในธุรกิจสื่อโฆษณามีเตรียมรับมืออย่างไร

จริง ๆ แล้วผมมองว่าในแง่ของสื่อ Out of Home กระทบนิดหน่อย ในแง่ว่านักการตลาดจะจัดสรรงบประมาณในการใช้กับแต่ละสื่ออย่างไร แต่ผมเชื่อว่าการเดินทางนอกบ้านถือเป็นหนึ่งในปัจจัยหลักของคนกรุงเทพฯอยู่แล้ว จึงเป็นโอกาสที่ดีของสื่อ Out of Home ที่ยังสามารถเป็นสื่อหลักและมีความจำเป็นต่อการสื่อสารการตลาดในยุคปัจจุบัน ยิ่งหากเรานำเทคโนโลยีที่สามารถเชื่อม Offline กับ Online เข้าด้วยกันได้ จะยิ่งสามารถเสริมศักยภาพให้สื่อ Out of Home แข็งแกร่งมากยิ่งขึ้น ยกตัวอย่างเช่น ถ้าหากผู้โดยสารเดินทางจากสถานีเตาปูนแล้วอยากซื้อสินค้าสักชิ้น เค้าสามารถสแกนซื้อที่สถานีผ่านระบบ Online แล้วไปรับของที่ปลายทางอย่างสถานีสุขุมวิท พร้อมกับรับสิทธิพิเศษต่างๆจาก Partner ของ BMN ได้เลยเป็นข้อได้เปรียบของการนำ Online มา merge กับ Offline มากกว่าที่จะกลัวผลกระทบของการ Disruption
 

ศูนย์กลางการค้าแห่ง "ความสุข" ที่ MRT

รูปแบบสื่อโฆษณาใหม่ ๆ ของ BMN

BMN เรานำเทคโนโลยีเข้ามาเกี่ยวข้องมากขึ้น อย่างเช่นที่เรากำลังจะเปิดเร็ว ๆ นี้ ตรงบริเวณด้านหน้า MRT สถานีสีลม ซึ่งเป็น Prime location ใจกลางกรุงเทพฯ โดยเราจะพัฒนาพื้นที่ตรงนั้นให้เป็นจอดิจิตอลทั้งหมด และทำเป็นโปรดักชั่นในรูปแบบ 4D ด้วย location เดิมแต่เพิ่มลูกเล่นของเทคโนโลยีเข้าไปเพื่อปรับเปลี่ยนให้สื่อของเราน่าสนใจยิ่งขึ้น
 

ศูนย์กลางการค้าแห่ง "ความสุข" ที่ MRT

ศูนย์กลางการค้าแห่ง "ความสุข" ที่ MRT

 

ทิศทางในการบริหารงานต่อไปของธุรกิจ BMN

เราคงยังมุ่งเน้นที่จะพัฒนาธุรกิจของเราใน MRT ให้ดียิ่งขึ้น ทำอย่างไรให้เข้าถึงกลุ่มเป้าหมายได้ง่ายขึ้น ทำให้สื่อที่เรามีเป็นเสมือน Shelf ขายของอย่างเช่น ลูกค้าเห็นสื่อปุ๊บ ก็สามารถสั่งซื้อสินค้าหรือบริการ และรอรับที่ปลายทาง ไม่ว่าจะเวลาใดก็ตามได้เลยซึ่ง BMN กำลังพัฒนา Platform นี้อยู่ เราตระหนักถึงจำนวนผู้โดยสารที่มีอย่างมหาศาลในแต่ละวัน และเข้าใจถึงความต้องการของผู้บริโภคในปัจจุบัน จึงเป็นที่มาของแนวทางการพัฒนาพื้นที่เชิงพานิชย์ใน MRT ไม่ว่าจะเป็นสื่อโฆษณาประชาสัมพันธ์ ประเภทของร้านค้าในเมโทรมอลล์ หรือการจัดกิจกรรมทางการตลาดต่าง ๆ ที่สามารถเข้าถึงกลุ่มเป้าหมายให้เป็นที่น่าสนใจ และให้ประโยชน์กับสังคมไทยในปัจจุบันและนี่จึงเป็นที่มาของคำว่า “The Happy Commercial Hub of MRT” 

ลองนึกภาพดูเล่นๆ ถ้าหากคุณได้เดินทางโดย MRT ครั้งหน้า แล้วได้ดู Mini Concert ระหว่างทาง ได้ร่วมเล่นเกมกับจอดิจิตอลตามสถานีต่าง ๆ หรือซื้อสินค้า และบริการที่คุณต้องการได้แบบไม่ต้องรอ นี่แหละครับคือผลงานของ Bangkok Metro Networks (BMN)
 

ศูนย์กลางการค้าแห่ง "ความสุข" ที่ MRT

 

 

 

 

logoline

ข่าวที่น่าสนใจ