ชีวิตห่างไกลไข้"เลือดออก" 4 "สมุนไพร"ไล่ยุง หาได้ง่ายๆตามท้องตลาด
ชีวิตห่างไกลไข้"เลือดออก" 4 "สมุนไพร"ไล่ยุง หาได้ง่ายๆตามท้องตลาด
ในช่วงกลางเดือนพฤษภาคม ไปจนถึงกลางเดือนตุลาคม โดยมีระยะเวลาประมาณ 5 เดือน เราก็จะก้าวเข้าสู่หน้าฝน ซึ่งในประเทศไทยหลายภาค หลายจังหวัดต้องพบกับฝนที่ถล่มลงมาอย่างหนัก บ้างก็ทำให้เกิดความเสียหาย นอกจากนั้นเราอาจจะต้องเผชิญกับโรคภัยต่างๆที่มากับฝน เช่น โรคจากไวรัส คอติดเชื้อ ท้องเสีย อาหารเป็นพิษ ผิวหนังอักเสบ โรคฉี่หนู ไข้เลือดออก
ซึ่งโรคไข้เลือดออก มียุงลายเป็นพาหะ นาโรคโดยเฉพาะยุงลายตัวเมียที่กัดและดูดเลือดในเวลากลางวัน เมื่อกัดคนที่เป็นโรคนี้ เชื้อโรคจะเข้าไปฟักตัวอยู่ในยุง และสามารถถ่ายทอดไปสู่คนอื่นๆ ที่ถูกกัดได้ทุกครั้ง
อาการไข้เลือดออก มีอาการดังนี้ อาการไข้สูง ใบหน้าและลาตัว รวมถึงมือและเท้าจะแดง อาเจียน ปวดท้อง อาการไข้สูงจะเป็นอยู่ประมาณ 2-7 วัน หลังจากนั้นคนไข้อาจจะมีอาการช็อก เพราะส่วนใหญ่เมื่อไข้ลดผู้ป่วยจะเข้าใจว่าหายดีแล้ว แต่กลับพบอาการที่แย่ลง คือ ซึม กระสับกระส่าย มือเท้า และตัวเย็น เหงื่อออก ชีพจรเต้นเร็วและเบา มีจุดเลือดออกตามผิวหนัง ซึ่งมักพบที่แขน รักแร้ และตามตัว
ซึ่งยุงลายแบ่งออกเป็น 2สายพันธุ์ คือ
ยุงลายบ้าน ชอบวางไข่บนบริเวณน้ำขัง โดยเฉพาะที่อยู่ในภาชนะต่าง ๆ เช่น ตุ่มน้ำ จานรองขาตู้ ยางรถยนต์เก่า ถึงจะมีขนาดเล็ก แต่สามารถบินฉวัดเฉวียนได้อย่างแคล่วคล่องว่องไว เป็นพาหะนำโรคไข้เลือดออกในประเทศไทย และโรคไข้เหลืองในแถบอเมริกาใต้
ยุงลายสวน มีถิ่นกำเนิดอยู่ที่ทวีปเอเชีย มักพบได้ตามสวนผลไม้ สวนยาง หรืออุทยานต่าง ๆ เพาะพันธุ์ตามแหล่งน้ำสะอาด สามารถบินได้ไกลกว่ายุงลายบ้าน และเป็นพาหะนำโรคไข้ชิคุนกุนยา และไข้เลือดออก ซึ่งผู้ใดก็ตามที่เป็นโรคนี้ มีโอกาสเสียชีวิตประมาณ 5-10%
ในประเทศไทยมีผู้ป่วยไข้เลือดออกประมาณ 140,000 ราย ซึ่งกลุ่มเสี่ยงที่จะป่วยคือเด็กวัยเรียน อายุ 5-14 ปี แต่กลุ่มเสี่ยงต่อการเสียชีวิตคือผู้ใหญ่ อายุ 35 ปีขึ้นไป โดยเฉพาะในผู้ใหญ่ที่มีโรคประจำตัวเรื้อรัง ทั้งนี้โรคไข้เลือดออกมีความคล้ายคลึงกับโรคไข้หวัดในช่วงแรก ถ้าไม่ได้รับการรักษาที่ถูกต้องโดยเฉพาะในระยะที่มีเลือดออก หรือระยะช็อก ก็ทำให้เสียชีวิตได้
ซึ่งสิ่งที่สำคัญที่สุดในการให้ตัวเองห่างไกลจากไข้เลือดออก คือทำลายแหล่งเพาะพันธุ์ยุง ทั้งภายในบ้านและชุมชน รวมถึงสถานที่สำคัญต่างๆ และป้องกันไม่ให้ตนเองโดนยุงกัน วันนี้เรามีสมุนไพรที่หาได้ตามท้องตลาด สามารถไล่ยุงได้ เช่น ตะไคร้หอม มีสารสำคัญคือ น้ำมันหอมระเหย มีประสิทธิภาพในการไล่ยุงและแมลงอื่นๆ นอกจากนี้ยังสามารถนำ ตะไคร้ ผิวมะกรูด กะเพรา โหระพา ยูคาลิปตัสเป็นต้นมาใช้ไล่ยุงได้
1.ตะไคร้หอม วิธีทำง่ายๆ นำตะไคร้หอมประมาณ 4-5 ต้น มาทุบ แล้ววางไว้ในห้องมืด ๆ อับ ๆ กลิ่นของน้ำมันหอมระเหยก็จะช่วยกำจัดยุงออกไปเอง
2. ผิวมะกรูด นำใบหรือผิวมะกรูดมาบีบให้กลิ่นน้ำมันหอมระเหยฟุ้งเพื่อกำจัดยุงก็ดี ที่สำคัญถ้าหากนำลูกมะกรูดใส่ไว้ในตุ่มหรือแขวนไว้ใกล้ปากตุ่ม ยังช่วยป้องกันลูกน้ำยุงลาย และช่วยไม่ให้ยุงมาวางไข่ได้
3.โหระพา นำใบโหระพามาต้มน้ำเปล่า 110 มิลลิลิตร ประมาณ 2-3 ชั่วโมง พร้อมเติมวอดก้า 110 มิลลิลิตร ลงไป ก็จะช่วยให้เรามีสเปรย์ไว้ฉีดตามตัว ช่วยไล่ยุงเวลาออกไปข้างนอก
4.ยูคาลิปตัส นำใบสดประมาณ 1 กำมือ มาขยี้ให้กลิ่นของน้ำมันหอมระเหยกระจายออกมา แล้วนำไปวางไว้ตามมุมห้อง ก็จะช่วยกำจัดหรือฆ่ายุงหรือแมลงได้ง่าย ๆ
ขอบคุณข้อมูล โรงพยาบาลบางปะกอก, กรมการแพทย์แผนไทยและการแพทย์ทางเลือก