ข่าว

เคล็ด (ไม่) ลับ "แปรงฟันก่อนนอน" สำคัญอย่างไร แปรงตอนไหนดีที่สุด

เกาะติดข่าวสาร >> คมชัดลึก ออนไลน์
logoline

เคล็ด (ไม่) ลับ "แปรงฟันก่อนนอน" สำคัญอย่างไร แปรงตอนไหนดีที่สุด และพร้อมเริ่มวันใหม่อย่างมั่นใจ

เราอาจจะรู้อยู่แล้วว่า คนเราตามปกติจะแปรงฟันวันละ 2 ครั้งเป็นกิจวัตรประจำวันอยู่แล้ว นั่นก็คือ เช้า และ ก่อนนอน โดยในตอนเช้าเราแปรงฟันเพื่อกำจัดคราบจุลินทรีย์ที่หมักหมมมาทั้งคืน ทำให้รู้สึกสดชื่น ไม่มีกลิ่นปาก พร้อมเริ่มวันใหม่อย่างมั่นใจ

 

 

แล้วการ "แปรงฟัน" ก่อนนอนล่ะ สำคัญอย่างไร ทำไมต้องแปรง เราจะมาดูกัน 

 

การ "แปรงฟัน" ก่อนนอน เพราะตอนที่เรานอน น้ำลายจะไหลน้อยลง เนื่องจากน้ำลายมีประโยชน์ต่อช่องปากมากมายรวมถึงรักษาสมดุลและชะล้างเชื้อโรคในช่องปาก ดังนั้น ช่วงที่มีน้ำลายไหลน้อยก็จะมีความเสี่ยงที่จะเกิดฟันผุสูง

 

ถ้าเราไม่แปรงฟันก่อนนอน ก็จะมีคราบจุลินทรีย์รวมถึงเศษอาหารตกค้างในช่องปากจำนวนมาก เมื่อร่วมกับการที่มีน้ำลายไหลน้อยในช่วงการนอนที่ยาวนานแล้วฟันก็จะมีโอกาสผุได้มาก

 

โดยเฉพาะวัยเก๋า หรือวัยสูงอายุแล้วนั้น การแปรงฟันก่อนนอนนั้นมีความสำคัญมากๆ ซึ่งวัยนี้มักมีปัญหาเรื่องของปากแห้ง น้ำลายน้อย มีเหตุผลมาจากความเสื่อมของต่อมน้ำลาย รวมถึงการกินยารักษาโรคประจำตัวบางชนิด การไม่แปรงฟันก่อนนอน ก็จะยิ่งเพิ่มความเสี่ยงในการเกิดฟันผุให้สูงขึ้นไปอีก

 

แปรงฟัน ก่อนนอนตอนไหน? 

 

- เราอาจจะเข้าใจว่า การแปรงฟันก่อนนอนนั้น คือ การแปรงฟันแล้วก็เข้านอนเลยทันที ซึ่งก็ถูกแล้ว แต่ที่จริงแล้วนั้น หากเราไม่สะดวกแบบนี้ก็ทำได้โดยวิธีอื่นๆ เพราะ วัตถุประสงค์ของการแปรงฟันก่อนนอน คือการกำจัดคราบจุลินทรีย์และเศษอาหารก่อนเข้านอน การแปรงฟันที่แม้จะไม่ใช่แปรงแล้วเข้านอนทันที เช่น แปรงหลังกินอาหารเย็น หรือ แปรงพร้อมอาบน้ำตอนเย็น ก็อาจนับเป็นการแปรงฟันก่อนนอนได้ ถ้าหลังจากนั้นไม่กินอะไรอีกยกเว้นน้ำเปล่า จนกระทั่งถึงเวลาเข้านอน

 

 

 

นอกจากนี้ การแปรงฟันวันละ 2 ครั้งแล้วนั้น สิ่งสำคัญคือควรแปรงไม่ต่ำกว่า 2 นาทีด้วยยาสีฟันผสมฟลูออไรด์ และหากเป็นไปได้ควรงดกินหลังแปรงฟันอย่างน้อย 2 ชั่วโมง เรียกว่า หลักการแปรงฟันแบบ 2-2-2 นั่นเอง 

 

และควรทำความสะอาดซอกฟันวันละ 1 ครั้งด้วยไหมขัดฟันร่วมกับแปรงซอกฟันในบริเวณซอกฟันที่มีเหงือกร่น/ฟันห่าง เพราะไหมขัดฟันที่มีลักษณะเป็นเส้นขนาดเล็กจะไม่สามารถทำความสะอาดได้อย่างมีประสิทธิภาพเพียงพอ

 

ขอบคุณข้อมูลประกอบจาก กรมอนามัย กระทรวงสาธารณสุข

 

logoline
แท็กที่เกี่ยวข้อง

ข่าวที่น่าสนใจ