
เผยพฤติกรรมสูบบุหรี่แบบไหน เสี่ยงติดโควิด 14 เท่า
สสส.รณณรงค์ให้ประชาชนเลิกสูบบุหรี่ เพื่อลดความรุนแรงโควิด จากข้อมูลพบว่า ผู้ที่สูบบุหรี่เสี่ยงติดโควิดถึง 14 เท่า
31 พฤษภาคม ตรงกับ วันงดสูบบุหรี่โลก สสส.รณณรงค์ให้ประชาชนเลิกสูบบุหรี่ เพื่อลดความรุนแรงโควิด จากข้อมูลพบว่า ผู้ที่สูบบุหรี่เสี่ยงติดโควิดถึง 14 เท่า
รศ.นพ.สุทัศน์ รุ่งเรืองหิรัญญา หัวหน้าภาควิชาอายุรศาสตร์ คณะแพทยศาสตร์ มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ แพทย์ผู้เชี่ยวชาญด้านโรคระบบการหายใจและเวชบำบัดวิกฤต ในฐานะรองประธานเครือข่ายวิชาชีพแพทย์ในการควบคุมยาสูบ สนับสนุนโดยสำนักงานกองทุนสนับสนุนการสร้างเสริมสุขภาพ (สสส.) กล่าวว่า ในสถานการณ์การแพร่ระบาดโควิด-19 ขณะนี้การสูบบุหรี่และบุหรี่ไฟฟ้านับเป็นปัจจัยเสี่ยงที่สำคัญในการรับเชื้อ และแพร่กระจายเชื้อให้แก่ผู้อื่น
โดยมีงานวิจัยระบุว่า ผู้สูบบุหรี่และบุหรี่ไฟฟ้ามีความเสี่ยงต่อการติดเชื้อโควิด-19 ได้มากกว่าคนปกติ 5-14 เท่า และเมื่อป่วยแล้วมักมีอาการรุนแรงกว่าคนทั่วไปที่ไม่สูบเลยอย่างชัดเจน ที่น่าเป็นห่วงมากกว่านั้นคือ นักสูบที่สูบจนเกิดโรคเรื้อรังแล้ว เช่น โรคถุงลมโป่งพอง หลอดลมอักเสบเรื้อรัง มะเร็งปอด ระบบภูมิคุ้มกันจะมีลดต่ำกว่าคนปกติ ทำให้เชื้อโควิด-19 สามารถผ่านเข้าสู่ร่างกายได้โดยง่าย และเกิดอาการรุนแรงจนถึงขั้นเสียชีวิตได้
พฤติกรรมของผู้ที่สูบบุหรี่ที่ทำให้เสี่ยงติดเชื้อโควิด 14 เท่า สรุปออกมาเป็นข้อๆดังนี้
1.ผู้สูบบุหรี่ และสูบบุหรี่ไฟฟ้า เสี่ยงติดโควิด 5-14 เท่า
2.ปริมาณฝอยละอองบุหรี่ไฟฟ้ามีมากกว่าบุหรี่มวน ฝอยละอองพาเชื้อโควิด ไปพร้อมกัน แพร่กระจายด้วยกระแสลม
3.ผู้สูบบุหรี่มีการสูบกันเป็นกลุ่ม แพร่กระจายโควิดได้ง่าย
4.ในสถานบันเทิงมีการดื่มแอลกอฮอล์ร่วมกับสูบบุหรี่ อาจมีการแชร์บุหรี่ สูบมวนเดียวกัน
5.ผู้ที่สูบจนเกิดโรคเรื้อรัง เช่น โรคถุงลมโปงพ่อง หลอดลมอักเสบเรื้อรัง มะเร็งปอด ระบบภูมิคุ้มกันจะลดต่ำลง เชื้อโควิดเข้าสู่ร่างกายง่าย
6.เกิดอาการรุนแรงจนถึงขั้นเสียชีวิต
พบรายงานคนไทยเสียชีวิตจากการสูบบุหรี่ เมือปี 2560 ประมาณ 7 หมื่นคนแต่จำนวนการสูบบุหรี่ หรือ ผู้สูบบุหรี่หน้าใหม่ มีจำนวนเพิ่มมากขึ้น โดยเฉพาะการสูบบุหรี่ไฟฟ้าจากการสำรวจช่วยแพร่ระบาดโควิด-19 พบว่ามีประชาชนตั้งใจเลิกสูบบุหรี่เพราะเป็นปัจจัยที่ทำให้เกิดโรคปอด หัวใจ หลอดเลือดสมอง มะเร็ง เป็นต้น
ขอบคุณ : สสส.