
เผยข้อควรระวัง กลุ่มเสี่ยง 7 โรคต้องรู้ ก่อนฉีดวัคซีนโควิด-19
กรมควบคุมโรคกกระทรวงสาธารณสุข เผยข้อมูลคำแนะนำสำหรับการรับวัคซีนโควิด-19 ในผู้ป่วยกลุ่มเสี่ยง 7 โรค
กรมควบคุมโรค กระทรวงสาธารณสุข รายงานตัวเลขผู้ติดเชื้อ COVID19 รายใหม่เพิ่มขึ้น 1,940 คน ผู้ติดเชื้อสะสม 68,984 คน มีผู้เสียชีวิตเพิ่ม 21 คน ยอดตายสะสม 265 คน มีผู้ป่วยหนักต้องใส่เครื่องช่วยหายใจ 270 คน
อ่านข่าว : ผู้ติดเชื้อรายใหม่ของไทยวันนี้ เพิ่มขึ้น 1,940 ราย ยอดเสียชีวิตวันนี้ 21 ราย
โดยเมื่อวันที่ 1 พฤษภาคม ที่ผ่านมา ได้เปิดให้ประชาชนลงทะเบียนฉีดวัคซีนโควิดผ่านแอปพลิเคชั่น "หมอพร้อม" เป็นวันแรก สำหรับประชาชนทั่วไป ในกลุ่มผู้สูงอายุและกลุ่มผู้มีโรคเรื้อรัง 7 กลุ่ม กลุ่มเป้าหมายจำนวน 16 ล้านคน พบว่าวันนี้ (2 พฤษภาคม 2564) มีประชาชนลงทะเบียน ขอรับการฉีดวัคซีนผ่านแอปพลิเคชั่นหมอพร้อม จำนวน 430,588 คน
ขณะเดียวกันกรมการแพทย์กระทรวงสาธารณสุข ได้เผยข้อมูลคำแนะนำสหรับการรับวัคซีนโควิด-19 สำหรับผู้ป่วยกลุ่มเสี่ยง 7 โรค ผู้สูงอายุ ดังนี้
1.โรคมะเร็ง
- ผู้ป่วยมะเร็งทุกชนิด สามารถรับวัคซีนโควิด-19 ได้
- ผู้ป่วยรักษาโดยการปลูกถ่ายเซลล์เม็ดเลือดให้เว้นระยะ การให้วัคซีนโควิด-19 อย่างน้อย 3 เดือน
- ผู้ป่วยที่ได้รับการผ่าตัด ให้วัคซีนห่างจากวันผ่าตัดอย่างน้อย 3 วัน
2.กลุ่มโรคหัวใจและหลอดเลือด
- ผู้ป่วยโรคหัวใจและหลอดเลือดสามารถรับวัคซีนโควิด-19 ได้
- กรณีผู้ป่วยมีอาการหัวใจกำเริบเฉีบพลัน ที่อาการยังไม่คงที่และอาจเป็นอันตรายถึงแก่ชีวิตให้รอจนกว่าอาการดีขึ้นและคงที่
- กรณีผู้ป่วยมีความดันโลหิตสูงชนิดรุนแรง SBP>160 mmHg ควบคุมความดันโลหิตให้ดีก่อนรับวัคซีน
- หากรับประทานยาละลามลิ่มเลือดควรแจ้งเจ้าหน้าที่เพื่อพิจารณาเพิ่มความระมัดระวัง
3.กลุ่มโรคทางเดินหายใจเรื้อรัง (โรคปอดอุดกั้น โรคหอบหืดที่ควบคุมได้ไม่ดี)
- ผู้ป่วยโรคทางเดินหายใจเรื้อรังสามารถรับวัคซีนโควิด-19ได้
- ฉีดหลังอาการกำเริบ 2- 4 สัปดาห์
4.กลุ่มโรคไตเรื้อรัง
- ผู้ป่วยโรคไตเรื้อรัง รวมทั้งผู้ได้รับการฟอกเลือด ล้างไตทางช่องท้องหรือปลูกถ่ายไต สามารถรับวัคซีนโควิด-19 ได้
- ในกรณีกินยากดภูมิกันขนาดสูงให้ปรึกษาแพทย์ที่ดูแลก่อน
5.กลุ่มโรคระบบประสาท (โรคหลอดเลือดแดง โรคลมชัก โรคภูมิคุ้มกันระบบประสาท)
- ผู้ป่วยโรคระบบประสาทสามรถรับวัคซีนโควิด-19ได้
- ผู้ป่วยต้องมีอาการทางระบบประสาทคงที่ หรือไม่อยู่ในภาวะอันตรายต่อชีวิตอย่างน้อย 4 สัปดาห์
- ในกรณีที่ใช้ยาต้านการแข็งตัวของเลือดหรือยากดภูมิคุ้มกันให้ปรึกษาแพทย์ก่อนการรับวัคซีน
6.กลุ่มโรคเบาหวานและโรคอ้วน
- ผู้ป่วยโรคเบาหวานที่ควบคุมได้และโรคอ้วนสามรถรับวัคซีนโควิด-19ได้
- ผู้ป่วยโรคเบาหวานที่ขาดยาหรือควบคุมระดับน้ำตาลได้ไม่ดี และผู้ป่วยเบาหวานชนิดที่ 1 ต้องฉีดอินซูลิน ให้ปรึกษาแพทย์ก่อนรับวัคซีน
7.กลุ่มผู้สูงอายุ
- ผู้สูงอายุ 60 ปี ขึ้นไป ถ้าไม่มีข้อห้ามและข้อพึงระวัง สามารถรับวัคซีนโควิด-19 ของแอสตร้าเซนเนก้าได้
ขอบคุณ : กรมการแพทย์