ข่าว

ดัชนีความเชื่อมั่นของผู้บริโภค ปรับตัวดีขึ้นครั้งแรกในรอบ 3 เดือน

เกาะติดข่าวสาร >> คมชัดลึก ออนไลน์
logoline

ศูนย์พยากรณ์เศรษฐกิจ หอการค้าไทย เผยดัชนีความเชื่อมั่นของผู้บริโภค ปรับตัวดีขึ้นครั้งแรกในรอบ 3 เดือน

11 มี.ค.64  ศูนย์พยากรณ์เศรษฐกิจและธุรกิจ มหาวิทยาลัยหอการค้าไทย เผยผลสำรวจดัชนีความเชื่อมั่นผู้บริโภคเดือนกุมภาพันธ์ 2564  ดัชนีความเชื่อมั่นของผู้บริโภคทุกรายการปรับตัวดีขึ้นเป็นครั้งแรกในรอบ 3 เดือน นับตั้งแต่ เดือนธันวาคม 2563  เป็นต้นมา ที่เริ่มเกิดการแพร่ระบาดของโควิด-19 รอบใหม่ ในช่วงกลางเดือนธันวาคม 2563 เนื่องจากสถานการณ์การแพร่ระบาดในไทยเริ่มปรับตัวลดลง ประกอบกับการเริ่มต้นฉีดวัคซีนโควิดเป็นรูปธรรมมากขึ้น รวมถึงจำนวนผู้ติดเชื้อรายวันเริ่มลดลงอย่างชัดเจน อีกทั้งการฉีดวัคซีนของทั้งโลกทำให้สถาการณ์โควิดในระดับโลกปรับตัวดีขึ้น ส่งผลให้ผู้บริโภคคลายความวิตกกังวล และมาตรการของรัฐบาลในการกระตุ้นเศรษฐกิจโดยเฉพาะโครงการ"เราชนะ" และโครงการต่างๆช่วยกระตุ้นกำลังซื้อให้ปรับตัวดีขึ้นทั่วประเทศ 
 

โดยเดือนกุมภาพันธ์ 2564 ดัชนีความเชื่อมั่นของผู้บริโภค เกี่ยวกับเศรษฐกิจโดยรวมปรับตัวดีขึ้นเป็นครั้งแรกในรอบ 3 เดือน นับตั้งแต่เดือนธันวาคม 2563 โดยปรับขึ้นจากระดับ 41.6 ในดือนที่ผ่านมา มาที่ระดับ 43.4 และ 58.7 ตามลำดับ โดยปรับตัวดีขึ้นทุกรายการ เมื่อเทียบกับเดือนมกราคม ที่อยู่ในระดับื 41.6  , 45.1 และ 56.8 ตามลำดับ 

อย่างไรก็ตาม ดัชนียังอยู่ในระดับต่ำกว่าปกติ (ที่ระดับ 100) แสดงว่าผู้บริโภคยังไม่มีความมั่นใจเกี่ยวกับสถานการณ์ทางเศรษฐกิจโอกาสในการหางานทำ และรายได้ในอนาคตอย่างมาก เพราะมีความกังวลในวิกฤต COVID-19 รอบใหม่ในประเทศไทยและทั่วโลก ส่งผลกระทบให้เศรษฐกิจไทยและการจ้างงานมี โอกาสปรับตัวแย่ลงได้ในอนาคต ซึ่งจะทำให้ รายได้ในอนาคตของผู้บริโภคลดลงในที่สุด

การปรับตัวดีขึ้นของดัชนีความเชื่อมั่นของผู้บริโภคทุกรายการในเดือนนี้ส่งผลให้ดัชนีความเชื่อมั่นของผู้บริโภค  ปรับตัวดีขึ้นเป็นคร้ังแรกในรอบ 3 เดือนนับตั้งแต่เดือนธันวาคม 2563 เป็นต้นมา โดยปรับตัวดีขึ้นจากระดับ 47.8 เป็น 49.4 การที่ดัชนีความเชื่อมั่นของผู้บริโภคโดยรวมยังคงเคลื่อนไหวคงอยู่ต่ำกว่าระดับ 100 แสดงให้เห็นว่าผู้บริโภคยังคงเห็นว่าสถานการณ์เศรษฐกิจโดยรวมยังคงย่ำแย่จากวิกฤต COVID-19 ในประเทศไทยและทั่วโลก ซึ่งจะส่งผลกระทบในเชิงลบอย่างมากต่อกำลังซื้อภายในประเทศ ภาคการท่องเที่ยว ภาคการส่งออกธุรกิจโดยทั่วไป และการจ้างงานในอนาคต โดยบั่นทอนความเชื่อมั่นของผู้บริโภคทั้งในปัจจุบันและในอนาคตได้อย่างต่อเนื่องในระยะอันใกลนี้

ความเชื่อมั่นของผู้บริโภคในปัจจุบัน ปรับตัวดีขึ้นจากระดับ 32.4 มาอยู่ที่ 33.7แสดงว่า ภาวะเศรษฐกิจไทยในปัจจุบันแย่มากในมุมมองของผู้บริโภค และดัชนีความเชื่อมั่นในอนาคตก็ยังปรับตัวดีขึ้นเช่นเดียวกัน โดยปรับตัวดีขึ้นจากระดับ 55.1 มาอยู่ที่ระดับ 56.8 ซึ่งอยู่ในระดับต่ำกว่าค่าปกติ (คือ 100) สะท้อนให้เห็นว่า ผู้บริโภคยังขาดความเชื่อมั่นอย่างมากเกี่ยวกับเศรษฐกิจไทยในอนาคต

การที่ดัชนีความเชื่อมั่นของผูบ้ริโภคปรับตัวดีขึ้นเป็นคร้ังแรกในรอบ 3 เดือนนับตั้งแต่เดือนธันวาคม 2563 เป็นต้นมาแสดงว่าผู้บริโภคเริ่มคลายความวิตกกังวลเกี่ยวกับสถานการณ์โควิดในประเทศไทย นอกจากนั้นการที่กำลังซื้อของผู้บริโภคมีมากขึ้นจากมาตรการกระตุ้นเศรษฐกิจของภาครัฐโดยเฉพาะโครงการ“เราชนะ” ส่งผลให้มีการจับจ่ายใช้สอยในประเทศมากขึ้น อีกทั้งราคาพืชผลทางการเกษตรปรับตัวดีขึ้นแทบทุกรายการส่งผลให้กำลังซื้อในทุกภูมิภาคปรับตัวดีขึ้นได้

ทั้งนี้หากการฉีดซีนในประเทศมีแผนการที่ชัดเจนเป็นรูปธรรมมากขึ้นและการเปิดรับนักท่องเที่ยวจากต่างประเทศดำเนินการได้กว้างขวางขึ้นในอนาคต เศรษฐกิจไทยน่าจะเริ่มฟื้นตัวได้เด่นชัดขึ้นตั้งแต่ไตรมาสที่2 ของปีนี้เป็นต้นไป และจะทำให้ความเชื่อมั่นของผู้บริโภคปรับตัวดีขึ้นอย่างต่อเนื่องตั้งแต่ ไตรมาสที่ 2 ของปีนี้เป็นต้นไปด้วยเช่นเดียวกัน ศูนย์พยากรณ์เศรษฐกิจและธุรกิจคาดว่าผู้บริโภคจะเริ่มกลับ มาจับจ่ายใช้สอยเพิ่มมากขึ้นเป็นลำดับ ซึ่งต้องติดตามผลสัมฤทธิ์ ของการควบคุม COVID-19 ในไทยว่าจะคลี่คลายลงได้เร็วแค่ไหน และมาตรการกระตุ้นเศรษฐกิจที่จะออกมาเยียวยาผลกระทบของ COVID-19 ในรอบใหม่ของรัฐบาลในช่วงไตรมาสที่ 2จาก โครงการ “เราชนะ” “คนละครึ่ง” และ “เรารักกัน” ว่าจะสามารถพลิกฟื้นเศรษฐกิจไทยได้มากน้อยเพียงใด และสถานการณ์ทางการเมืองของไทยจะดีขึ้นหรือแย่ลงอย่างไรหลังจากการปรับคณะรัฐมนตรีซึ่งปัจจัยทั้งสามจะมีผลกระทบต่อความเชื่อมั่นของผู้บริโภคในอนาคตเป็นอย่างมาก

logoline

ข่าวที่น่าสนใจ