ข่าว

ไขคำตอบ สีของแสงดาวตกที่เราเห็นทำไมจึงแตกต่างกัน

เกาะติดข่าวสาร >> คมชัดลึก ออนไลน์
logoline

สถาบันวิจัยดาราศาสตร์ฯ ไขคำตอบ เหตุใดเราจึงมองเห็นสีของดาวตกปรากฏในลักษณะที่แตกต่างกัน

NARIT สถาบันวิจัยดาราศาสตร์แห่งชาติ โพสต์ข้อความไขข้อสงสัยทำไมสีของดาวตกจึงปรากฏในลักษณะที่แตกต่างกัน โดยระบุว่า

 

"ดาวตก" เกิดจากเศษหินและฝุ่นของดาวหาง หรือดาวเคราะห์น้อย ถูกแรงดึงดูดของโลกดึงเข้ามาในชั้นบรรยากาศ เกิดการเสียดสีและเผาไหม้ ทำให้อะตอมของดาวตกเปล่งแสงออกมาในช่วงคลื่นต่างๆ

 

 

เราจึงมองเห็นสีของดาวตกปรากฏในลักษณะที่แตกต่างกัน โดยขึ้นอยู่กับ 2 ปัจจัย ได้แก่ องค์ประกอบทางเคมี และ โมเลกุลของอากาศโดยรอบ

 

แสงที่เปล่งออกมาจากอะตอมโลหะของดาวตก จะแตกต่างกันไปตามองค์ประกอบทางเคมี เช่น อะตอมแคลเซียม (Ca) ให้แสงสีออกโทนม่วง อะตอมแมกนีเซียม (Mg) ให้แสงสีฟ้าเขียว อะตอมโซเดียม (Na) ให้แสงสีส้มเหลือง อะตอมเหล็ก (Fe) ให้แสงสีเหลือง

 

ดาวตก, ฝนดาวตก, สีของดาวตก, ฝนดาวตกเจมินิดส์

 

ในขณะที่โมเลกุลในชั้นบรรยากาศโลก จะมีอะตอมของออกซิเจน (O) และไนโตรเจน (N) เป็นองค์ประกอบ ซึ่งจะให้แสงสีแดง ดังนั้นสีของดาวตกจึงขึ้นอยู่กับการเปล่งแสงของอะตอมแต่ละชนิด

 

สำหรับ ฝนดาวตกเจมินิดส์ ในคืน 13 ธันวาคมที่จะถึงนี้ คาดว่ามีอัตราการตกมากถึง 150 ดวงต่อชั่วโมง แถมไม่มีแสงของดวงจันทร์รบกวน เป็นโอกาสดีมากๆที่จะได้นอนดูและสังเกตสีของฝนดาวตกกัน จะนอนดูที่บ้านหรือมาดูกับ NARIT ที่อ่างเก็บน้ำห้วยลาน จ.เชียงใหม่ ก็ได้ หรือใครไม่สะดวกมาเชียงใหม่เรามีจัดอีกสองที่ ฉะเชิงเทรา และนครราชสีมา

 

 

logoline

ข่าวที่น่าสนใจ