ข่าว

คนไทยได้เฮ... สธ.ประกาศฉีดวัคซีนโควิด ให้ "ฟรี"เบื้องต้นฉีดได้ 50%ของคนไทย

เกาะติดข่าวสาร >> คมชัดลึก ออนไลน์
logoline

คนไทยได้เฮ... สธ.ประกาศฉีดวัคซีนโควิด ให้ "ฟรี"เบื้องต้นฉีดได้ 50%ของคนไทย

วันนี้ (24 พ.ย. 2563) กระทรวงสาธารณสุข จัดแถลงความคืบหน้าเกี่ยวกับวัคซีนโควิด 19 โดย นพ.นคร เปรมศรี ผู้อำนวยการสถาบันวัคซีนแห่งชาติ กล่าวถึงความคืบหน้าการจัดหาวัคซีนให้คนไทยว่า

 

ขณะนี้ บริษัท แอสตรา เซเนก้า ได้ทดสอบวัคซีนในคนระยะที่ 3 ภาพรวมมีประสิทธิภาพ 70% ระหว่างนี้เป็นช่วงการให้ข้อมูลกับอย.ของสหราชอาณาจักร และรอการขึ้นทะเบียนในประเทศอังกฤษ

 

ส่วนไทยก็จะร่วมผลิตวัคซีนกับแอสตราเซเนก้า ในลักษณะถ่ายทอดเทคโนโลยี ให้บริษัท สยามไบโอไซเอนซ์ ซึ่งเป็นของไทยเป็นผู้ผลิต หลังจากนั้นจะผลิตให้เพียงพอกับคนไทยและอาเซียน

 

นอกจากนี้ การที่คณะรัฐมนตรี(ครม.)อนุมัติ งบประมาณให้สถาบันวัคซีนแห่งชาติ จองซื้อวัคซีนจากบริษัทแอสตรา เซเนก้า 26 ล้านโด๊ส ซึ่งจะฉีดให้คนไทยได้ 13 ล้านคน เมื่อมีวัคซีนแล้วจะมีการกระจายการฉีดให้ประชาชนต่อไป

 

ผอ.สถาบันวัคซีนกล่าวอีกว่า สำหรับการถ่ายทอดเทคโนโลยีของแอสเตรา เซเนก้าใหักับ สยามไบโอไซเอนซ์ คาดว่าจะมีใช้เวลาประมาณ 6เดือน หลังจากนั้นคาดว่าจะผลิตวัคซีนล็อตแรกออกมาได้ โดยวัคซีนที่จะฉีดให้กับคนไทย ก็จะเป็นวัคซีนที่ผลิตในประเทศ ซึงการผลิตออกมาจำนวนเท่าไหร่ เพื่อฉีดให้คนไทยจะต้องมีการรายงานให้แอสตราเซเนก้ารับทราบ ซึ่งการผลิตในประเทศมีผลดีตัดปัญหาเรื่องค่าใช้จ่ายการขนส่ง เพราะวัคซีนโควิด จะเป็นวัคซีนที่มีอายุสั้น 6เดือนหรือ 1ปีเท่านั้น

 

นอกจากนี้ วัคซีนที่ทำร่วมกับแอสตราเซเนก้ายังมีราคาถูก เพราะทางแอสตราเซเนก้า ประกาศว่าไม่มีการทำกำไร ราคาที่ขายจะเท่ากับต้นทุนการผลิตเท่านั้น

 

“ส่วนความสามารถผลิตของสยามไบโอไซเอนซ์ ผลิตได้สูงสุด 200 ล้านโด๊ส ต่อปี หรือประมาณ 15 ล้านโด๊สต่อเดือน หรือผลิตได้ต่ำสุดก็ 2 ล้านโด๊ส ถ้าเราผลิตได้เยอะเกินประชากรของเรา ก็สามารถกระจายให้ประเทศเพื่อนบ้านได้ แต่ต้องผ่านการเห็นชอบของแอสตราเซเนก้าก่อน ซึ่งจะมีผลดีต่อเรา ทำให้ประเทศเรากลับสู่ภาวะปกติโดยเร็ว ถ้าทำให้ไม่มีการระบาดในประเทศเพื่อนบ้าน ” นพ.นครกล่าว

นพ.โอภาส การย์กวินพงศ์ อธิบดีกรมควบคุมโรค กล่าวว่า การจะฉีดให้ประชาชนอย่างไร ซึ่งคนทั่วโลกมี 7พันล้านคน ปกติต้องฉีดคนละ2 โด๊ส หรือเท่ากับทั้งโลกต้องผลิตวัคซีน 1.4 หมื่นล้านโด๊ส แต่การที่วัคซีนยังไม่มีการผลิตแม้แต่เข็มเด็ยว เพียงแต่มีการทดลองเฟส 3 ในคน และมีข้อมูลออกมาอย่างน้อย 3บริษัท ตอนนี้ทุกคนตั้งคำถามว่า วัคซีน 1.4 หมื่นล้านโด๊ส จะผลิตกันอย่างไร เพราะไม่ใช่ผลิตงาย โรงงานจะผลิตวัคซีนมากขนาดนี้ให้ได้ ในเวลาสั้นๆ คงเป็นเรื่องที่ยากมาก

 

รวมทั้งจากประสบการณ์เดิมของเราผลิตวัต แต่ละตัวใช้เวลานานมาก แต่สำหรับวัคซีนโควิดถือว่าเป็นความก้าวหน้าวิทยาการระดับโลก เพราะเรารู้จักโควิดมาไม่ถึงปี แต่สามารถผ่านการทดสอบความก้าวหน้าระดับเฟส 3ได้

 

อย่างไรก็ตาม จากกระแสข่าวว่าขณะนี้มี ประเทศรวยๆ จองซื้อวัคซีนไปหมด ดังที่เห็นข่าวว่าประเทศอื่นๆมีการจองซื้อเป็นแสนๆ ล้าน แต่เราคงไม่มีเงินมากพอขนาดนั้น แต่เราต้องสามารถหาวัคซีนได้ไม่น้อยหน้ากว่าประเทศอื่น ใน 3 วิธี

 

1.คือผลิตเองในประเทศซึ่งมีความก้าวหน้า 2. ร่วมวิจัยกับประเทศอื่น เพื่อให้ได้สิทธิ์อันดับต้นๆ ในราคาที่ไม่แพงเกินไปนัก ดังความร่วมมือกับเอสตราเซเนก้า ซึ่งเราจะได้ในราคาไมแพง และถ่ายทอดเทคโนโลยีให้ไทย 3. การแย่งซื้อ แต่เราคงแย่งได้ลำบาก ดังนันการทีเรามีนโยบายกับเขาตั้งแต่ต้นถือว่าประสบความสำเร็จ

 

อธิบดีกรมควบคุมโรค กล่าวอีกว่า ปัญหาต่อมาคือเมื่อได้วัคซีนมาแล้ว เราจะฉีดให้คนไทยเท่าไหร่ ขณะนี้เรามีประชากร 69 ล้านคน ฉีดคนละ2เข็ม แสดงงาต้องเตรียมวัคซีน 140 ล้านโด๊ส แต่ความเป็นจริง เราคงหาให้ได้รวดเดียวไม่ได้ คงต้องใช้เวลาหาพอสมควร แต่เราตั้งเป้าอย่างน้อยที่สุดต้องฉีดวัคซีนได้ให้ 50% ของประชากร

 

ซึ่งขณะนี้ รัฐบาลได้อนุมัติงบประมาณจาก 3.7พันล้านบาท แบ่งเป็นค่าวัคซีน ขนส่ง ค่าเข็ม ไซริงค์ และระบบเฝ่าระวังหลังฉีด การเก็บรักษา การสื่อสารประชาสัมพันธ์กับประชาชน

นพ.โอภาส กล่าวอีกว่า หลังจากนั้น จะต้องมีการกำหนดกลุ่มเป้าหมายผู้ได้รับการฉีด ซึ่งตามพ.ร.บ.วัคซีนแห่งขาติ ผู้กำหนดว่าจะฉีดให้ใคร คือ 1.คณะกรรมการวัคซีนแห่งชาติ 2.คณะกรรมการสร้างเสริมภูมิคุ้มกันโรค จะเป็นผู้กำหนด และตามหลักการปกติของประเทศไทย การฉีดวัคซีนในประเทศ คือ การบริการประชาชน ซึ่งจะอยู่ในสิทธิประโยชน์ประกันสุขภาพ และกองทุนอื่้นๆด้วย จึงเป็นฉีดใม่คิดมูลค่า ซึ่งเบื้องต้นกลุ่มที่จะได้รับการฉีดกลุ่มแรกจะเป็นบุคคลากรทางการแพทย์และกลุ่มที่มีความเสี่ยงสูง เช่น กลุ่มเด็ก และแม่ เพื่อป้องกันการติดเชื้อ

 

 

“ทั้งนี้ ในการฉีดวัคซีนจะต้องมีขั้นตอนเตรียมการ โดยต้องมีการสำรวจความเห็นประชาชน ทำการประชาสัมพันธ์ เพื่อให้เกิดความเข้าใจครบถ้วน เพราะอาจจะมีคนที่ทั้งอยากฉีดและไม่อยากฉีด แต่ทางสธ.ขอให้มั่นใจวัคซีนมีประสิทธิภาพดี และหลังจากมีการฉีดแล้ว จะต้องติดตามผลหลังการฉีด 6เดือน หรือ 1ปี ”นพ.โอภาสกล่าว

 

ด้านนพ.นคร กล่าวเสริม ในประเด็นที่มีบางคนอาจไม่อยากฉีดแม้มีวัคซีนแล้วว่า อยากสื่อสารกับประชาชน เมื่อมีวัคซีนใช้แล้ว ก็ควรใช้แล้ว เราก็ควรใช้มัน อย่าให้ข่าวลือ ความเชื่อ ความเข้าใจผิด คำว่าเขาว่าๆ โดยไม่รู้เหตุรู้ผล จะทำให้แม้มีวัคซีนเราก็จะไม่ได้ประโยชน์เต็มที่ เพราะคำว่าเขาว่า ๆ ขอให้เชื่อกระทรวงสาธารณสุขไว้ก่อน เราจะได้ผ่านพ้นการระบาดของโรคไปได้

 

"ข้อสำคัญอีกอย่างเมื่อมีวัคซีนใช้แล้ว เราต้องฉีด 2โด๊ส ไม่ใช่รับแค่ เข็มเดียว ดังนั้น จึงอยากให้พี่น้องให้ความร่วมมือกับภาครัฐ เหมือนการร่วมมือการใส่หน้ากากอนามัย เพื่อให้ประเทศเรากลับคืนสู่ภาวะปกติโดยเร็ว" นพ.นคร กล่าว

  คนไทยได้เฮ... สธ.ประกาศฉีดวัคซีนโควิด ให้ "ฟรี"เบื้องต้นฉีดได้ 50%ของคนไทย

  คนไทยได้เฮ... สธ.ประกาศฉีดวัคซีนโควิด ให้ "ฟรี"เบื้องต้นฉีดได้ 50%ของคนไทย

   คนไทยได้เฮ... สธ.ประกาศฉีดวัคซีนโควิด ให้ "ฟรี"เบื้องต้นฉีดได้ 50%ของคนไทย

    คนไทยได้เฮ... สธ.ประกาศฉีดวัคซีนโควิด ให้ "ฟรี"เบื้องต้นฉีดได้ 50%ของคนไทย

logoline

ข่าวที่น่าสนใจ