ข่าว

"กรณ์" ชี้ช่อง "คนละครึ่ง" จุดเริ่มต้น E - commerce Platform

เกาะติดข่าวสาร >> คมชัดลึก ออนไลน์
logoline

"กรณ์ จาติกวณิช" หัวหน้าพรรคกล้า แนะรัฐนำข้อมูล"คนละครึ่ง"พัฒนาระบบ E-commerce Platform ช่วยเพิ่มพื้นที่สินค้าไทย รวมถึงช่วยประเทศเข้าสู่ระบบ Cashless Society แต่ติดปัญหาต่างคนต่างทำ ชี้การขับเคลื่อนต้องมีวิสัยทัศน์และยุทธศาสตร์จากส่วนกลางที่ชัดเจนกว่านี้

13 พ.ย.63  นายกรณ์ จาติกวณิช หัวหน้าพรรคกล้า แสดงความเห็นผ่านเฟซบุ๊ก "กรณ์ จาติกวณิช - Korn Chatikavanij" ถึงโครงการ "คนละครึ่ง" ซึ่งเป็นมาตรการกระตุ้นเศรษฐกิจโดยรัฐบาล  ได้รับความสนใจจากประชาชนเป็นอย่างมากซึ่งจะเห็นได้จากยอดผู้ลงทะเบียนจำนวน10ล้านสิทธิ และผู้ร้านค้ารายย่อยลงทะเบียนเข้าร่วมโครงการเพิ่มมากขึ้น น่าจะโอกาสในการพัฒนาระบบ E-commerce Platform ในไทย ดังนี้ 

#คนละครึ่ง กับ อนาคต E-commerce ไทย
.
เมื่อวานผมอ่านหลายความคิดเห็น หลังจากที่ผมได้โพสต์เกี่ยวกับ
ธุรกิจการค้าออนไลน์ พบว่ามีหลายคำถาม ว่าทำไมประเทศไทย
ไม่พัฒนาระบบ E-commerce Platform ของตัวเองบ้าง ทั้งๆ ที่ไทย
มียอดการใช้จ่ายในโลกออนไลน์เพิ่มขึ้นทุกปี อุปสรรคคืออะไร
ทำไมเรายังไม่ไปถึงจุดนั้น ผมว่าโอกาสเรามี แต่ขึ้นอยู่กับว่า
จะมีคนมองเห็นมันหรือไม่
.
[ คนละครึ่ง ]
โดยเหตุการณ์เมื่อวานนอกจากจะมีวันโปรดุ 11.11 แล้ว
ก็มีอีกหนึ่งโครงการที่ร้อนแรงไม่แพ้กัน กับมาตราการกระตุ้นเศรษฐกิจ
ของรัฐ ‘คนละครึ่ง’ ที่รัฐบาลช่วยออกค่าใช้จ่าย
ในการซื้อสินค้าและบริการ ให้กับประชาชนครึ่งหนึ่ง
ซึ่งได้รับความสนใจเป็นอย่างมาก โดยการเปิดให้ลงทะเบียน
รอบ 2 นั้นครบกำหนดตามสิทธิ์อย่างรวดเร็ว ซึ่งตั้งแต่เปิดโครงการมา
มียอดการใช้จ่ายผ่าน app "เป๋าตัง" ไปแล้วถึง 1.1 หมื่นล้านบาท
ซึ่งเงินเหล่านี้ไปถูกกระจายไปสู่ผู้ประกอบการรายย่อย
ที่ลงทะเบียนแล้ว กว่า 5.7 แสนร้าน รวมไปถึงแผงลอยตามตลาด
ทำให้สามารถเข้าไปกระตุ้นเศรษฐกิจฐานรากได้ตามความตั้งใจ
โดยโครงการนี้ 'ไม่อนุญาต' ให้ร้านค้าขนาดใหญ่ และโมเดิร์นเทรด
เข้ามาสร้างความได้เปรียบแก่ผู้ประกอบการขนาดเล็ก และภาครัฐ
กำลังพิจารณาที่จะเปิดรอบ 3 เพิ่มขึ้นอีกในช่วงปลายปี
.
[ โอกาส E-Commerce ไทย ]
สำหรับผู้ที่อ่านมาถึงตรงนี้แล้วขอให้ลองคิดตามนะครับ ว่ารัฐตอนนี้
ได้ทำให้คน 12 ล้านคนยอมรับและคุ้นเคยกับการใช้ cashless
มากขึ้น และเช่นเดียวกันผู้ค้ากว่า 600,000 รายก็เข้ามาอยู่ในระบบ
ดิจิตอล ดังนั้นสิ่งที่รัฐมีมากมายคือ ‘Data ข้อมูล'
.
ลองจินตนาการต่อไปว่าในอนาคต หากรัฐเปิดโอกาสให้เราคนไทย
เสนอขายสินค้าโดยตรงกับผู้บริโภคตามฐานข้อมูลที่รัฐมี และรัฐยัง
ช่วยสนับสนุนด้วยโปรโมชั่นต่างๆรวมถึงบริการส่งของผ่าน
ไปรษณีย์ไทย...นี่อาจจะเป็นจุดเริ่มต้นของ e-commerce platform
ของไทยที่เรารอคอย
.
โดยสรุปคือข้อมูลเหล่านี้ มีประโยชน์อย่างมากต่อการนำมาพัฒนา
E-commerce Platform ต่อในอนาคต นอกจากทำให้เงินไม่ไหลไป
แพลตฟอร์มต่างประเทศแล้ว ยังช่วยให้สินค้าไทยมีพื้นที่ตลาด
ที่ชัดเจนของเราเอง ข้อมูล data พฤติกรรมคนไทยไม่รั่วไหล
ไปสู่ต่างชาติ รวมถึงสามารถช่วยประเทศไทยให้เข้าสู่ระบบ
Cashless Society
.
[ ความท้าทายของภาครัฐ และระบบราชการ ]
ปัญหาหนึ่งของรัฐไทยคือการทำงานแบบ ‘silo’ คือต่างคนต่างทำ
อย่างกรณีนี้ข้อมูล ‘คนละครึ่ง’ อยู่ที่กระทรวงการคลัง แต่ผู้ที่มี
พันธกิจสร้าง e-commerce platform คือ กระทรวงดิจิตอล
และกระทรวงพาณิชย์ ดังนั้นการขับเคลื่อนจึงต้องมีวิสัยทัศน์และ
ยุทธศาสตร์จากส่วนกลางที่ชัดเจนกว่านี้
.
.
#ไทยจะดีกว่าถ้ากล้าลงมือทำ
 

logoline

ข่าวที่น่าสนใจ