ข่าว

อ.เจษฎา คาดการเม็ดใสใสในเห็ดหูหนูที่แท้คืออะไรกันแน่ เตือนไม่ควรชิมเล่น

เกาะติดข่าวสาร >> คมชัดลึก ออนไลน์
logoline

อ.เจษฎา เด่นดวงบริพันธ์ อาจารย์ประจำภาควิชาชีววิทยา คณะวิทยาศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย คาดการเม็ดใสใสในเห็ดหูหนูที่แท้คืออะไรกันแน่ เตือนไม่ควรชิมเล่น

กรณีที่มีการแชร์ในโลกออนไลน์ จากสมาชิกเฟซบุ๊กท่านหนึ่งซึ่งเธอระบุว่า ได้ชิมเม็ดใสใสในเห็ดหูหนู หลังจากที่เธอทดลองเลี้ยงในกล่องพลาสติก ทว่าผ่านมาประมาณ 1 สัปดาห์กว่า ๆ กลับมีเม็ดเจลใสๆ เกิดขึ้นมา เธอจึงตั้งข้อสงสัยว่า เป็นเพราะอะไรกันแน่

 

 

อ.เจษฎา คาดการเม็ดใสใสในเห็ดหูหนูที่แท้คืออะไรกันแน่ เตือนไม่ควรชิมเล่น

 

เกี่ยวกับเรื่องนี้ อ.เจษฎา เด่นดวงบริพันธ์ อาจารย์ประจำภาควิชาชีววิทยา คณะวิทยาศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย ก็ได้นำเรื่องนี้มาแชร์พร้อมกับอธิบายคาดว่า อาจจะเป็น ไรไข่ปลา บนเห็ดหูหนู

 

โดยทาง อ.เจษฎา เด่นดวงบริพันธ์ คาดว่าน่าจะเป็น "ไรไข่ปลา" สัตว์จำพวกไร (mite) อีกชนิดหนึ่งที่พบว่าเป็นศัตรูสำคัญของการเพาะเลี้ยงเห็ดหูหนู โดยมันอยู่ในระยะที่กำลังกินอาหาร และตั้งท้อง กำลังจะออกลูก เลยดูลักษณะเป็นเม็ดกลมใสคล้ายไข่ปลา จากที่หาข้อมูล ไม่พบว่ามันมีพิษอะไรที่คนกินเข้าไปจะเป็นอันตราย แต่ก็คงไม่น่าจะเอามากิน เพราะก็อาจจะมีเชื้อโรคติดมากับตัวมันก็ได้จึงไม่ควรชิมเล่น

 

สำหรับ ไรไข่ปลา หรือ mushroom mite (ชื่อวิทยาศาสตร์ Luciaphorus perniciosus Rack) เป็นศัตรูที่สำคัญมากของเห็ดหูหนู สามารถเข้าทำลายก่อให้เกิดความเสียหายได้ทุกระยะของการเพาะเห็ด ทำให้ผลผลิตลดลงอย่างมาก เนื่องจากเห็ดจะไม่ออกดอก โดยเกาะกินน้ำเลี้ยงทำให้ดอกเห็ดแคระแกรน

 

ไรไข่ปลาสามารถกินเส้นใยเห็ดขอนขาว เห็ดหูหนู เห็ดกระด้าง เห็ดหลินจือและเห็ดเข็มเงิน แต่ไม่สามารถกินเส้นใยเห็ดนางฟ้า เห็ดนางรม เห็ดนางรมภูฏาน เห็ดนางรมฮังการี เห็ดเป๋าฮื้อ เห็ดหอมและเห็ดแครง

 

ไรไข่ปลาในระยะก่อนท้อง จะเป็นระยะแพร่พันธุ์ สามารถแพร่กระจายสู่ภายนอกและเข้าทำลายก้อนเชื้อเห็ด เนื่องจากไรมีขนาดเล็กมาก จึงมองเห็นเหมือนฝุ่นละอองเกาะอยู่ทั่วๆไป บริเวณปากถุง และชั้นวางถุงเห็ด เมื่อไรไข่ปลาพบแหล่งอาหาร จะเริ่มเกาะนิ่งบริเวณข้างถุง และตั้งท้องออกลูก มองเห็นเป็นเม็ดใสกลมคล้ายไข่ปลา

 

วิธีการควบคุม

 

- ทำความสะอาดตู้เขี่ยเชื้อเห็ดและโรงเรือนให้ปราศจากไรไข่ปลา

 

- ระวังการปนเปื้อนของไรไข่ปลาในทุกขั้นตอน โดยเฉพาะการผลิตหัวเชื้อเห็

 

- ทำลายก้อนเชื้อที่มีไรไข่ปลาโดยนำไปทิ้งให้ห่างจากโรงเรือน ไม่ให้เป็นแหล่งแพร่พันธุ์

 

- หากพบว่ามีไรไข่ปลาเข้าทำลายอยู่ในถุงก้อนเชื้อ ให้พ่นสารไพริดาเบน, อะบาเมคติน, ไตรอะโซฟอส

 

ข้อควรระวัง คือ ใช้พ่นในระยะบ่มเส้นใยเท่านั้น เพื่อไม่ให้พิษของสารฆ่าไรตกค้างในดอกเห็ด

อ่านข่าว : สาเหตุทำไมเท้าหนูน้อยถึงเป็นผิวไหม้ อันตรายมากแค่ไหนหลังสัมผัสกิ้งกือที่ซ่อนในรองเท้า

 

 

 

 

ข้อมูลจากเพจ อ๋อ มันเป็นอย่างนี้นี่เอง by อาจารย์เจษฎ์ , ippc.acfs.go.th

logoline
แท็กที่เกี่ยวข้อง

ข่าวที่น่าสนใจ