ข่าว

หมอประดิษฐ์ชูแก้ความรุนแรงใน รพ. ชี้ความจำเป็น โทษสูงสุด - ไม่รอลงอาญา

เกาะติดข่าวสาร >> คมชัดลึก ออนไลน์
logoline

หมอประดิษฐ์ ประธาน สพศท. ชี้ การก่อเหตุความรุนแรงใน รพ. เป็นปัญหาสังคม ชี้ความจำเป็น โทษสูงสุด - ไม่รอลงอาญา ชูทุกภาคส่วนในสังคมล้วนเป็นส่วนสำคัญในการแก้ปัญหานี้

นายแพทย์ ประดิษฐ์ ไชยบุตร ประสาทศัลยแพทย์ รพ.ราชบุรี ประธานสมาพันธ์แพทย์โรงพยาบาลศูนย์/โรงพยาบาลทั่วไป (สพศท.) โพสต์เฟซบุ๊ก Pradit Chaiyabud ระบุ การก่อเหตุความรุนแรงในโรงพยาบาลเป็นปัญหาสังคม ตั้งคำถามถึงโทษกรณีการก่อเหตุความรุนแรงในโรงพยาบาล หากศาลลงโทษสูงสุดตามที่บัญญัติไว้ในกฎหมาย ไม่มีการลดหย่อนโทษ ไม่มีการรอลงอาญา น่าจะเป็นหนึ่งในแนวทางการแก้ปัญหาหลังเกิดเหตุ ป้องปรามไม่ให้เอาเยี่ยงอย่าง ซึ่งจำเป็น ส่วนวิธีการป้องกันไม่ให้เกิดเหตุที่สามารถทำได้ทันที คือ การจำกัดการเข้าพื้นที่โรงพยาบาลของผู้ที่ไม่ได้เป็นผู้ป่วย / ญาติ / ผู้ที่เกี่ยวข้อง ชี้ ทุกภาคส่วนในสังคมล้วนเป็นส่วนสำคัญในการแก้ปัญหานี้

 

ปัญหาสังคม เหตุการณ์ก่อความรุนแรงในโรงพยาบาล เป็นข่าวอีกแล้ว กรณีสดๆ ร้อนๆ คือ รุมตื้บหมอ - พยาบาลที่สมุทรปราการ (19 กรกฎาคม 2563) ทั้งๆ ที่รัฐมนตรีว่าการกระทรวงสาธารณสุข (15 ธันวาคม 2562) แถลงข่าว “เชื่อว่า จากนี้จะไม่มีเหตุความรุนแรงเกิดขึ้นในสถานพยาบาลอีก” หลังจากศาลจังหวัดอ่างทองพิพากษาจำคุกผู้ก่อเหตุตีกันในโรงพยาบาลอ่างทอง (13 ธันวาคม 2562) ซึ่งก่อนหน้านี้ ศาลจังหวัดนครพนมก็มีคำพิพากษาจำคุกผู้ก่อเหตุตีกันในโรงพยาบาลนครพนมมาแล้ว (18 เมษายน 2562)

โทษน้อยไปหรือเปล่า ? เพิ่มโทษอีก หรือออกกฎหมายเฉพาะมาเลยดีไหม ? อันนี้ก็ต้องดูความเห็นของนักกฎหมายกันว่าเป็นไปได้หรือเปล่า ? จะช่วยลดการก่อเหตุได้ไหม ? เท่าที่ดูกฎหมายปัจจุบันแล้ว โทษก็ไม่น้อย ถ้าจะขอความร่วมมือกับทางศาล โดยขอไม่ให้มีการรอลงอาญา ให้ลงโทษสูงสุดตามที่บัญญัติไว้ในกฎหมาย และไม่ให้มีการลดหย่อนโทษ น่าจะเป็นไปได้ง่ายกว่าการแก้ / ร่างกฎหมายใหม่ หรือไม่ ?

 

การบังคับใช้กฎหมายก็เป็นหนึ่งในแนวทางการแก้ปัญหาการก่อเหตุรุนแรงในโรงพยาบาล เป็นกระบวนการหลังเกิดเหตุ เป็นการป้องปรามไม่ให้เอาเยี่ยงอย่าง ซึ่งจำเป็น แต่มาตรการป้องกันไม่ให้เกิดเหตุ ไม่ให้เกิดความเสียหาย / ผู้เสียหาย หรือผู้สูญเสีย สำคัญที่สุด

จากสถิติที่รวบรวมโดยสมาพันธ์แพทย์โรงพยาบาลศูนย์ / โรงพยาบาลทั่วไป พบว่า ผู้ก่อเหตุความรุนแรงในโรงพยาบาล ประมาณ 70% ไม่ได้เป็นผู้ป่วย / ญาติ แต่เป็นบุคคลอื่น เป็นเพื่อนฝูง / พวกพ้องของผู้ป่วย หรือ คู่กรณี / คู่อริ หรือเป็นใครก็ไม่รู้

ดังนั้น เราสามารถลดการเกิดเหตุการณ์ความรุนแรงได้ทันที และได้มากถึงร้อยละ 70 โดยการจำกัดการเข้าพื้นที่โรงพยาบาล (หรือพื้นที่เสี่ยงของโรงพยาบาล) ของผู้ที่ไม่ได้เป็นผู้ป่วย / ญาติ / ผู้ที่เกี่ยวข้อง (restrict public access) ... ชวนทำกันได้เลยครับ

 

ทุกปัญหามีสาเหตุ / มีปัจจัยส่งเสริมให้เกิด การแก้ปัญหาที่ดีที่สุด คือ การแก้ที่ต้นเหตุ และลดปัจจัยนั้นๆ ลง ความรุนแรงในโรงพยาบาลไม่ได้เป็นเพียงปัญหาของโรงพยาบาล แต่เป็นปัญหาสังคม สังคมที่ชอบใข้ความรุนแรงแก้ปัญหา ใช้ความรุนแรงเป็นการระบายความไม่พึงพอใจ / ความโกรธ / ความเกลียด (ไม่ว่าจะเป็นความรุนแรงทางวาจา ทางกาย หรือการแสดงออกทางสื่อ)

ความรุนแรงแก้ปัญหาไม่ได้ มีแต่จะสร้างปัญหาใหม่ ทุกภาคส่วนในสังคมล้วนเป็นส่วนสำคัญในการแก้ปัญหานี้

 

* บุคลากรทางการแพทย์ต้องเฝ้าระวัง / ตื่นตัวถึงความเสี่ยงที่จะเกิดขึ้นระหว่างปฏิบัติงาน และต้องไม่ยอมรับการถูกกระทำใดๆ ที่ใช้ความรุนแรง

* องค์กรทางวิชาชีพและผู้บริหารต้องมีนโยบาย / สอดส่อง / ส่งเสริมให้มีการลดปัจจัยเสี่ยงต่างๆ ในการปฏิบัติงานของบุคลากร (ความแออัด / ภาระงาน / สิ่งแวดล้อม / การสื่อสาร / ...) รวมทั้งปฏิรูปความสัมพันธ์ระหว่างผู้ป่วยกับแพทย์ (ทั้งนิตินัย / พฤตินัย) ไปสู่การพึ่งพากัน / ช่วยเหลือเกื้อกูล ไม่ใช่ผู้ซื้อกับผู้ขายบริการ

* รัฐต้องนำสังคมไทยไปสู่สังคมที่ไม่ยอมรับ / ไม่นิยมความรุนแรง ทุกคนต้องช่วยกัน

 

อ่านข่าว - สั่งยุติคดี บอส อยู่วิทยา ที่แท้น้องชายเนวิน พล.ต.ท.เพิ่มพูน ชิดชอบ

 

ปัญหาสังคม

 

ปัญหาสังคม

 

ปัญหาสังคม

 

CR : Pradit Chaiyabud

 

logoline
แท็กที่เกี่ยวข้อง

ข่าวที่น่าสนใจ