ข่าว

สมาคมทนายความ ตั้งข้อสงสัย 8 ข้อ คำสั่งไม่ฟ้อง" บอส อยู่วิทยา"

เกาะติดข่าวสาร >> คมชัดลึก ออนไลน์
logoline

สมาคมทนายความ ตั้งข้อสงสัย 8 ข้อ คำสั่งไม่ฟ้อง" บอส อยู่วิทยา" สมาคมทนายความ ตั้งข้อสงสัย 8 ข้อ คำสั่งไม่ฟ้อง" บอส อยู่วิทยา" สมาคมทนายความ ตั้งข้อสงสัย 8 ข้อ คำสั่งไม่ฟ้อง" บอส อยู่วิทยา" เรียกร้องเปิดเผยรายละเอียดของคดีทั้งหมด

สมาคมทนายความแห่งประเทศไทย ได้ออกมาตั้งข้อสงสัยจำนวน 8 ข้อ ในคดี “บอส”หรือ“นายวรยุทธ อยู่วิทยา” ที่สังคมตั้งข้อสงสัย  โดยมีเนื้อหาดังนี้

สมาคมทนายความแห่งประเทศไทย ขอเรียนว่า แม้อัยการจะมีอำนาจตามกฎหมายในการสั่งไม่ฟ้องในเรื่องนี้ แต่เนื่องจากคดีนี้เป็นคดีที่ประชาชนให้ความสนใจและติดตามความคืบหน้ามาโดยตลอด จึงอยากตั้งข้อสังเกตุที่น่าสนใจเกี่ยวกับพฤติกรรมแห่งคดีและข้อพิรุธต่างๆเกี่ยวกับคดี ดังนี้

1.(ทำไมชนแล้วหนี) ภายหลังเกิดเหตุผู้ต้องหาได้ขับหนีทันทีโดยไม่ได้ลงมาช่วยเหลือหรือดูแลคนตายแต่อย่างใด ซึ่งหากความผิดเกิดจากการกระทำของคนตาย ก็ไม่มีเหตุอะไรที่จะต้องขับหนีในทันที

2. (เมาแล้วขับ) ผู้ต้องหาอยู่ในอาการมึนเมาสุราเพราะมีข้อหาเมาแล้วขับ

3.(พยายามหนีความผิด) มีการพยายามเปลี่ยนตัวผู้ต้องหาโดยให้"คนใช้"มาอ้างว่าเป็นคนขับแต่ไม่สำเร็จ

4. (คดีไม่มีข้อยุ่งยาก ไม่ซับซ้อน) สำนวนเดิมที่อัยการสั่งฟ้อง บนพื้นฐานของพยานหลักฐานทั้งพยานบุคคลและพยานทางวิทยาศาสตร์อย่างครบถ้วน เพียงพอในการฟ้องคดีต่อศาล

5. (คดีล่าช้า) การดำเนินการสอบสวนล่าช้า ประวิงคดี สังเกตุได้จาก ผู้ต้องหาขอเลื่อนนัดมากกว่า 5 ครั้ง อ้างว่าอยู่ต่างประเทศ แต่ตำรวจก็เพิกเฉยไม่ได้เร่งรัดติดตาม จนทำให้คดีขาดอายุความหลายข้อหา

6. (ที่มาของคำสั่งไม่ฟ้อง) กระบวนการช่วยเหลือและต่อสู้ในเรื่องการขอความเป็นธรรมให้ผู้ต้องหา จนนำไปสู่คำสั่งไม่ฟ้องของอัยการและตำรวจไม่คัดค้าน ทั้งๆที่ผู้ต้องหาได้หลบหนีตั้งแต่เหตุเกิดไม่ได้อยู่ในประเทศไทยถึง 8 ปี

7. ไม่มีการชี้แจงถึงเหตุผล และรายละเอียดในการสั่งไม่ฟ้องคดี โดยกล่าวอ้างลอยๆ ว่าหลักฐานไม่เพียงพอที่จะสามารถหักล้างจากสำนวนเดิมที่อัยการสั่งฟ้องไว้แล้วแต่อย่างใด

8. เมื่อวันที่ 18 มิถุนายน 2563 มีคำสั่งไม่ฟ้องคดีแต่อัยการไม่ได้แถลงข่าวในเรื่องนี้ให้สื่อมวลชนได้รับทราบ แต่การรับทราบข่าวเรื่องนี้เกิดจากสื่อมวลชนต่างประเทศนำมาเผยแพร่เมื่อวันที่ 23 กรกฎาคม 2563

จากข้อสังเกตุที่ตั้งไว้ในเบื้องต้นจะเห็นได้ว่า คำสั่งไม่ฟ้องของพนักงานอัยการจะเป็นที่เคลือบแคลงสงสัยของประชาชนในการใช้อำนาจตามกฎหมาย

ดังนั้นหากอัยการและสำนักงานตำรวจแห่งชาติจะทำให้ประชาชนเชื่อว่า คำสั่งดังกล่าวเป็นคำสั่งที่สุจริตทั้งสองหน่วยงานโดยเฉพาะสำนักงานอัยการสูงสุด จำเป็นต้องเปิดเผยรายละเอียดของคดีทั้งหมดว่ามีพยานหลักฐานครบถ้วนในการสั่งไม่ฟ้องโดยสามารถหักล้างพยานหลักฐานในสำนวนเดิมที่อัยการมีคำสั่งฟ้องตั้งแต่เหตุเกิด และสำนักงานตำรวจแห่งชาติต้องชี้แจงเหตุผลว่าทำไมไม่คัดค้านคำสั่งไม่ฟ้องของอัยการ


 

logoline

ข่าวที่น่าสนใจ