ข่าว

"เฉลิมชัย" ย้ำชัด "เราจะไม่ทิ้งกัน" พร้อมเปิดมาตรการคู่ขนานเพิ่มรายได้

เกาะติดข่าวสาร >> คมชัดลึก ออนไลน์
logoline

"เฉลิมชัย" ย้ำชัด "เราจะไม่ทิ้งกัน" พร้อมเปิดมาตรการคู่ขนานเพิ่มรายได้ ด้าน "อลงกรณ์ "เคลียชัดประเด็น เว็บ ธกส.www.เยียวยาเกษตรกร.com เฉพาะเกษตรกรที่ไม่มีบัญชีกับธกส.

          วันนี้ (8 พ.ค. 63) นายอลงกรณ์ พลบุตร ที่ปรึกษารัฐมนตรีว่าการกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ แถลงข่าว ณ ห้องประชุม 112 กระทรวงเกษตรและสหกรณ์ ว่า จากกรณีที่ธนาคารเพื่อการเกษตรและสหกรณ์การเกษตร (ธ.ก.ส.) ได้เปิดเว็บไซต์ www.เยียวยาเกษตรกร.com โดยเปิดให้เกษตรกรลงทะเบียนเมื่อวันที่ 7 พฤษภาคม 2563 เวลา 20.00 น.ในโครงการช่วยเหลือเกษตรกรที่ได้รับผลกระทบจากการระบาดของโรคติดเชื้อ ไวรัสโคโรนา 2019นั้นมีเกษตรกรจากหลายจังหวัดสอบถามมาด้วยความข้องใจว่าต้องขึ้นทะเบียนเกษตรกรกับธกส.ด้วยหรือ จึงขอชี้แจงว่าเว็ป”เยียวยาเกษตรกร”ของ ธกส.

          ให้เกษตรกรลงทะเบียนว่าจะให้โอนเงินไปเข้าบัญชีธนาคารอะไรในกรณีไม่มีบัญชีธนาคารกับ ธกส.  

         
          สำหรับความคืบหน้าล่าสุดจำนวนเกษตรกรที่ขึ้นทะเบียนซึ่งจะได้รับรายละ 15,000 บาทจ่าย 5,000 บาทต่อเดือน เป็นระยะเวลา 3 เดือน ตั้งแต่ เดือนพฤษภาคม – กรกฎาคม 2563 วงเงิน 150,000 ล้านบาท จำนวนไม่เกิน 10 ล้านราย ประกอบด้วย

1) เกษตรกรเป้าหมายกลุ่มแรก (ข้อมูลสรุป ณ 30 เม.ย. 63) จำนวนไม่เกิน 8.33 ล้านราย  

2) เกษตรกรเป้าหมายกลุ่มที่สอง ได้แก่ เกษตรกรที่อยู่ระหว่างการขึ้นทะเบียน ซึ่งจะหมดเขต วันที่ 15 พ.ค. 63 จำนวนไม่เกิน 1.67 ล้านราย โดยท่านรัฐมนตรีเกษตรฯ.ได้กำชับทุกหน่วยงานในกระทรวงเกษตรฯทุกพื้นที่เร่งการขึ้นทะเบียนและการตรวจสอบเพื่อไม่ให้มีการตกหล่นและจะไม่ทิ้งใครไว้ข้างหลัง ให้เกษตรกรไทยผ่านพ้นวิกฤติในครั้งนี้ โดยธกส.จะโอนเงินให้เกษตรกรที่ขึ้นทะเบียนตั้งแต่วันที่15พ.ค.เป็นต้นไป

          นายอลงกรณ์ กล่าวเพิ่มเติมว่า ตามที่นายกรัฐมนตรี พลเอกประยุทธ์ จันทร์โอชา และรัฐมนตรีว่าการกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ ดร.เฉลิมชัย ศรีอ่อนได้มีความห่วงใยและกำชับให้ดูแลพี่น้องเกษตรกร เพราะนอกเหนือจากสถานการณ์โควิด-19 แล้ว พี่น้องเกษตรกรยังประสบปัญหาภัยแล้งและอุทกภัย กระทรวงเกษตรฯ จึงมีมาตรการต่าง ๆ เข้ามาช่วยเหลือพี่น้องเกษตรกรนอกเหนือจากมาตรการเยียวยาในช่วงโควิด-19 เช่น ในส่วนของกรมประมง จะมีการแจกจ่ายปลานิลแปลงเพศ ประมาณ 44,000 ราย รายละ 800 ตัว พร้อมอาหารปลาจำนวน 120 กิโลกรัม ซึ่งถือเป็นการเพิ่มรายได้อีกทางหนึ่งให้กับเกษตรกร และ ยังมีการปล่อยกุ้งก้ามกร้าม ตามแหล่งน้ำสาธารณะ 1,436 แห่ง 129 อำเภอ แห่งละ 200,000 ตัว และให้มีการตั้งคณะกรรมการมาดูแลแหล่งน้ำชุมชน เพื่อให้เป็นระบบในการบริหารจัดการแหล่งน้ำร่วมกัน โดยวัตถุประสงค์หลักเพื่อต้องการให้เกษตรกรและคนในชุมชนมีอาหารไว้บริโภคในครัวเรือน และเมื่อเหลือแล้วถึงเอาไปขาย โดยดำเนินการในลักษณะของชุมชน นอกจากนี้ ในส่วนของกรมปศุสัตว์ รัฐบาลได้จัดสรรงบประมาณในการมอบเป็ดไข่ ไก่ไข่ ไก่เนื้อ ประมาณ 77,000 ครอบครัว เพื่อให้เกิดรายได้อีกทางหนึ่งด้วย”


         “นอกจากนี้ กรมประมงเร่งนำเรื่องการกำหนดงดเว้นการเก็บค่าธรรมเนียมในการเพาะเลี้ยงสัตว์น้ำทั่วประเทศ เป็นเวลา 1 รอบการประมง หรือ 2 ปี และโดยจะออกกฎกระทรวงตามมาตรา 6  แห่ง พรก.การประมง อย่างเร่งด่วนเสนอต่อคณะรัฐมนตรีในการออกกฎกระทรวงงดเว้นค่าธรรมเนียมดังกล่าวทั้งระบบเพื่อช่วยเหลือชาวประมงในช่วงวิกฤติ COVID-19 นี้ โดยจะมีเกษตรกรที่ได้รับประโยชน์ทั้งสิ้นกว่า 8,302 ราย รวมพื้นที่กว่า 79 ล้านตารางเมตร”


         “ในกรณีของชาวไร่ มีการสนับสนุนงบประมาณในการปลูกพืชใช้น้ำน้อย เช่น ถั่วเขียว ข้าวโพด มีการจัดสรรให้ 12,000 ครอบครัว เกือบ 100,000 ไร่ นอกจากนี้ ยังมีการจัดสรรเมล็ดพันธุ์ข้าว จำนวนหลายหมื่นตัน โดยให้กรมการข้าวและกรมส่งเสริมสหกรณ์เป็นผู้ผลิตและจัดสรรให้กับเกษตรกร ซึ่งการดำเนินการในลักษณะดังกล่าวจะทำให้เม็ดเงินกลับคืนไปสู่เกษตรกร”นายอลงกรณ์กล่าวในที่สุด

logoline

ข่าวที่น่าสนใจ