
กึ๋นนักสืบ...คลี่ปมฆ่า"หมอนิชรี"
เป็นอีกคดีที่ครึกโครมสะเทือนขวัญและเป็นที่กล่าวขานมาอย่างต่อเนื่อง หนึ่งเพราะเหยื่อฆาตกรรมเป็นถึงแพทย์หญิงคนดังในแวดวงไฮโซ ส่วนผู้จ้างวานฆ่าก็เป็นถึงสมาชิกวุฒิสภา (ส.ว.) หนุ่มนักการเมืองอนาคตไกล แต่สุดท้ายแห่งชีวิตทั้งสองกลับมีจุดจบแทบไม่ต่างกัน ฝ่ายหนึ่
6 โมง วันที่ 25 ตุลาคม 2539 หรือเมื่อ 13 ปีก่อน ขณะที่ พญ.นิชรี มะกรสาร วิสัญญีแพทย์ รพ.จุฬาฯ เดินทางออกจากบ้านพักไปทำงาน มีคนร้ายไม่ต่ำกว่า 3 คนใช้อาวุธปืนออโตเมติกขนาด 11 มม.กระหน่ำยิง 5 นัดจนถึงแก่ความตายในพื้นที่ สน.ห้วยขวาง พล.ต.ท.โสภณ วาราชนนท์ อดีตผู้ช่วยอธิบดีกรมตำรวจ ครั้งยังดำรงตำแหน่งผู้บัญชาการตำรวจนครบาล (ผบช.น.) ได้รับมอบหมายให้คลี่คลายคดีนี้ โดย พล.ต.อ.ประชา พรหมนอก อธิบดีกรมตำรวจ ได้ลงมากำกับดูแลคดีนี้โดยตรง เพราะนอกจากเหยื่อสังหารจะเป็นแพทย์หญิงแล้ว ยังเป็นคนมีหน้ามีตาในวงสังคมชั้นสูงอีกด้วย
พล.ต.ท.โสภณ สั่งระดมชุดสืบสวนมือดีตรวจสอบประวัติมือปืนในพื้นที่กรุงเทพฯ และใกล้เคียงว่า เคยมีใครได้รับการติดต่อว่าจ้างให้ฆ่าหมอนิชรีหรือไม่ ควบคู่ไปกับการหาชนวนเหตุขัดแย้งต่างๆ อันนำมาสู่ฆาตกรรมครั้งนั้น ไม่นานก็ได้เบาะแสจากสายข่าวว่า เคยมีผู้ว่าจ้างให้ จ.ส.อ.คนหนึ่งกับนายมงคล นกทอง หรือหมง ลงมือฆ่าหมอนิชรีมาตั้งแต่ต้นปี 2539 แต่ทั้งสองรู้ดีว่าเหยื่อเป็นคนมีหน้ามีตาในแวดวงสังคมชั้นสูง น่าจะได้รับค่าเหนื่อยมากกว่าที่เสนอ จึงปฏิเสธไม่รับงานครั้งนั้น แล้วแนะนำมือปืนกลุ่มใหม่ให้cdjผู้ว่าจ้าง
"ในวงการมือปืนเขาทราบกันดีว่างานนี้ใครรับใครไม่รับ หลังจากเรารู้ว่ามือปืน 2 คนแรกไม่รับงาน แล้วผู้ว่าจ้างก็ได้รับการแนะนำให้ไปหามือปืนรายใด ในที่สุดเราก็รู้ตัวมือปืนและผู้ร่วมขบวนการทั้งหมด จึงรวบรวมพยานหลักฐานขอหมายจับกุมจากศาล" พล.ต.ท.โสภณ เท้าความหลัง
ผู้ต้องหา 5 คนที่ถูกออกหมายจับ ได้แก่ นายธนศักดิ์ ยิ้มดี นายสราวุธ ไชยสิงห์ นายชัชพัฒน์ กิตติธนากร นายวิเชียร กิตติธนากร และนายสุขุม เชิดชื่น ส.ว.ที่มาจากการแต่งตั้งชุดสุดท้ายในสมัยรัฐบาลนายบรรหาร ศิลปอาชา พล.ต.ท.โสภณ เล่าว่า ครั้งนั้นทุกคนมองว่าคดีนี้จะกลายเป็นมวยล้ม เพราะมีผู้ดำรงตำแหน่งทางการเมืองตกเป็นผู้ต้องหา ส่วนเหยื่อก็เป็นคนมีฐานะทางสังคม แต่ชุดสืบสวนก็มั่นใจในพยานหลักฐานที่มีอยู่ เขาบอกว่าการจับกุมผู้ต้องหาไม่ใช่เรื่องยากเย็นอะไร แต่การสืบหาพยานหลักฐานเชื่อมโยงอันเป็นมูลเหตุแห่งการจ้างวานฆ่ากลับเป็นเรื่องซับซ้อนมากกว่า ทว่าท้ายที่สุดแล้วพนักงานสอบสวนก็สรุปสำนวนส่งอัยการฟ้องศาลได้ ท่ามกลางแรงกดดันทั้งจากฝ่ายผู้เสียหาย สมาคมวิสัญญีแพทย์และสมาคมแพทย์ต่างๆ อีกมากมาย และฝ่ายผู้ต้องหาที่วิ่งเต้นผู้ใหญ่ในวงการเมืองให้ช่วยเหลือ
สำหรับปมเหตุแห่งการจ้างวานฆ่าหมอนิชรีนั้น จากการสืบสวนของตำรวจได้ความว่า นายสุขุมนอกจากจะเป็น ส.ว.อนาคตไกลแล้ว เขายังเป็นนักธุรกิจระดับกลาง ประกอบกิจการร้านอาหารและมีโครงการพัฒนาที่ดินหลายแห่ง ที่สำคัญคือได้รับการสนับสนุนผลักดันจากครอบครัวนักธุรกิจชื่อดัง ส่งวัตถุดิบให้โรงงานผลิตถุงมือยางไปยังประเทศเยอรมนีและอังกฤษ ก่อนจะหันมาร่วมทุนก่อตั้งโรงงานผลิตถุงมือยางสัดส่วนการถือหุ้นครึ่งต่อครึ่ง 1 ปีต่อมาครอบครัวนักธุรกิจที่ว่าถอนหุ้นออกคงเหลือแต่กลุ่มเชิดชื่นที่ยังคงดำเนินการต่อ
นอกจากนี้ กลุ่มเชิดชื่นยังร่วมทำธุรกิจร้านอาหารและเปิดกิจการโรงเรียนโรจน์เสรีอนุสรณ์ โดยแบ่งผู้ถือหุ้นออกเป็น 3 กลุ่ม ได้แก่ กลุ่มฉลวย-พญ.นิชรี มะกรสาร กลุ่มสุวลัย-สุขุม เชิดชื่น และกลุ่มปิฏฑะ-แสงทอง ระหว่างนี้สุขุมเริ่มเข้าไปลงทุนทำธุรกิจร่วมกับตระกูลมะกรสารมากขึ้น โดยเฉพาะธุรกิจพัฒนาอสังหาริมทรัพย์ เช่น โครงการชะอำ รอยัล บีช โครงการพัฒนาที่ดิน จ.เพชรบุรี โดยร่วมลงทุนกับ รศ.ฉลวย มะกรสาร แม่ของหมอนิชรี หรือโครงการรัชดา รอยัล ปาร์ค (สุขุม เชิดชื่นทาวเวอร์) เป็นอาคารสำนักงานสูง 15 ชั้น แต่ทั้งสองโครงการยังไม่เสร็จเรียบร้อย
ขณะเดียวกัน บริษัท สุขุม จำกัด ถูกตั้งขึ้นมาเพื่อเป็นที่ปรึกษาและรับวางแผนงานให้แก่ธุรกิจเรียลเอสเตท เป็นนายหน้าซื้อขายบ้าน-ที่ดิน ธุรกิจขายรถยนต์และให้บริการสินเชื่อลิสซิ่ง ได้แก่ บริษัท ออโต้บาห์น จำกัด นำเข้ารถหรูมีระดับอย่างจากัวร์ เดมเลอร์ เบนซ์ มาจำหน่ายให้แก่นักธุรกิจ โดยเริ่มดำเนินการมาตั้งแต่ปี 2530 ทุนจดทะเบียน 1 ล้านบาท ในส่วนของบริการสินเชื่อลิสซิ่งแก่ธุรกิจรถจักรยานยนต์และรถยนต์ จะใช้บริษัท มิลเลี่ยน กรุ๊ป จำกัด เข้าดำเนินการ โดยบริษัทนี้ยังเข้าไปถือหุ้นในโครงการชะอำ รอยัล บีช อีกด้วย
"สำหรับชนวนเหตุของการจ้างฆ่านั้น ชุดสืบสวนมีข้อมูลว่านายสุขุมมีความขัดแย้งทางธุรกิจกับ รศ.ฉลวย และหมอนิชรีเองก็กำลังตรวจสอบเรื่องการซื้อขายที่ดินใน อ.แก่งกระจาน จ.เพชรบุรี มูลค่าหลายร้อยล้านบาท จนมีเรื่องฟ้องร้องทางแพ่งหลายคดี ประกอบกับคนที่ได้รับการติดต่อให้ไปฆ่าหมอนิชรีครั้งแรก เบิกความยืนยันว่านายสุขุมเคยใช้จ้างวานให้ไปฆ่าหมอนิชรีในงานเลี้ยงครบรอบ 50 ปี โรงเรียนโรจน์เสรีอนุสรณ์ ที่ รร.เอเชีย แต่ทั้งสองไม่ได้รับงาน ที่สำคัญก่อนเกิดเหตุหมอนิชรีเคยพูดกับเพื่อนร่วมงานว่า หากเป็นอะไรไปให้เชื่อว่าเป็นฝีมือของนายสุขุม ตอนนั้นกว่าจะได้ประเด็นเหล่านี้มาเรียกว่าเป็นความสามารถของชุดสืบสวนจริงๆ ไม่มีเทคโนโลยีมาช่วยเหมือนปัจจุบัน" พล.ต.ท.โสภณ ย้ำ
ประหารสถานเดียว
พนักงานอัยการฝ่ายคดีอาญา 2 และ พล.อ.ต.สมิทธิ์ มะกรสาร บิดาของ พญ.นิชรี มะกรสาร วิสัญญีแพทย์ รพ.จุฬาฯ ได้ร่วมกันเป็นโจทก์ยื่นฟ้องนายธนศักดิ์ ยิ้มดี อายุ 37 ปี นายสราวุธ ไชยสิงห์ อายุ 36 ปี นายชัชพัฒน์ กิตติธนากร นายวิเชียร กิตติธนากร อายุ 49 ปี และนายสุขุม เชิดชื่น อดีต ส.ว.วัย 52 ปี เป็นจำเลยที่ 1-5 ในความผิดฐานจ้างวานใช้และร่วมกันฆ่า พญ.นิชรี โดยเจตนาและไตร่ตรองไว้ก่อน, กระทำผิด พ.ร.บ.อาวุธปืน ปลอมและใช้เอกสารราชการปลอม ระหว่างการพิจารณาคดีนายชัชพัฒน์เสียชีวิตลง ศาลจึงสั่งจำหน่ายคดีในส่วนนี้ จากนั้นวันที่ 6 กรกฎาคม 2547 หรือ 8 ปีให้หลัง ศาลชั้นต้นจึงมีคำพิพากษาออกมา
โดยศาลพิเคราะห์พยานหลักฐานแล้วเห็นว่า จำเลยที่ 1, 2 และ 4 กระทำผิดหลายกรรมให้ลงโทษทุกกรรม ฐานฆ่าผู้อื่นโดยเจตนาและไตร่ตรองไว้ก่อน และมีความผิดตาม พ.ร.บ.อาวุธปืน ให้ประหารชีวิตจำเลยที่ 1, 2 และ 4 แต่คำให้การในชั้นสอบสวนเป็นประโยชน์ต่อการพิจารณาคดี จึงเห็นควรลดโทษให้กึ่งหนึ่ง คงจำคุกทั้งสามตลอดชีวิต ส่วนจำเลยที่ 5 มีความผิดฐานจ้างวานฆ่าผู้อื่นโดยไตร่ตรองไว้ก่อน เสมือนเป็นตัวการฆ่า พิพากษาให้ประหารชีวิตสถานเดียว ต่อมาจำเลยทั้ง 4 ได้ยื่นอุทธรณ์ ศาลได้พิจารณาตรวจสอบสำนวนและพยานหลักฐาน ที่จำเลยยื่นมาอย่างต่อเนื่องติดต่อกัน
กระทั่งวันที่ 26 มิถุนายน 2552 ศาลอาญาได้อ่านคำพิพากษาของศาลอุทธรณ์ในคดีข้างต้น โดยพิจารณาแล้วเห็นควรพิพากษายืนตามศาลชั้นต้น !?!