
ยะรัง-ปัตตานี เมืองโบราณแห่งคาบสมุทรมลายู
แม้จะไม่ได้เป็นข่าวครึกโครมเหมือนเมื่อก่อน แต่ความไม่สงบในภาคใต้ก็ยังดำเนินต่อไป หลังคาร์บอมบ์ครั้งล่าสุดที่ยะลา มีการบุกเข้าตรวจค้นสถานที่แห่งหนึ่งบริเวณสวนยางพาราใน อ.ยะรัง จ.ปัตตานี พบอาวุธและเครื่องยังชีพ แต่ยังจับมือใครดมไม่ได้ เป็นที่น่าเสียดายยิ่งน
พื้นที่ จ.ปัตตานีนั้นเป็นที่รู้กันทั่วไปว่า เดิมเป็น “รัฐอิสลาม” ที่เก่าแก่ที่สุดแห่งหนึ่งในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ มีศาสนสถานมากมายกระจายตัวอยู่ทั่วไป ซึ่งเป็นสิ่งที่ชี้ให้เห็นถึงการเป็นเมืองโบราณขนาดใหญ่ และมีการอยู่อาศัยอย่างต่อเนื่องยาวนาน
ส่วน อ.ยะรัง ซึ่งปัจจุบันเป็นอำเภอหนึ่งใน จ.ปัตตานี ก็เป็นพื้นที่ซึ่งปรากฏร่องรอยของชุมชนโบราณ และแหล่งโบราณคดีต่างๆ อย่างหนาแน่น นักวิชาการทั้งชาวไทยและต่างประเทศมีความเห็นตรงกันว่า ชุมชนโบราณในท้องถิ่นนี้มีพัฒนาการมากว่าพันมาปีแล้ว โดยน่าจะเริ่มตั้งแต่พุทธศตวรรษที่ 11-12 และมีความสัมพันธ์กับรัฐปัตตานีอย่างแน่นอน
ผู้เชี่ยวชาญทางด้านภาษาและวัฒนธรรมภาคใต้ ระบุว่า “ยะรัง” น่าจะกลายเสียงมาจาก “จฆัร” หรือ “ยือแฆ” (Cegar) ในภาษามลายู หมายถึง “น้ำไหลเชี่ยว” หรือ “ระมัดระวัง” ซึ่งอาจมาจากสภาพภูมิประเทศของพื้นที่ดังกล่าว แต่บางท่านก็ว่ามาจาก “ยือลีมอ” ซึ่งแปลว่า “ผลทับทิม” เท็จจริงประการใดไม่ทราบได้ คงต้องอาศัยผู้รู้ในท้องถิ่นช่วยไขปริศนากันต่อไป
แต่เรื่องจริงที่ไม่ต้องรอการพิสูจน์ก็คือ เสียงระเบิด และความร้อนรุ่มของไฟใต้ มีผลทำให้การศึกษาแหล่งโบราณคดีและชุมชนโบราณในพื้นที่ 3 จังหวัดชายแดนภาคใต้ ยังคงล้าหลัง หากเทียบกับพื้นที่อื่นๆ ของประเทศไทย คงได้แต่หวังให้เสียงปืนแต่ละนัดที่ได้ยินเป็นเสียงปืนนัดสุดท้าย ขอให้ความสงบเกิดขึ้นโดยเร็วไว
ภาพนักโบราณคดีถือเกรียงลงขุดค้นในพื้นที่ คงให้ความรู้สึกที่ดีกว่าทหารถือปืนอารักขาชาวบ้านที่อกสั่นขวัญแขวนเป็นไหนๆ
"เรือนอินทร์ หน้าพระลาน"