ข่าว

"เชีย"ยอดธัญพืชมากประโยชน์!

"เชีย"ยอดธัญพืชมากประโยชน์!

03 ก.ย. 2559

โดย - นายสวีสอง

 

\"เชีย\"ยอดธัญพืชมากประโยชน์!

 

         เชื่อว่าหลายคนคงรู้จัก เมล็ดเชีย (Chia Seed) หรือ เมล็ดเจีย กันมาบ้างแล้ว จากสรรพคุณหลายข้อของเมล็ดที่ดีต่อสุขภาพทั้งช่วยป้องกันโรคและดูแลสุขภาพของเราให้แข็งแรง โดยเฉพาะเรื่องการลดน้ำหนัก แต่อาจยังไม่รู้กันว่าธัญพืชสายพันธุ์ต่างชาตินี้มีประโยชน์แอบซ่อนอยู่อีกมาก

         เป็นพืชในกลุ่มเครื่องเทศ ตระกลูเดียวกับ มินต์ (Mint) ชื่อมาจากภาษาลาติน " Salare" หมายถึง "Save" ชื่อทางวิทยาศาสตร์ Salvia Hispanica L มีกำเนิดตอนกลางและใต้ประเทศเมกซิโก และกัวเตมาลา จากหลักฐานทางโบราณคดีได้มีการค้นพบว่าเป็นพืชที่มีมานานแล้วกว่า 3,500 ปีก่อนสมัยคริสตกาล

 

\"เชีย\"ยอดธัญพืชมากประโยชน์!

 

         มีขนาดลำต้นสูงประมาณ 4-6 ฟุต สามารถปลูกได้ดีในบริเวณที่มีอากาศหนาว ปลูกกันมากในแถบทวีปอเมริกา ลักษณะของเม็ดเป็นเม็ดเล็กๆ มีเปลือกนอกที่สามารถพองตัวได้เหมือนกับเม็ดแมงลัก ในประเทศไทยพบปลูกบ้างบริเวณ จ.ลำปาง กาญจนบุรี เป็นพืชตระกูลเดียวกันกับมินต์หรือกระเพรา

         ความแตกต่าง : ของเมล็ดเชียกับเม็ดแมงลัก โดยทั่วไปหากดูแบบผิวเผินก็จะคิดว่าเมล็ดเชียคือเม็ดแมงลัก แต่สามารถแยกออกได้ด้วยการสังเกตลักษณะ โดยเมล็ดเชียจะมีลักษณะเรียวรี มีสีน้ำตาลเทา หากนำไปแช่น้ำจะพองตัวมีลักษณะใส ส่วนเม็ดแมงลักมีสีดำเข้ม หากนำไปแช่น้ำก็จะเกิดการพองตัวเช่นกัน แต่จะมีเมือกขาวขุ่นออกมาด้วย

         สารอาหารในเมล็ดเชีย 28 กรัม/1 ออนซ์ มีพลังงานอยู่ทั้งหมดประมาณ 137 กิโลแคลอรี พลังงานจากคาร์โบไฮเดรต 50 กิโลแคลอรี พลังงานจากไขมัน 72.1 กิโลแคลอรี พลังงานจากโปรตีน 15.2 กิโลแคลอรี แบ่งส่วนประกอบได้ดังนี้ คาร์โบไฮเดรต 12.3 กรัม โปรตีน 4.4 กรัม ใยอาหาร 10.6 กรัม ไขมันทั้งหมด 8.6 กรัม (แบ่งเป็นไขมันอิ่มตัว 0.9 กรัม ไขมันไม่อิ่มตัวเชิงเดี่ยว 0.6 กรัม ไขมันไม่อิ่มตัวเชิงซ้อน 6.5 กรัม) แคลเซียม 177 มิลลิกรัม ฟอสฟอรัส 265 มิลลิกรัม โพแทสเซียม 44.8 มิลลิกรัม โซเดียม 5.3 มิลลิกรัม สังกะสี 1.0 มิลลิกรัม ทองแดง 0.1 มิลลิกรัม แมงกานีส 10.6 กรัม น้ำ 1.4 กรัม โอเมก้า 3 สูงกว่าปลา 8 เท่า (หากเทียบที่น้ำหนักเท่ากัน)

 

\"เชีย\"ยอดธัญพืชมากประโยชน์!

 

         เป็นเมล็ดพืชที่ให้พลังงานสูงมากเพราะมีวิตามินและแร่ธาตุ ไฟเบอร์ มีโปรตีนสูงถึง 30 เปอร์เซนต์ แคลเซี่ยม 5 เท่าของนม เป็นพืชเก่าแก่ที่อุดมไปด้วย โอเมก้า 3 โอเมก้า 6 โอเมกา 3 และ 6 ช่วยในเรื่องระบบหัวใจและหลอดเลือด อีกทั้งยังมีเส้นใยโปรตีน สารต้านอนุมูอิสระแร่ธาตุและวิตามินต่างๆ

         การค้นพบอีกอย่างคือ เมล็ดเชีย นั้นมีประโยชน์ต่อร่างกาย ช่วยเคลือบกระเพาะอาหารในรูปแบบของเจล เจลนี้ชลอกระบวนการเปลี่ยนแป้งให้เป็นน้ำตาล อีกทั้งยังช่วยสร้างเนื้อเยื่อและกล้ามเนื้อ มีโปรตีนและโบรอน ซึ่งโบรอนนี้ช่วยในกระบวนการดูดซึมแคลเซียม 

         เป็นแหล่งสารโอเมก้า 3 ชนิด α-Linolenic acid (ALA) ที่สำคัญ ซึ่งเป็นกรดไขมันจำเป็นต่อการทำงานของระบบหลอดเลือดและหัวใจ ตลอดจนระบบภูมิคุ้มกันของร่างกาย (immune system) นอกจากนี้ยังมีวิตามิน เกลือแร่ และสารต้านอนุมูลอิสระสูง

 

\"เชีย\"ยอดธัญพืชมากประโยชน์!

 

         คุณสมบัติพิเศษอีกอย่าง คือ การดูดซับน้ำของเส้นใย (soluble fiber) และเกิดปฏิกิริยาการเปลี่ยนรูปเป็นเจล (gel-forming reaction) ซึ่งนักวิจัยระบุว่าปฏิกิริยาดังกล่าวเป็นปฏิกิริยาเดียวกับที่เกิดในกระเพาะอาหาร หรือที่รู้จักกันในชื่อ Mucilage ซึ่งจะเป็นตัวขัดขวางการทำงานของเอนไซม์ในการย่อยสลายคาร์โบไฮเดรต ชะลอปฏิกิริยาการเปลี่ยนแป้งเป็นน้ำตาล

คุณค่าทางโภชนาการ :

- มีโปรตีนร้อยละ 23 น้ำมันร้อยละ 34 และใยอาหารร้อยละ 25 ไม่มี Gluten ทำให้เหมาะกับผู้เป็นโรคแพ้ gluten 

- ดูดซับน้ำได้ดี ชะลอการดูดซึมคาร์โบไฮเดรต ทั้งยังช่วยในการดูดซึมสารอาหารที่จำเป็น

 

\"เชีย\"ยอดธัญพืชมากประโยชน์!

 

- เป็นแหล่งของโปรตีน ที่ร่างกายนำไปใช้ได้ทันที ทำให้สามารถสร้างเนื้อเยื่อในร่างกายได้อย่างมีประสิทธิภาพ 

- เหมาะกับเด็กและวัยรุ่น สตรีมีครรถ์ นักกีฬา และช่วยในการเพิ่มกล้ามเนื้อ มีไขมันและกรมโอเมก้า 3 ไขมันเหล่านี้เป็นกรดไขมันอิ่มตัวที่จำเป็นต่อร่างกาย ช่วยดูดซึมวิตามิน D E และK ซึ่งละลายได้ดีในไขมัน ซึ่งไขมันเหล่านี้ร่างกายไม่สามารถสร้างเองได้ นอกจากนี้ยังมีโบรอน ซึ่งช่วยในการดูดซึมแคลเซียม

- เป็นธัญญพืชที่ให้สารอาหารที่จำเป็นต่อร่างกาย และใช้ในการรักษาโรคมะเร็ง ทั้งยังอุดมไปด้วยวิตามิน บี 17

- ให้คุณค่ามากในแง่ของพลังงาน ไม่มีไขมัน ดังนั้นจึงไม่ทำให้อ้วน

 

\"เชีย\"ยอดธัญพืชมากประโยชน์!

 

สรรพคุณ : -
- เป็นธัญญพืชที่ให้พลังงาน และมีคุณค่าทางอาหารสูง สามารถกินเมล็ดที่พองตัวแล้วอย่างเดียวได้ โดยไม่กินอาหารอื่น
- อุดมไปด้วยโปรตีน 
- แมกนีเซียม
- แคลเซียม สามารถใช้สำหรับป้องกัน หรือการย้อนกลับของโรคกระดูกพรุน
- มี โอเมก้า 3 ทำให้ผิวดี ชุ่มชื้นไม่แตกแห้ง ผมมีสภาพดี บำรุงสมอง จนถึงเซลล์ของร่างกาย 
- มีโบรอนที่เป็นสิ่งจำเป็นสำหรับกระดูก 
- ทำหน้าที่เป็นตัวประสานแป้ง กับกรดน้ำย่อย ช่วยย่อยอาหารได้สมบูรณ์แบบต่อเนื่อง และค่อยๆเปลี่ยนแป้งเป็นน้ำตาล (ซึ่งกรณีนี้ดีสำหรับคนเป็นเบาหวาน) และทำให้ร่างกายได้รับผลต่อเนื่องในพลังงานนานขึ้น
- กากใยอาหารทำให้ท้องไม่ผูก ป้องกันการเป็นโรคหัวใจล้มเหลว แก้ไขปัญาหาไขมันตีบตัน และช่วยปรับระบบน้ำตาลในโรคเบาหวานให้ดีขึ้น โดยการปรับกรดอินสุลินออกมปรับสภาพน้ำตาลในร่างกาย
- เจลที่เกิดจากเมล็ดเชียเรียกว่า มูซิลเลจ กากใยนี้จะทำให้อิ่มนานขึ้น ช่วยคนที่ควบคุมน้ำหนัก หรือลดความอ้วน

          นอกจากเมล็ดจะมีประโยชน์แล้ว ใบก็สามารถกินได้ และมีประโยชน์ด้วยคือ ใช้ใบแห้งหรือสด ใช้ทำชาดื่มได้ ช่วยในการทำความสะอาดเลือด ลดไข้ แก้ปวด ไขข้ออักเสบ ปากเปื่อย โรคเบาหวาน ท้องร่วง กลั้วคอแก้เจ็บคอ ลดความดัน เพิ่มระดับคอเลสเตอรอลตัวดีช่วยให้ระบบประสาทแข็งแรง ลดอาการร้อนของผู้วัยทอง และอื่นๆ

 

\"เชีย\"ยอดธัญพืชมากประโยชน์!

 

วิธีกิน : 
          เมล็ดเชีย สามารถกินร่วมกับอาหารได้หลากหลาย โดยเอาเมล็ดผสมลงอาหารที่คุณต้องการก็กินได้ทันที ไม่ว่าจะเป็นอาหารคาว อาหารหวาน และเครื่องดื่มต่างๆ ใส่เมล็ดเชียผสมลงไปได้

          กินได้แค่ไหนจึงจะดีต่อสุขภาพ กินได้ทุกช่วงวัย แต่เป็นปริมาณที่แตกต่างกัน ดังนี้ เด็กที่มีอายุต่ำกว่า 10 ปี ควรกินวันละ 1 ช้อนโต๊ะ เด็กที่มีอายุตั้งแต่ 5-18 ปี ควรกินวันละ 1.4 – 4.3 กรัม สำหรับผู้ใหญ่ ควรกินวันละ 15 กรัม หรือ 2 ช้อนโต๊ะ ผู้ที่ป่วยด้วยโรคหัวใจและหลอดเลือด ควรกิน 33-41 กรัมในทุกๆ 3 เดือน แต่ต้องนำไปป่นก่อนทาน

ปฐมบท : (เล็กๆ)

          เดิมคืออาหารของชาวชาวมายา และชาวแอซเท็กโบราณที่มักจะกินกันเป็นอาหารหลักเหมือนกับอาหารธัญพืชทั่วไป โดยการกินนั้นจะเอาเมล็ดมาบดรวมเข้ากันกับแป้ง คั้นน้ำออกมาใช้ดื่ม หรือเอาไว้เพื่อปรุงอาหาร ต่อมาในยุคล่าอาณานิคมของสเปนเมล็ดเชียได้จัดว่าเป็นอาหารต้องห้าม จึงเป็นสาเหตุให้ค่อยๆหายไป กระทั่ง ช่วงยุคของอเมริกาสมัยใหม่ นักวิทยาศาสตร์จึงได้นำมาค้นคว้าวิจัยอีกครั้งถึงคุณประโยชน์ของพืชชนิดนี้ จากนั้นก็เอาไปขยายสายพันธุ์จนมาถึงสมัยปัจจุบัน ในบ้านเราเริ่มเป็นที่รู้จักราว 4-5 ปีที่ผ่านมา