"หนอนชอนใบ-ราน้ำฝน"เล่นงานลำไย!
ช่วงนี้อากาศชื้นมีฝนตกชุก กรมวิชาการเกษตร เตือนเจ้าของสวนลำไยในระยะออกดอก แตกใบอ่อน และติดผล ให้ระวังหนอนชอนใบ และผลเน่า หรือโรคราน้ำฝน
โรคราน้ำฝน เกิดจากเชื้อราสีขาวฟูจะเข้าทำลายใบอ่อน กิ่งอ่อน ทำให้เกิดอาการเน่าที่ใบและยอดไหม้ ถ้าสภาพเหมาะสมต่อการเกิดโรคจะพบอาการใบไหม้และยอดไหม้ระบาดทั่วทั้งต้นและทั่วทั้งสวน ส่วนอาการพบที่ผลว่าก่อนเก็บเกี่ยว 1 เดือน ช่วงฝนตกชุกติดต่อกันผลลำไยที่เป็นโรค จะเน่าในที่สุด
การป้องกันกำจัด
1.เมื่อพบโรคให้รีบพ่นด้วยสารกำจัดโรคพืชเมทาแลกซิลทันที เพื่อหยุดการทำลายของโรค
2.ในพื้นที่ซึ่งเคยมีโรคระบาด เพื่อป้องกันการสูญเสียผลผลิต ก่อนการเก็บเกี่ยวผลผลิต 1 เดือน หากเป็นช่วงฝนตกชุกติดต่อกันจะต้องเฝ้าระวังผลลำไย โดยเมื่อพบโรคให้รีบพ่นสารเมทาแลกซิลทันทีและหลังการเก็บเกี่ยวเมื่อลำไยผลิใบอ่อน พ่นด้วยสารดังกล่าวเพื่อป้องกันโรค
3. เก็บทำลายผลและใบที่เป็นโรคที่ร่วงลงบนพื้นดิน
หนอนชอนใบ หนอนจะเจาะเข้าทำลายส่วนของยอดอ่อนทันที บริเวณรูเจาะมีมูลหนอนที่ถ่ายออกมาเป็นขุย ทำให้ยอดแห้งตาย และมันอาจจะเข้าไชชอนที่ก้าน หรือใบอ่อนใบที่ ในระยะที่ต้นลำไยแตกใบอ่อนจะมีหนอนชอนใบทำลายอยู่เสมอ ใบมีอาการคล้ายโรคใบไหม้ สีน้ำตาลแดง
โดยที่หนอนเริ่มเจาะที่ฐานเส้นกลางใบแล้วเคลื่อนไปปลายใบ ก่อนถึงปลายใบจะชอนไชเข้าไปในส่วนเนื้อของใบ รอยที่หนอนเจาะจะพบมูลหนอนอยู่ด้วย เมื่อมันโตเต็มที่แล้วจะออกมาเข้าดักแด้ข้างนอกตามใบโดยชักใยห่อหุ้มตัวเองอยู่ภายใน ถ้ามีการระบาดรุนแรงใบอ่อนที่แตกใหม่จะถูกทำลายหมด
การป้องกันกำจัด
1.เก็บรังดักแด้ของหนอนเจาะขั้วผล แล้วนำไปทำลาย
2.ถ้ามีการระบาดรุนแรงขณะล าไยแตกใบอ่อน ควรพ่นด้วยสารฆ่าแมลง เช่น imidacloprid (Confidor 10%SL) อัตรา 8 มิลลิลิตรต่อน้ำ 20 ลิตร