
'เต่าร้าง' รักษาหัวใจพิการ
15 มี.ค. 2559
ไม้ดีมีประโยชน์ : 'เต่าร้าง' รักษาหัวใจพิการ : โดย...นายสวีสอง
เต่าร้าง มีชื่อวิทยาศาสตร์ Caryota mitisLour. ชื่ออื่น เชื่องหมู่ มะเด็ง งือเด็ง เป็นพืชในวงศ์ Palmae เป็นปาล์มต้นเดี่ยว ขนาดใหญ่ ไม่มีหนาม ปล้องบนลำต้นยาว แผ่นใบเป็นร่องรูปตัววี ใบประกอบแบบขนนก 2 ชั้น ก้านใบยาวขนาดใหญ่ ออกดอกแล้วตาย ดอกช่อแยกเพศ ผลสุกสีแดง พบกระจายพันธุ์ตั้งแต่ศรีลังกา อินเดีย ตอนใต้ของจีน เป็นปาล์มแตกกอ ลำต้นขนาด 10-15 เซนติเมตร ใบประกอบแบบขนนกสองชั้น เรียงสลับ ใบย่อยรูปสามเหลี่ยมหยักเว้า กว้างประมาณ 13 เซนติเมตร ยาว 20-30 เซนติเมตร ปลายแหลมคล้ายหางปลา โคนใบรูปลิ่ม แผ่นใบสีเขียวเป็นมัน ดอกสีขาวอมเหลือง ออกเป็นช่อแบบช่อแยกแขนงระหว่างกาบใบหรือใต้โคนกาบใบ ช่อดอกยาว 60-80 เซนติเมตร บานเต็มที่กว้าง 2 เซนติเมตร ผลสดแบบมีเนื้อเมล็ดเดียว ออกเป็นพวงๆ ทรงกลม ขนาด 2 เซนติเมตร ผลสุกสีแดงคล้ำ สรรพคุณทางยา หัวและรากใช้ดับพิษที่ตับ ปอด และหัวใจพิการได้ดี
--------------------------
(ไม้ดีมีประโยชน์ : 'เต่าร้าง' รักษาหัวใจพิการ : โดย...นายสวีสอง)