
เร่งย้ายปลา3พันตัวจากห้างนิวเวิลด์
13 ม.ค. 2558
ปิดฉากห้าง"นิวเวิลด์"จนท.เร่งจับขนย้ายปลาหลังชาวบ้านมาปล่อย-ให้อาหารชี้ห่วงเรื่องความปลอดภัย-มอบศูนย์ปะมงพักฟื้นคัดแยกพ่อพันธุ์แม่พันธุ์ปล่อยสู่อ่างน้ำธรรมชาติ
�
�
� � � � � วันที่ 13 ม.ค.58 เมื่อเวลา 11.30 น. �ที่ห้างสรรพสินค้านิวเวิลด์ ถนนพระสุเมรุ แขวงตลาดยอด เขตพระนคร กรุงเทพฯ นายสมชัย ไตรพิทยากุล ผอ.เขตพระนคร พร้อมด้วย นายวีระ วัชรกรโยธิน ผอ.ศูนย์วิจัยและพัฒนาปะมงน้ำจืดสมุทรปราการ �และเจ้าหน้าที่จากสถานีเพาะเลี้ยงสัตว์น้ำจืด กรมประมงจากจังหวัดสมุทรปราการ จ.ปทุมธานี และจ.พระนครศรีอยุธยา จำนวนกว่า 20 คน นำอุปกรณ์อวน สวิง และรถบรรทุกน้ำ มาจับปลาภายในตึกดังกล่าวออกจากพื้นที่ทั้งหมด ภายหลังได้รับเรื่องร้องเรียนว่ามีผู้นำปลามาปล่อยจำนวนมาก และมีผู้มาเข้าชมและให้อาหารปลาทั้งที่ตึกถูกปล่อยทิ้งร้างมาเป็นเวลานาน จึงเกรงว่าไม่เหมาะสมและโครงสร้างอาคารจะไม่ปลอดภัย
�
� � � � � นายสมชัย เปิดเผยว่า ภารกิจดังกล่าวเริ่มปฏิบัติการตั้งแต่เมื่อช่วงเช้าเมื่อวันที่ 12ม.คที่ผ่านมา �ซึ่งสามารถนำปลาออกจากพื้นที่ได้ประมาณ 200 กิโลกรัม ส่วนใหญ่เป็นปลานิลแดง ปลาสวาย ปลาคราฟ ปลากะพง สำหรับวันนี้คาดว่าจะจับปลาได้รวม 1,000 กิโลกรัม โดยจะดำเนินการตามแผนที่วางไว้ร่วมกับกรมปะมง คือ จับปลาแล้วเคลื่อนย้ายไปยังศูนย์วิจัยปะมงน้ำจืดของกรมปะมง 3 แห่ง ที่จังหวัดสมุทรปราการ จ.ปทุมธานี และจ.พระนครศรีอยุธยา เพื่อนำไปพักฟื้น ทั้งนี้ จะจับและเคลื่อนย้ายปลาให้เสร็จภายใน 3 วัน แต่หากไม่เสร็จก็จะขยายเวลาไปอีกประมาณ 1 สัปดาห์โดยคาดว่าจะได้ปลาทั้งหมดกว่า 3,000 กิโลกรัม�
�
� � � � � นายสมชัย เปิดเผยต่อไปว่า หลังจากนั้นทางเขตจะเข้ามาดูแลพื้นที่ สูบน้ำออกให้หมดแล้วใช้ปูนขาวโรยฆ่าเชื้อโรคและฉีดหมอกควันป้องกันยุง จากนั้นปิดทางเข้าออกทุกทาง โดยทางเจ้าของพื้นที่รับทราบเรื่องดังกล่าวแล้วพร้อมให้ความร่วมมือเป็นอย่างดี ส่วนเรื่องโครงสร้างขณะนี้อยู่ในขั้นตอนตรวจสอบข้อกฎหมาย สำหรับสาเหตุที่ทำภารกิจดังกล่าวเนื่องจากเกรงว่าจะเป็นอันตรายต่อประชาชนและเป็นแหล่งเพาะเชื้อโรคซึ่งสถานที่ดังกล่าวเป็นที่ส่วนบุคคล ไม่เหมาะสมในการนำปลามาปล่อย�
�
� � � � � ด้าน นายวีระ วัชรกรโยธิน ผอ.ศูนย์วิจัยและพัฒนาปะมงน้ำจืด จังหวัดสมุทรปราการ เปิดเผยว่า ในส่วนของขั้นตอนการจับปลาทางเจ้าหน้าที่ได้นำอุปกรณ์ทั้งอวน สวิงจับปลาภายในชั้นใต้ดินของห้างดังกล่าว ซึ่งมีระดับน้ำสูงประมาณ 40 ซม. ถึง 1.5 เมตร จากนั้น จึงใส่ปลาในกะละมังแล้วทยอยลำเลียงขึ้นรถบรรทุก 6 ล้อที่เตรียมไว้พร้อมเครื่องออกซิเจน จำนวน 3 คัน ทั้งนี้ เมื่อจับปลาได้แล้วก็จะนำไปพักฟื้นที่ศูนย์วิจัยปะมงน้ำจืดของกรมปะมง 3 แห่ง ที่จังหวัดสมุทรปราการ ปทุมธานี และพระนครศรีอยุธยา เพื่อนำไปพักฟื้นเป็นเวลาประมาณ 3 สัปดาห์ เพราะปลาที่นี่ส่วนใหญ่ผอมโซ ไม่แข็งแรงและขณะลำเลียงปลาจะอ่อนแอมาก เมื่อปลาแข็งแรงดีแล้วก็จะคัดแยกสายพันธุ์และคัดเป็นพ่อพันธุ์แม่พันธุ์ บางส่วนจะนำไปปล่อยคืนสู่ธรรมชาติตามอ่างน้ำระบบปิดต่อไป เพราะปลาที่ได้ส่วนใหญ่เป็นปลาสายพันธุ์ต่างประเทศ