ข่าว

 "หยาดน้ำค้าง" ใบจับแมลง

"หยาดน้ำค้าง" ใบจับแมลง

30 มิ.ย. 2552

ถิ่นกำเนิดของต้น “หยาดน้ำค้าง” ชอบขึ้นบริเวณทุ่งโล่งที่มีแสงแดดจัด ตามภูเขา ลานหินทราย ที่มีน้ำชื้นแฉะบริเวณริมธาร มักพบเห็นอยู่ทั่วไป แหล่งที่พบมากที่สุดคือภาคตะวันออกเฉียงเหนือของไทย เป็นพืชล้มลุกในวงศ์ CROSERACEAE ขนาดเล็ก เป็นกลุ่มพืชกินแมลงเป็นอาหาร

  ใบ เป็นแผ่นรูปมนรี กว้าง 4 เซนติเมตร อัดกันแน่นเรียงซ้อนกันเป็นรูปวงกลมอวบอ้วน คล้ายกลีบดอกซ้อนกัน หนา 1.5-3 เซนติเมตร เมื่อใบอ่อนมีสีเขียว แผ่นใบเรียบจะมีขนเล็กๆ สีแดงตามขอบใบจำนวนมาก ส่วนปลายใบจะมีน้ำหวานเหนียวๆ คล้ายกาวหยดเล็กๆ ไว้ดักจับแมลงเป็นอาหาร

  ดอก ออกเป็นช่อจากใจกลางของลำต้น เมื่อโตเต็มที่ดอกจะกว้าง 6 นิ้ว ยาว 5-15 เซนติเมตร ดอกจะบานสะพรั่งช่วงเดือนกรกฎาคม-ตุลาคม

 ขยายพันธ์ เพาะเมล็ด ปักชำกิ่ง ชอบดินร่วนระบายน้ำได้ดี ความชื้นสูง และมีแสงแดดจัดส่องถึงตลอดวัน

 "นายสวีสอง"