ข่าว

นิสิตจุฬาฯ ส่งแฟชั่น"ช้างศึก"แทงใจกรรมการ

นิสิตจุฬาฯ ส่งแฟชั่น"ช้างศึก"แทงใจกรรมการ

29 มิ.ย. 2552

นับเป็นเวทีอันสำคัญของเหล่าดีไซเนอร์รุ่นใหม่ สำหรับ สหกรุ๊ป แบงค็อก ยัง ดีไซเนอร์ อวอร์ด ที่เปิดโอกาสให้ดีไซเนอร์รุ่นใหม่นำไอเดียและความคิดสร้างสรรค์มานำเสนอผ่านเสื้อผ้าทั้ง 9 ชุด โดยแบ่งเป็น เสื้อผ้าบุรุษ เสื้อผ้าสตรี และเสื้อผ้าเด็ก โดยปีนี้จัดขึ้นภายใ

ซึ่งปีนี้ "เปรี้ยว" อาทิตย์ จันทรางศุ นักศึกษาปี 4 จากคณะศิลปกรรมศาสตร์ ภาควิชานฤมิตรศิลป์ เอกแฟชั่นและสิ่งทอ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย สามารถคว้ารางวัลชนะเลิศไปครองได้สำเร็จ กับผลงานชุด "ช้างศึก" พ่วงด้วยรางวัล เดอะ เบส โซวิ่ง อวอร์ด ซึ่งผลงานการออกแบบของเธอ เต็มไปด้วยแรงบันดาลใจที่เกิดจากความขัดแย้งที่ลงตัว ระหว่างความอ่อนช้อยของศิลปะไทยที่ประดับประดาอยู่บนตัวช้างศึก ให้อารมณ์ความรู้สึกของความเป็นผู้หญิงและความแข็งแรงน่าเกรงขามแบบมัสคูลีน

 โครงสร้างเสื้อแบบหลวมโพรกที่ล้อกับโครงร่างใหญ่โตของช้าง ดีเทลที่ใช้เป็นการนำศิลปะลายไทย มาตัดทอด้วยเทคนิคการพับ การตัด การตีเกล็ดให้ได้รูปแบบใหม่ที่มีมูดเท่ขึ้น ด้วยการสร้างพื้นผิวที่ล้อกับลายแตกของบนผิวช้าง เช่น การอัดพลีท การจับสม็อค ไปจนถึงการผูกเงื่อนที่ประยุกต์มาจากการผูกเงื่อนคล้องช้าง โดยนำการสร้างสรรค์ให้มีรูปแบบที่น่าสนใจ ด้วยการใช้โซ่โลหะเข้าในไส้ไก่ผ้าเนื้อบาง ไปจนถึงเทคนิคการย้อมไล่สีจากเฉดสีดึงจากสีผิวให้กลุ่มของสีเบจ สีกากี เพื่อความทะมัดทะแมง น่าเกรงขามและเพิ่มเฉดสีที่ใกล้เคียงจำนวนดีพโทนคัลเลอร์ เช่น ม่วงตุ่น น้ำตาลส้ม เพื่อให้คอลเลกชั่นนี้น่าสนใจยิ่งขึ้น

 "เวลาได้ผ้ามาผืนหนึ่ง เปรี้ยวจะไม่นำผ้าชิ้นนั้นมาทำผลงานเลย ผ้าทุกชิ้นจะผ่านการดัดแปลงด้วยเทคนิคต่างๆ เพราะรู้สึกว่าถ้านำผ้าที่ซื้อมาทำผลงานเลย ใครๆ ก็สามารถทำได้ อย่างชุดในคอลเลกชั่นนี้จะใช้เทคนิคในการทำเยอะมาก ทั้งย้อมผ้า พิมพ์ การปัก ถัก ตะกุยผ้า กัดสีผ้า แถมยังสั่งเขาทอผ้าไหมแบบพิเศษ และปั่นไหมพิเศษให้ด้วย เรียกว่าคอลเลกชั่นนี้ใช้เทคนิคแบบมัลติเทคนิคเลยก็ว่าได้ ซึ่งเป็นการทำงานที่ยากมากแต่ชอบเพราะถือเป็นงานศิลปะอย่างหนึ่ง เพราะเสื้อผ้าก็ถือเป็นงานศิลปะอย่างหนึ่ง ที่จะต้องใส่สุนทรียศาสตร์ลงไป ดังนั้นผลงานของเปรี้ยวจะเด่นในเรื่องของงานฝีมือเป็นหลัก" เปรี้ยวกล่าวด้วยน้ำเสียงตื่นเต้น

 แม้การประกวดครั้งนี้จะประสบความสำเร็จอย่างมากมาย แต่เปรี้ยวก็ยังไม่เคยหยุดเดินตามฝัน ด้วยบอกว่า การประกวดเหล่านี้จะทำให้เขาเรียนรู้และพัฒนาตัวเองไปอย่างไม่มีที่สิ้นสุด เพราะเชื่อว่าการเป็นดีไซเนอร์ จะต้องมีความกระตือรือร้น ใฝ่รู้ และสร้างสรรค์อยู่ตลอดเวลา เพราะกระแสแฟชั่นก้าวไปข้างหน้าทุกวัน ดังนั้น ดีไซเนอร์จะหยุดนิ่งอยู่กับที่ไม่ได้

 ด้าน สุนีย์ ไวความดี กรรมการบริษัท บูติคนิวซิตี้ จำกัด (มหาชน) หนึ่งในคณะกรรมการ กล่าวถึงผลงานชนะเลิศว่า ดีไซเนอร์รุ่นใหม่มักจะคิดนอกกรอบ ทำให้ผลงานมีความโดดเด่นขึ้นมา อย่างผลงานที่ได้รางวัลมีความละเอียดมาก โดยเฉพาะดีเทลต่างๆ ที่ใส่เข้าไปในผลงาน เผยให้เห็นถึงความใส่ใจแม้แต่แอคเซสเซอรี่อย่างกระเป๋าก็ทำออกได้อย่างลงตัว

 "ปีนี้เราจัดการประกวดเป็นปีที่ 9 ก็อยากจะให้ทุกคนได้เห็นอะไรที่ใหม่และแปลกตา อย่างผลงานของเขาที่นำแรงบันดาลใจจากช้างศึก มาผสมผสานบนเนื้อผ้าได้อย่างกลมกลืน แล้วเทคนิคต่างๆ ที่นำมาใช้บนเสื้อก็น่าสนใจ จึงทำให้ผลงานของแต่ละชิ้นมีความเด่นมาก ซึ่งคะแนนค่อนข้างจะเป็นเอกฉันท์ เพราะดูจากผลงานของเขาเทียบกับคนอื่นถือว่าลงตัวที่สุดกับคอนเซ็ปต์ที่ให้ไป" สุนีย์กล่าว