
รายการคม ชัด ลึกตอน-โซตัสรับน้องควรมีหรือ?
เหตุการณ์ "น้องบุษ" (นามสมมติ) นักศึกษาชั้นปีที่ 1 ของมหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลตะวันออก วิทยาเขตอุเทนถวาย ร้องเรียนต่อมูลนิธิปวีณาฯ ว่าถูกรุ่นพี่บังคับให้กินกระดาษและพริกสดในการรับน้อง พร้อมสอนให้พกอาวุธและเกลียดสถาบันเทคโนโลยีปทุมวัน และขอให้มูลนิธิหา
น้องบุษ เหยื่อรับน้อง
"อยากให้ยกเลิกระบบรับน้อง"
ในการรับน้องถูกให้กินพริกและกระดาษสีน้ำตาลในการเขียนข้อสอบที่มีหมึกพิมพ์ ตลอดจนสามารถให้พกอาวุธไปโรงเรียนได้ เช่น มีด ปืน มีการพาดพิงถึงปทุมวัน หากไปเรียนก็จะมีรุ่นพี่ไปนั่งคุมที่ด้านหลังห้อง โดยอาจารย์ผู้สอนไม่ได้ว่ากล่าวอะไร ซึ่งมีการคุมตั้งแต่เช้า กลางวัน เย็น และห้ามสาขาวิชาเดียวกันมานั่งรวมกัน ซึ่งมีรุ่นพี่มาคุมประมาณ 20 คน หากเทียบกับรุ่นน้องประมาณร้อย ซึ่งรุ่นพี่หญิงจะแบ่งรับน้องผู้หญิง ผู้ชายจะรับน้องผู้ชาย ทำให้ไม่มีโอกาสได้คุยกับอาจารย์ เพราะรุ่นพี่กันไว้ตลอด ระหว่างรับน้องร้องไห้สองครั้ง รุ่นพี่ก็แสดงอาการอารมณ์เสีย
กิจกรรมที่รับไม่ได้ในการรับน้องครั้งนี้คือ การวนอมลูกอมเม็ดเดียวกัน และคำพูดที่รุ่นพี่ใช้ไม่สุภาพ ก่อนเข้ามาทำใจไว้แล้ว แต่ไม่คิดว่าจะมีอะไรแรง และคิดว่าไม่จำเป็นต้องมีการรับน้อง จนถึงขณะนี้ที่บ้านยังไม่ทราบกรณีการเปลี่ยนสถานที่เรียน หากต้องเจอการรับน้องแบบนี้อีกก็คงไม่เปลี่ยนสถานที่เรียนใหม่แล้ว
ชัยวุฒิ บรรณวัฒน์ รมช.ศึกษาธิการ
"การรับน้องไม่ควรละเมิดสิทธิมนุษยชน"
คาดพอสมควรว่าอาจเกิดเหตุตามที่เป็นข่าวเนื่องจากการรับน้องกลายเป็นประเพณี แต่ก็คงมีแทบทุกมหาวิทยาลัย มีบางแห่งรุ่นพี่ไปรับนอกสถานที่ซึ่งได้กำชับ ส่วนใหญ่ก็อยู่ในกรอบ แต่ก็มีหลุดออกมาทุกปีในลักษณะเช่นนี้ ซึ่งก็มีความกังวล แต่บางแห่ก็มีกิจกรรมดีๆ เช่น การพาไปวัด
อย่างไรก็ตามจะเข้าไปตรวจสอบข้อเท็จจริงกรณีที่เกิดขึ้น เพื่อความเป็นธรรม แต่คงไม่ออกมาพูดในทางสังคม หากมีการลงโทษเด็ก ซึ่งในสมัยที่เรียนปี 1 คณะวิศวะ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย ก็ถูกรับน้องหนักมากเช่นกัน โดยสมัยนั้นถูกโยนบก แต่รุ่นพี่ไม่ใช้อารมณ์ การรับน้องต้องไม่ละเมิดสิทธิขั้นพื้นฐาน และอยากให้เด็กที่ถูกรับน้องรุนแรงออกมาร้องเรียนได้ ขณะนี้เริ่มพอรู้ตัวว่ามีใครทำอะไรไปบ้างหากเป็นคนนอกหรือส่อไปในทางอาชญากรรมก็ต้องดำเนินการ โดยหลักการเห็นด้วยในระบบโซตัส แต่ต้องอยู่ในหลักเกณฑ์ และที่สามารถอยู่ในสังคมทุกวันนี้ระบบโซตัสก็มีส่วนช่วย
ดร.พิชญ์ พงษ์สวัสดิ์ รัฐศาสตร์ จุฬาฯ
"ระบบโซตัสไม่เหมาะกับสังคมไทย"
ทำไมระบบโซตัสมีอยู่ทั่วไป ทำไมระบบการรับน้องอยู่ได้ คือเป็นระบบพิเศษเป็นการเอื้อประโยชน์ให้รุ่นพี่ คือทนเป็นรุ่นน้อง 1 ปี แล้วเป็นรุ่นพี่ 3 ปี เพื่อใช้ความรุนแรงต่อไปกับรุ่นน้อง ส่วนตัวไม่เห็นด้วยให้มีระบบโซตัส เพราะมีเพื่อเป็นการปกป้องผลประโยชน์ แต่เรายังมีระบบอื่นที่จะเอื้อระหว่างรุ่นน้องและรุ่นพี่ เช่น การเข้าทำกิจกรรมในชมรมต่างๆ ระบบโซตัสอยู่ในระบอบประชาธิปไตย แสดงว่าเด็กไทยไม่รู้เรื่องรัฐธรรมนูญ เรื่องการละเมิดสิทธิสามารถฟ้องร้องผู้บริหารรุ่นพี่ได้ เพราะมหาวิทยาลัยไทยเป็นระบบราชการฟ้องศาลปกครองได้ ระบบโซตัสไม่เหมาะกับสังคมไทย และไม่เห็นว่าจะนำไปสู่ปัญญาตรงไหน ถ้าระบบนี้ดีจริงทำไมไม่ทำตั้งแต่เรียนอนุบาล ไม่ใช่ทำตอนโต
จักรพันธ์ ยาคู
ครูโรงเรียนแย้มสอาดรังสิต ประธานโครงการค่ายนักรัฐศาสตร์รุ่นเยาว์ (รุ่น 1)ม.ธรรมศาสตร์
"การทำกิจกรรมต้องทำด้วยความรัก"
โดยแก่นและเนื้อหาโซตัส การว้าก และการรับน้อง เป็นคนละเรื่องกัน ระบบโซตัสคือ การเคารพผู้อาวุโสกว่า รักษาขนบธรรมเนียมที่ดีกว่า เป็นแก่นแท้ของโซตัส รวมทั้งเป็นกิจกรรมที่ให้น้องเตรียมพร้อมในการอยู่ในมหาวิทยาลัย ไม่จำเป็นต้องเกิดเฉพาะช่วงรับน้อง การทำกิจกรรมต้องกำหนดเป้าหมายว่าต้องการทำเพื่ออะไร โดยการทำต้องเชื่อมด้วยความรักและความสามัคคี ส่วนการว้ากเป็นการสร้างความกดดันไปสู่เป้าหมายเดียวกันมากกว่าการกระทำความรุนแรงต่อหน้า การทำกิจกรรมทั้งหมดเพื่อเรียนรู้และพัฒนาตัวเอง พัฒนาสังคม ถือเป็นหัวใจของการทำกิจกรรม