
ตู้เอทีเอ็มดูดบัตร
ผมได้รับโทรศัพท์จากเพื่อนชาวญี่ปุ่นที่อยู่เมืองไทย วันที่ 18 เมษายน 2545 เวลา 08.00 น. เพื่อนชาวญี่ปุ่นโทรมาบอกว่า ได้นำบัตรเครดิตของธนาคาร Citibank Japan มากดเงินที่ตู้เอทีเอ็มของธนาคารกรุงเทพ บริเวณสถานีรถไฟฟ้าบีทีเอส สถานีเอกมัย รหัสตู้ 200738581 ของบร
ผมเดินทางไปถึงที่สถานีรถไฟฟ้าประมาณ 09.00 น. ขณะนั้นเพื่อนของผมอยู่ในอาการตกใจมาก
ผมจึงโทรศัพท์ไปสอบถามที่ศูนย์บริการข้อมูล (คอลเซ็นเตอร์) 1333 ของธนาคารกรุงเทพ จากการสอบถามเจ้าหน้าที่บอกว่า ถึงแม้จะเปิดตู้และได้บัตรออกมาก็ไม่สามารถส่งคืนให้เจ้าของบัตรได้ ต้องทำบัตรใหม่เท่านั้น ธนาคารเจ้าของตู้จะต้องทำลายบัตรทิ้ง และแนะนำให้แจ้งไปยัง citibank thailand (เบอร์ 1588) ผมโทรไปถามที่ citibanlk thailand ว่าสามารถที่จะอายัดบัตรที่นี่ได้หรือไม่ เจ้าหน้าที่บอกไม่ได้ ต้องโทรไปอายัดที่ citibank japan แล้วก็ต้องทำบัตรใหม่ที่ citibank japan ประเทศญี่ปุ่น
หลังจากนั้น ผมก็โทรอายัดบัตร แล้วได้พูดคุยกับเจ้าหน้าที่ที่จำหน่ายตั๋วประจำบีทีเอส สถานีเอกมัย เจ้าหน้าที่บอกว่า ตู้นี้เกิดเหตุขัดข้องบ่อยมาก มีเจ้าหน้าที่ของธนาคารมาดูแล้ว แต่ก็ยังไม่ทำการแก้ไข ตู้ยังคงกินบัตรของผู้ที่มาใช้บริการเสมอ
ถ้าแบบนี้ผมคิดว่าไม่ยุติธรรมเลย อย่างกรณีนี้ เพื่อนผมเป็นชาวต่างชาติถ้าไม่มีเพื่อนหรือคนรู้จักที่อยู่เมืองไทย แล้วมีความจำเป็นต้องใช้เงิน อยู่ดีๆ ตู้ก็มากินบัตรของเขาไป อย่างนี้จะทำอย่างไร ผมฝากไปถึงบริษัท Diebold ด้วยว่า ควรหมั่นตรวจสอบตู้เอทีเอ็มให้อุปกรณ์มีประสิทธิภาพในการให้บริการด้วย เพราะเหตุการณ์นี้ผู้ที่เดือดร้อนเป็นชาวต่างชาติเกิดความลำบากมาก เรื่องการทำธุรกรรมต่างๆ แล้วยังต้องกลับไปทำบัตรใหม่ที่ประเทศญี่ปุ่นอีก
ชาญชัย
ตอบ
ฝ่ายประชาสัมพันธ์ ธนาคารกรุงเทพ จำกัด (มหาชน) สำนักงานใหญ่ ชี้แจงว่า บัตรวีซ่าหรือมาสเตอร์การ์ดไม่ว่าจะเป็นของธนาคารใดๆ ก็ตาม บัตรธนาคารต่างประเทศหรือในประเทศ เจ้าของบัตรจะไม่ได้รับบัตรคืน ต้องทำบัตรใหม่เลย เนื่องจากเป็นข้อกำหนดระหว่างประเทศของบริษัทวีซ่าและมาสเตอร์การ์ด ซึ่งทุกธนาคารก็จะใช้ข้อกำหนดเดียวกัน
เหตุผล เนื่องจากเป็นการป้องกันการกระทำทุจริต และเพื่อความปลอดภัยของลูกค้า กรณีที่มีผู้อื่นนำบัตรไปใช้
กรณีถ้าเป็นบัตรเอทีเอ็มธรรมดา หากบัตรถูกยึด เจ้าของบัตรสามารถติดต่อให้ทางธนาคารในสาขานั้นๆ เปิดตู้เพื่อขอบัตรเอทีเอ็มคืนได้ ไม่ต้องทำบัตรใหม่
ฝ่ายประชาสัมพันธ์ ธนาคารกรุงเทพ บอกว่า ธนาคารจะนำเรื่องนี้แจ้งไปยังฝ่ายที่เกี่ยวข้องให้ตรวจสอบตู้เอทีเอ็มตู้นี้ก่อนว่า ขัดข้องจริงหรือไม่และมีสาเหตุเกิดจากอะไร และหากพบว่ามีปัญหาเกิดจากตู้เอทีเอ็มจริง ก็จะได้ทำการแก้ไขให้สามารถใช้งานได้ตามปกติต่อไป
ด้าน ฝ่ายสื่อสารองค์กร ธนาคารซิตี้แบงก์ (ประเทศไทย) ชี้แจงว่า ธนาคารไม่สามารถอายัดบัตรหรือทำบัตรใบใหม่ให้ได้ เนื่องจากธนาคารไม่มีฐานข้อมูลของลูกค้าในประเทศไทย ลูกค้าต้องโทรศัพท์ทำการอายัดบัตรเอง เพราะต้องแจ้งข้อมูลส่วนตัวของลูกค้าเพื่อยืนยันการแจ้งอายัดบัตร
ฝ่ายสื่อสารองค์กร บอกว่า ธนาคารสามารถให้ความช่วยเหลือลูกค้าได้ กรณีที่ต้องการให้ธนาคารติดต่อกับทางญี่ปุ่น เพื่อขอออกบัตรใบใหม่และจัดส่งมาที่ประเทศไทย
ลุงแจ่ม