Lifestyle

เมื่อไหร่ควรทดสอบ "ผื่นภูมิแพ้" ให้ลูกดี?

เกาะติดข่าวสาร >> คมชัดลึก ออนไลน์
logoline

"โรคผื่นภูมิแพ้ผิวหนัง" เป็นโรคผิวหนังอักเสบเรื้อรังที่พบได้บ่อยในวัยเด็ก มีอาการสำคัญ คือ มีอาการคันมาก ผิวหนังแห้งอักเสบ และมีการกำเริบเป็นระยะๆ

"โรคผื่นภูมิแพ้ผิวหนัง" 
เป็นโรคผิวหนังอักเสบเรื้อรังที่พบได้บ่อยในวัยเด็ก มีอาการสำคัญ คือ มีอาการคันมาก ผิวหนังแห้งอักเสบ และมีการกำเริบเป็นระยะๆ
 

ปัจจัยเสี่ยงที่ทำให้เกิดโรคผื่นภูมิแพ้ผิวหนังมีอะไรบ้าง?
ปัจจัยที่ทำให้เกิดโรคนี้ แบ่งออกเป็นปัจจัยภายใน และปัจจัยภายนอก

  • ปัจจัยภายใน เช่น พันธุกรรม ความผิดปกติของผิวหนัง ความผิดปกติของภูมิคุ้มกัน
  • ปัจจัยภายนอก ได้แก่ สารก่อภูมิแพ้ในอาการ สารก่อภูมิแพ้ในอากาศ เชื้อจุลชีพ สารก่อระคายเคือง

อาการของโรคผื่นแพ้ผิวหนังที่คุณพ่อคุณแม่ควรสังเกต
สำหรับเด็กที่มีอาการของโรคผื่นแพ้ผิวหนัง เด็กจะมีผื่นแดงคันโดยเฉพาะตำแหน่งที่มีการอับชื้น เช่น ข้อพับแขนขา และแก้ม  ซึ่งถ้าเกามากอาจจะมีการติดเชื้อมีน้ำเหลืองแฉะๆ เกาะติดบนแผลรวมด้วยได้


วิธีการตรวจวินิจฉัยเมื่อเป็นโรคผื่นภูมิแพ้ผิวหนัง
สำหรับโรคนี้ไม่มีการตรวจทางห้องปฏิบัติการที่จำเพาะ แต่การตรวจเพื่อหาว่าผู้ป่วยแพ้สารใดหรือหาปัจจัยกระตุ้นที่ทำให้โรคกำเริบ มีประโยชน์ในการหลีกเลี่ยงสารก่อภูมิแพ้ การตรวจทางห้องปฏิบัติการที่มีประโยชน์ ได้แก่ การทดสอบทางผิวหนัง (skin prick test) การเจาะเลือดตรวจ

จำเป็นไหมต้องทำการทดสอบภูมิแพ้ทางผิวหนัง
การนำน้ำยาสกัดจากสารก่อภูมิแพ้ชนิดต่างๆ  มาทำการทดสอบที่ผิวหนังของผู้ป่วย เพื่อทำให้ทราบว่าแพ้สารใด วิธีนี้เป็นวิธีที่ช่วยในการวินิจฉัยโรคภูมิแพ้ที่มีความไวและความจำเพาะสูง ทำง่าย และราคาไม่แพง สามารถทราบผลได้ทันที ผู้ป่วยสามารถเห็นปฏิกิริยาภูมิแพ้ที่เกิดขึ้นด้วยตาของตนเอง
 

เมื่อลูกเป็นโรคผื่นภูมิแพ้ผิวหนัง คุณพ่อคุณแม่ต้องดูแลอย่างไร?
เมื่อพบว่าลูกมีอาการผื่นภูมิแพ้ผิวหนัง คุณพ่อคุณแม่ควรดูแลและหลีกเลี่ยงสิ่งกระตุ้น (เช่น ความร้อน ความเย็น ความเครียด)

o การหลีกเลี่ยงปัจจัยหรือตัวกระตุ้นที่ทำ ให้เกิดการกำเริบของผื่น  เช่น การหลีกเลี่ยงสารก่อภูมิแพ้
o การดูแลผิวหนัง เช่น การอาบน้ำที่ถูกวิธี การเลือกสวมใส่เสื้อผ้าที่เหมาะสม และการทาสารเพิ่มความชุ่มชื้นผิวหนัง
o การทายากลุ่มที่ลดการอักเสบของผิวหนัง หรือถ้าอาการยังไม่ดีขึ้น การพันผ้าด้วยน้ำเกลือ (wet wrap therapy) ก็จะช่วยทำให้อาการทุเลาลง

ที่มาข้อมูล:
นายแพทย์ ธัชชัย วิโรจวานิช​​​​​​​
www.sikarin.com
 

logoline

ข่าวที่น่าสนใจ