Lifestyle

เผยมุมมอง 2 ไรเดอร์ ที่มีต่อ โอกาสของ "คนพิการ" ในฐานะ ผู้ให้ และ ผู้รับ

เกาะติดข่าวสาร >> คมชัดลึก ออนไลน์
logoline

บางครั้งอุปสรรคของ "คนพิการ" ไม่ได้เกิดจากความบกพร่องทางร่างกาย แต่มาจากการถูกมองข้ามหรือด้อยค่าจากคนในสังคม ที่ตัดสินพวกเขาจากสภาพภายนอก การเปิดใจและให้โอกาส พร้อมเรียนรู้และทำความเข้าใจ เป็นจุดเริ่มต้นสำคัญที่จะให้ทุกคนอยู่ร่วมกันในสังคมได้อย่างเท่าเทียม

 

เนื่องในโอกาสวันคนพิการสากลซึ่งตรงกับวันที่ 3 ธันวาคมของทุกปี กรุงเทพมหานคร (กทม.) ร่วมมือกับ เครือข่ายต่างๆ ซึ่งรวมถึง แกร็บ ประเทศไทย จึงได้จัดเทศกาล "BANGKOK For ALL #กรุงเทพฯเพื่อทุกคน" เพื่อให้ทุกคนได้เรียนรู้การอยู่ร่วมกับคนพิการในสังคม เช่นเดียวกับเรื่องราวสองมุมของพาร์ทเนอร์คนขับแกร็บกับ  “คุณฐา” ฐาปนา เย็นรักษา ไรเดอร์หนุ่มแขนพิการที่ไม่ย่อท้อต่อโชคชะตา ไขว่คว้าหาโอกาสจนสามารถสร้างรายได้มาจุนเจือครอบครัวด้วยน้ำพักน้ำแรงของตัวเอง และ “คุณต่าย” วิลาสินี โรจน์ธรรมรัตน์ ที่เลือกให้บริการแกร็บแอสซิสท์ (GrabAssist) บริการเรียกรถแท็กซี่ผ่านแอปพลิเคชันที่รับ-ส่ง คนพิการ และผู้สูงอายุ

 

ฐาปนา เย็นรักษา

ฐาปนา เย็นรักษา ชายหนุ่มวัย 30 ปี ที่แขนขวาพิการตั้งแต่กำเนิด หากไม่นับข้อจำกัดด้านร่างกาย คุณฐามีเป้าหมายที่อยากมีครอบครัวที่สมบูรณ์ เป็นหัวหน้าครอบครัวที่ดี หลังจากเรียนจบปริญญาตรีด้านการตลาด เขาได้พิสูจน์ว่าเขามีศักยภาพในการทำงานไม่ต่างจากคนปกติ แม้ในช่วงแรกจะต้องใช้เวลาหางานที่ให้โอกาส "คนพิการ" 

 

ฐาปนา เย็นรักษา

 

“จริงๆ ผมสามารถใช้ชีวิตได้เหมือนคนปกติทั่วไป แต่คนส่วนใหญ่จะตัดสินไปแล้วว่าเราทำอะไรไม่ได้ ทำให้โอกาสในการหางานของคนพิการน้อยกว่าคนปกติ ตอนช่วงโควิดระบาดรอบแรก บริษัทที่ผมเคยทำอยู่ลดเวลาทำงานจนเราอยู่ไม่ได้ ผมเลยตัดสินใจออกจากงาน ซึ่งการจะสมัครงานที่ใหม่ก็ยากมาก ผมเลยลองมาสมัครขับรถส่งอาหาร เพราะที่นี่เปิดโอกาสให้คนทุกเพศ ทุกวัย ซึ่งผมมีใบขับขี่ และมีรถมอเตอร์ไซค์ที่ดัดแปลงระบบให้ใช้มือซ้ายขับได้อยู่แล้ว ทุกอย่างเลยไม่มีปัญหา จึงทำให้อาชีพไรเดอร์เป็นรายได้หลักของผม หลังจากนั้นชีวิตก็ค่อยๆ ดีขึ้น ผมมีรายได้มากพอสำหรับค่าใช้จ่ายในครอบครัว พอผมมาเป็นไรเดอร์ที่นี่ มีลูกค้าและเพื่อนๆ มาคุยกับผมเยอะมากว่าผมมาขับได้ยังไง ผมเลยใช้โอกาสนี้เล่าเรื่องราวของผมให้พวกเขาฟัง และส่งกำลังใจให้คนที่กำลังท้อแท้หรือเจอกับปัญหาอยู่ด้วย คนที่ได้ฟังเรื่องราวของผมเขาจะได้คิดทบทวนและมีแรงสู้ต่อ เพราะผมเชื่อเสมอว่า ต่อให้เราเลือกเกิดไม่ได้ แต่เราสามารถเลือกที่จะใช้ชีวิตให้มีคุณค่าได้ และที่นี่ก็มองเห็นคุณค่าในตัวของคนพิการ เพราะสิ่งที่พวกเราต้องการมากที่สุด คือ ‘โอกาส’ ในการได้พิสูจน์ตัวเองว่า เราก็มีศักยภาพที่สามารถทำงานได้เหมือนคนปกติ แค่เพียงเปิดโอกาสให้เราได้ลองทำดู” ฐาปนา เผยความรู้สึก

 

 วิลาสินี โรจน์ธรรมรัตน์

 

 

ด้าน วิลาสินี โรจน์ธรรมรัตน์ พาร์ทเนอร์คนขับรถวัย 52 ปีที่เลือกเกษียณอายุงานก่อนกำหนด และเข้าสู่เส้นทางอาชีพคนขับรถรับ-ส่ง ที่เลือกเข้ารับการอบรมเพื่อให้บริการ GrabAssist  ซึ่งเป็นบริการพิเศษที่ริเริ่มขึ้นเพื่ออำนวยความสะดวกแก่ผู้โดยสารในกลุ่มที่เป็นผู้พิการและผู้สูงอายุ

 

วิลาสินี โรจน์ธรรมรัตน์

 

“ตอนแรกที่เริ่มมาขับรถ ตรงกับช่วงที่มีการเปิดอบรมการให้บริการ GrabAssist โดยมีผู้เชี่ยวชาญจาก สสส. มาสอนเรื่องการให้บริการ ตลอดจนการดูแลผู้สูงอายุและ "คนพิการ" พอดี ได้เข้ามาให้บริการเลยรู้ว่ามีคนที่ต้องการความช่วยเหลือพิเศษในการเดินทางอยู่เยอะมาก ซึ่งเรามองว่าความลำบากเพียงเล็กน้อยของเรา คือการให้ความช่วยเหลือ และมอบโอกาสที่ยิ่งใหญ่ให้กับคนอื่น มีหลายครั้งที่ลูกค้าของเรามักจะขอบคุณที่ช่วยให้เขาเดินทางได้สะดวกขึ้น เพราะเราให้บริการช่วยเหลือเขาอย่างเต็มที่ พอได้ยินเสียงตอบรับแบบนี้มันทำให้เราใจฟูนะ เพราะงานที่เราทำอยู่ตอนนี้มันมีคุณค่า มันทำให้เราได้มีโอกาสช่วยเหลือคนที่เขาต้องการ ในฐานะคนที่ทำงานตรงนี้ มองว่าการได้ออกมาขับรถของพี่ทุกวันนี้ไม่ใช่แค่การหารายได้เท่านั้น แต่คือการได้ส่งต่อโอกาส และช่วยให้คุณภาพชีวิตของคนในสังคมดีขึ้นด้วย” วิลาสินี บอกด้วยน้ำเสียงและแววตาอิ่มเอิบใจ

logoline

ข่าวที่น่าสนใจ