ต้นเหงือกปลาหมอ เป็นไม้พุ่มขนาดกลาง มีความสูงประมาณ 1-2 เมตร ลำต้นแข็ง มีหนามอยู่ตามข้อของลำต้น ข้อละ 4 หนาม ลำต้นกลม กลวง ตั้งตรง มีสีขาวอมเขียว
ลำต้นมีเส้นผ่านศูนย์กลางประมาณ 1.5 เซนติเมตร ขยายพันธุ์ด้วยวิธีการเพาะเมล็ดและการใช้กิ่งปักชำ เป็นพรรณไม้ที่มักขึ้นกลางแจ้ง เจริญเติบโตได้ดีในที่ร่มและในที่ที่มีความชื้นสูง ชอบขึ้นตามชายน้ำหรือบริเวณริมฝั่งคลองบริเวณปากแม่น้ำ
ใบเหงือกปลาหมอ ใบเป็นใบเดี่ยว ลักษณะของใบมีหนามคมอยู่ริมขอบใบและปลายใบ ขอบใบเว้าเป็นระยะ ๆ ผิวใบเรียบเป็นมันลื่น แผ่นใบสีเขียว เส้นใบสีขาว มีเหลือบสีขาว เป็นแนวก้างปลา เนื้อใบแข็งและเหนียว
ใบกว้างประมาณ4-7 เซนติเมตรและยาวประมาณ 10-20 เซนติเมตร ใบจะออกเป็นคู่ตรงข้ามกัน ก้านใบสั้น
ดอกเหงือกปลาหมอ ออกดอกเป็นช่อตั้งตามปลายยอดยาว 4-6 นิ้ว ดอกมีทั้งพันธุ์ดอกสีม่วงหรือสีฟ้าและพันธุ์ดอกสีขาว ที่ดอกมีกลีบรองดอกมี 4 กลีบ กลีบแยกจากกัน บริเวณกลางดอกจะมีเกสรตัวผู้และเกสรตัวเมียอยู่
ผลเหงือกปลาหมอ ลักษณะของผลเป็นฝักสีน้ำตาล ลักษณะของฝักเป็นทรงกระบอก รูปไข่ หรือกลมรี ยาวประมาณ 2-3 เซนติเมตร เปลือกฝักมีสีน้ำตาล ปลายฝักป้าน ข้างในฝักมีเมล็ด 4 เมล็ด
สรรพคุณของเหงือกปลาหมอ
ใช้เป็นยาอายุวัฒนะ ทำให้อายุยืน ร่างกายแข็งแรง เลือดลมไหลเวียนดี เส้นเลือดไม่อุดตัน บำรุงผิวพรรณ
-ราก ช่วยบำรุงประสาท
- ช่วยรักษาอาการธาตุไม่ปกติ ช่วยทำให้เลือดลมเป็นปกติ ทำให้เจริญอาหาร
-ช่วยแก้โรคกระษัย อาการซูบผอมเหลืองทั้งตัว ด้วยการใช้ทั้งต้นของเหงือกปลาหมอนำมาตำเป็นผงกินทุกวัน
-ช่วยแก้อาการร้อนทั้งตัว เจ็บระบมทั้งตัว ตัวแห้ง เวียนศีรษะ หน้ามืดตามัว มือตายตีนตาย
ช่วยยับยั้งมะเร็ง ต้านมะเร็ง
ช่วยรักษาอาการปอดอักเสบ
ช่วยแก้อาการปวดศีรษะ
ราก ช่วยแก้และบรรเทาอาการไอหรือจะใช้เมล็ดนำมาต้มดื่มแก้อาการไอก็ได้เช่นกัน รากยังช่วยแก้หืดหอบ
ช่วยรักษาวัณโรค
ช่วยแก้อาการเจ็บตา ตาแดง ด้วยการใช้เหงือกปลาหมอทั้งต้นนำมาตำผสมกับขิง คั้นเอาแต่น้ำใช้หยอดตาแก้อาการ
ช่วยแก้ไข้จับสั่น ด้วยการใช้ทั้งต้นเหงือกปลาหมอมาตำผสมกับขิง
ช่วยแก้พิษไข้หัวด้วยการใช้ทั้งต้นรวมทั้งรากนำมาต้มอาบแก้อาการ
แก้อาการไอ เมล็ดใช้ผสมกับดอกมะเฟือง เปลือกอบเชย น้ำตาลกรวด นำมาต้มรวมกัน แล้วเอาแต่น้ำมากินเป็นยาแก้ไอ
ราก ช่วยขับเสมหะ
แก้มีอาการเป็นลม ให้ใช้ต้นเหงือกปลาหมอ 1 ส่วน พริกไทย 2 ส่วน ผสมรวมกัน ตำให้ละเอียดเป็นผงแล้วนำมาละลายน้ำร้อนดื่ม
ช่วยแก้โรคกระเพาะ ด้วยการใช้ทั้งต้นและพริกไทย ตำผสมปั้นเป็นยาลูกกลอน
เมล็ดช่วยขับพยาธิ
ช่วยรักษาโรคริดสีดวงทวาร
ช่วยรักษามุตกิดระดูขาว ตกขาวของสตรี ด้วยการใช้ใบและต้นนำมาตำเป็นผง ผสมกับน้ำผึ้งหรือน้ำมันมันงา ปั้นเป็นยาลูกกลอนรับประทานแก้อาการ
ช่วยแก้ประจำเดือนมาไม่เป็นปกติของสตรี ด้วยการใช้ทั้งต้นนำมาตำผสมกับน้ำผึ้ง น้ำมันงา
ช่วยรักษานิ่วในไต ด้วยการใช้ใบนำมาต้มเป็นน้ำดื่ม
ต้น ช่วยสมานแผล ช่วยรักษาแผลพุพอง ส่วนใบช่วยรักษาแผลอักเสบ
ช่วยแก้น้ำเหลืองเสีย ด้วยการใช้ต้น 3-4 ต้น นำมาหั่นเป็นชิ้น แล้วต้มน้ำอาบแก้อาการ
สำหรับผู้ป่วยเอดส์ที่มีแผลพุพองตามผิวหนัง หากใช้ต้นมาต้มอาบและทำเป็นยากินติดต่อกันประมาณ 3 เดือนจะช่วยทำให้อาการของแผลพุพองบรรเทาลงอย่างชัดเจน
ใบ ช่วยรักษาโรคผิวหนังหรือประดง รักษากลากเกลื้อน อีสุกอีใส
ช่วยรักษาโรคเรื้อน คุดทะราด ด้วยการใช้ทั้งต้นนำมาตำเอาแต่น้ำกิน
ช่วยแก้ผดผื่นคันตามร่างกาย ใช้ล้างแผลเรื้อรัง ด้วยการใช้ต้นสดและใบสดล้างสะอาดประมาณ 3-4 กำมือ นำมาสับแล้วต้มกับน้ำอาบแก้ผื่นคันติดต่อกัน 3-4 ครั้ง
ต้น เหงือกปลาหมอมีสรรพคุณทางยาช่วยแก้ลมพิษ
รากสดนำมาต้มเอาแต่น้ำ ใช้ดื่มเป็นยารักษาโรคงูสวัดได้
ต้น ใบ ช่วยรักษาฝี ฝีเรื้อรัง แผลฝีหนอง ฝีดาษ ตัดรากฝี แก้พิษฝีทุกชนิดทั้งภายในภายนอก
เมล็ดใช้ปิดพอกฝี
ผลมีรสเผ็ดร้อน สรรพคุณช่วยถอนพิษ
ใบสดนำมาตำให้ละเอียด สามารถใช้พอกบริเวณแผลที่ถูกงูกัดได้
ช่วยแก้ผิวแตกทั้งตัว ด้วยการใช้ทั้งต้นของเหงือกปลาหมอ 1 ส่วน ดีปลี 1 ส่วน ใช้ผสมกันบดให้เป็นผงชงกับน้ำร้อนดื่มแก้อาการ
ต้น นำมาใช้จะช่วยแก้โรคเหน็บชา อาการชาทั้งตัวได้
รากมีสรรพคุณช่วยแก้อัมพาต
แก้อาการเจ็บหลังเจ็บเอว ด้วยการใช้ต้นเหงือกปลาหมอกับชะเอมเทศนำมาบดเป็นผง ผสมกับน้ำผึ้งปั้นเป็นยาลูกกลอนกิน
ใบใช้เป็นยาประคบแก้ไขข้ออักเสบและแก้อาการปวดต่าง ๆ
ใบ ช่วยบำรุงรากผม ด้วยการใช้น้ำคั้นจากใบ นำมาทาให้ทั่วศีรษะ
ข่าวที่เกี่ยวข้อง