เมนูอาหารไทย อร่อยติดใจคนทั่วโลก ดูได้จากที่ครึ่งปีแรก 2567 ไทยคว้า 21 รางวัลจากการจัดอันดับทั่วโลก !หนึ่งในนั้นคือเมนูอาหารของไทย 5 เมนู 1.ผัดกะเพรา 2.ข้าวซอย 3.แกงพะแนง ติด 1 ใน 10 อันดับ สุดยอดอาหารที่ดีที่สุดในโลก โดย World of Statistics และ 4.เมนูข้าวเหนียวมะม่วง ติดอันดับ 2 เมนูพุดดิ้งข้าวที่ดีที่สุดในโลก โดย TasteAtlas และลำดับที่ 5. เมนูแกงมัสมั่น ติด 1 ใน 10 อันดับ เมนูสตูว์ที่ดีที่สุดในโลก โดย TasteA
1.ผัดกะเพรา
ผัดกะเพรา เป็นอาหารจานเดียวของไทยที่ได้รับความนิยมมากที่สุดจานหนึ่ง เป็นอาหารริมทาง อาหารตามสั่งที่มีทั่วไปในประเทศไทย บางครั้งเรียกว่า เมนูสิ้นคิด เนื่องจากเมื่อจะสั่งอาหารแล้วไม่รู้ว่าจะรับประทานอะไรก็มักจะสั่งผัดกะเพรา
ผัดกะเพราน่าจะเกิดขึ้นราวสมัยรัชกาลที่ 7 เพราะคนจีนนำเอามาขายในร้านอาหารตามสั่ง และพบโฆษณาเครื่องแกงสำเร็จ อย่างไรก็ดี ผัดกะเพราน่าจะเพิ่งนิยมราว พ.ศ. 2500 จากเดิมสูตรจีนที่มีการใส่เต้าเจี้ยวดำ ผัดกับกระเทียมเจียวให้หอม แล้วจึงใส่เนื้อสับหรือไก่หั่นเป็นชิ้นๆ ลงไปผัดกับน้ำปลาและซีอิ๊วดำ แต่กะเพราดั้งเดิมของไทยจริงๆ จะมีเพียงเนื้อสัตว์กับกะเพราเท่านั้นโขลกพริก กระเทียมรวมกัน ลงไปผัดในน้ำมันแล้วใส่เนื้อสัตว์ให้สุกจากนั้นใส่กะเพรา ไม่มีการใส่ผักชนิดอื่นๆ เช่นปัจจุบัน
2.ข้าวซอย
ข้าวซอย คืออาหารพื้นเมืองทางภาคเหนือของประเทศไทย เดิมเรียกว่า "ก๋วยเตี๋ยวฮ่อ" เป็นอาหารที่ได้รับอิทธิพลมาจากชาวจีนยูนนานหรือฮ่อ มีลักษณะคล้ายเส้นบะหมี่ ในน้ำซุปที่ใส่เครื่องแกง รสจัดจ้าน มีเครื่องเคียง ได้แก่ ผักกาดดอง หอมหัวแดง ยำกะหล่ำปลีและมีเครื่องปรุงรส เช่น พริกผัดน้ำมัน น้ำมะนาว น้ำปลา น้ำตาล ในตำรับดั้งเดิมเนื้อที่ใช้เป็นเนื้อไก่หรือเนื้อวัว แต่ในปัจจุบันร้านอาหารหลายแห่งได้มีการใช้เนื้อหมูแทน บางแห่งอาจเพิ่มอาหารทะเลหรือเต้าหู้เป็นส่วนประกอบ
ข้าวซอยมีต้นกำเนิดจากชาวจีนมุสลิม ที่อพยพมาจาก มณฑลยูนนาน ประเทศจีน มาอยู่อยู่ทางภาคเหนือของประเทศไทย ประเทศพม่า และประเทศลาว[3] แต่เดิมข้าวซอยไม่มีกะทิเป็นส่วนประกอบ เรียกว่า “ข้าวซอยน้ำใส” ต่อมาได้มีการเพิ่มกะทิเข้าไปจนเป็นที่นิยมอย่างมากและกลายมาเป็นลักษณะข้าวซอยที่รู้จักกันในปัจจุบัน ข้าวซอยจึงเป็นผลลัพธ์ของการผสมผสานระหว่างอาหารจีน อาหารตะวันออกกลางและอาหารเอเชียอาคเนย์
3.แกงพะแนง
พะแนง เป็นอาหารไทยประเภทแกงข้นที่เน้นรสชาติเค็มและหวาน โดยมีส่วนผสมหลักของเครื่องแกง คือ พริก ข่า ตะไคร้ รากผักชี เมล็ดผักชี เมล็ดยี่หร่า กระเทียม อบเชย และเกลือ ใส่เนื้อสัตว์ได้ทั้งเนื้อวัว เนื้อหมู เนื้อไก่ และอื่น ๆ
พะแนงเป็นอาหารที่ได้รับอิทธิพลจากอินเดีย และอาจมีวัฒนธรรมการกินแบบเขมรผสมด้วยหรือไม่ ไม่อาจยืนยันได้ในเวลาต่อมา ไก่พะแนง จึงเป็นการนำไก่ทั้งตัว มาขัดขากัน และทำในหม้อใบใหญ่ ใช้เครื่องแกงแขก แบบแกงมุสลิม และเรียกว่าไก่พะแนง คั่วไปจนน้ำขลุกขลิก เหมือนอาหารอินเดียมุสลิมอื่นๆ ใช้เครื่องเทศเฉพาะ ส่วนมากเราจะเห็นตามร้านอาหารจะมี พะแนงไก่ พะแนงหมู พะแนงเนื้อ กันซะส่วนใหญ่
4.เมนูข้าวเหนียวมะม่วง
ขนมหวานไทยยอดฮิต ที่ผสมผสานความหวาน หอม และมันได้อย่างลงตัว เมื่อเข้าฤดูร้อนเมื่อไร เมนูข้าวเหนียวมะม่วงมักเป็นหนึ่งในลิสต์เมนูของหวานที่ต้องได้ลิ้มรสเสมอ รสชาติของมะม่วงหวานฉ่ำที่กินพร้อมกับข้าวเหนียวมูนอันหวานมัน เคล้าด้วยกลิ่นถั่วซีกคั่วที่โรยอยู่ข้างบน
หากจะให้อ้างอิงจากบันทึกประวัติศาสตร์และพงศาวดารไทยนั้น ไม่มีบันทึกชี้ชัดว่าข้าวเหนียวมะม่วงถือกำเนิดมาตั้งแต่ยุคสมัยใด แต่มีบันทึกเป็นลายลักษณ์อักษรเป็น “กาพย์เห่ชมเครื่องคาวหวาน” ปรากฏในรัชกาลที่ 2 ของกรุงรัตนโกสินทร์ ที่มาของการเริ่มกินข้าวเหนียวมูนคู่กับมะม่วงยังไม่เป็นที่แน่ชัด สันนิษฐานกันว่าเริ่มกินเมนูนี้กันมาในช่วงสมัยอยุธยาตอนปลายถึงสมัยรัตนโกสินทร์ในรัชกาลที่ 2 แต่ที่แน่ๆ คือการกินข้าวเหนียวคู่กับผลไม้ปรากฎอยู่ในหลักสูตรอาหารหวานไทยในรัชกาลที่ 5 และเป็นที่นิยมกันมาตั้งแต่นั้นจนถึงปัจจุบัน
5. เมนูแกงมัสมั่น
แกงมัสมั่น เป็นอาหารประเภทแกงที่ได้รับอิทธิพลมาจากอาหารมลายู ชาวไทยมุสลิมเรียกแกงชนิดนี้ว่า ซาละหมั่น แกงมัสมั่นแบบมุสลิมไทยออกรสหวานในขณะที่ตำรับดั้งเดิมของชาวมุสลิมออกรสเค็มมันในไทยมีวิธีการทำสองแบบคือ แบบไทย น้ำพริกแกงมี พริกแห้ง ข่า ตะไคร้ หอม กระเทียม ลูกผักชี ยี่หร่า ดอกจันทน์ กานพลู ปรุงรสให้หวานนำ เค็มและอมเปรี้ยว เป็นแกงมีน้ำมากเพื่อรับประทานกับข้าว
อีกแบบเป็นแบบมุสลิม น้ำขลุกขลิก ใช้จิ้มขนมปังหรือโรตี ในน้ำพริกแกงไม่ใส่ข่า ตะไคร้ ส่วนผสมที่เป็นพริกแห้ง หอม กระเทียม ถั่วลิสงจะทอดก่อน ใส่ผงลูกผักชี ยี่หร่า ใส่มันฝรั่ง บางสูตรใส่มะเขือยาว ก่อนจะมีมันฝรั่งมาปลูกแพร่หลายในไทย จะนิยมใส่มันเทศ สันนิษฐานว่าคำว่า "มัสมั่น" มาจากภาษาเปอร์เซียคำว่า (มุสลิมมาน) ซึ่งหมายถึง ชาวมุสลิม แกงมัสมั่นจัดเป็นอาหารชนิดแรกที่ปรากฏในกาพย์เห่เรือชมเครื่องคาวหวาน พระราชนิพนธ์ในพระบาทสมเด็จพระพุทธเลิศหล้านภาลัย ในช่วงต้นกรุงรัตนโกสินทร์
ข่าวที่เกี่ยวข้อง