Lifestyle

ลบด่วน 10 'แอปพลิเคชัน' อันตราย ดูดเงิน หายเกลี้ยงบัญชี

เกาะติดข่าวสาร >> คมชัดลึก ออนไลน์
logoline

'แอปพลิเคชัน' อันตราย ใน สมาร์ทโฟน ตำรวจสอบสวนกลาง เตือน มีมัลแวร์ดักข้อมูลแฝงอยู่ ดูดเงิน หายเกลี้ยงบัญชี หากมอยู่ รีบลบด่วน

ปัจจุบันมิจฉาชีพแฝงตัวหลายรูปแบบ โดยเฉพาะยุคที่ สมาร์ทโฟน มีอิทธิพลในชีวิตประจำวัน การทำธุรกรรมทางเงิน แทบไม่ต้องไปธนาคารด้วยตัวเอง แต่สามารถทำธุรกรรม ทั้ง โอน ฝาก ผ่าน “แอปพลิเคชัน” ธนาคาร ทำให้สะดวกสบาย แต่ก็เสี่ยงต่อการถูกดูดเงินหายเช่นกัน

 

 

 

 

 

คมชัดลึก ได้รวบรวม “แอปพลิเคชัน” ที่มีมัลแวร์ดักข้อมูลแฝงอยู่ ควรลบออกจากเครื่อง โทรศัพท์ (โดยเฉพาะแอนดรอยด์) ถ้าไม่อยากสูญเงิน

 

แอปพลิเคชันอันตราย

ตำรวจสอบสวนกลาง รายงานว่า ขณะนี้ได้ตรวจพบแอปพลิเคชัน ที่มีมัลแวร์ดักข้อมูลแฝงอยู่ ซึ่งบางแอปถูกถอด Playstore แล้ว แต่ยังสามารถติดตั้งผ่านช่องทางแอปพลิเคชันอื่นได้อยู่ และบางแอปจะอยู่ในรูปแบบ Mini- Game ที่ให้ผู้ใช้เข้ามาเล่นเพื่อรับรางวัล หากยังอยู่ในเครื่องต้องรีบลบด่วน เพราะอาจถูกดูดเงินบัญชี

 

 

 

 

10 แอปพลิเคชันอันตราย

 

 

 

  1. Noizz : แอปตัดต่อวีดีโอพร้อมเพลง (100,000,000 downloads)
  2. Zapya : แอปแชร์ไฟล์ ย้ายไฟล์ (100,000,000 downloads)
  3. VFly : แอปสร้างวีดีโอ (50,000,000 downloads)
  4. MVBit : แอปตัดต่อวีดีโอ (50,000,000 downloads)
  5. Biugo : แอปตัดต่อวีดีโอ (50,000,000 downloads)
  6. Crazy Drop : แอปเล่นเกม รับรางวัล (10,000,000 downloads)
  7. Cashzine : แอปเล่นเกม รับรางวัล (10,000,000 downloads)
  8. Fizzo Novel : แอปอ่านหนังสือออฟไลน์ (10,000,000 downloads)
  9. CashEM : แอปรับรางวัล (5,000,000 downloads)
  10. Tick : แอปดูวีดีโอเพื่อรับรางวัล (5,000,000 downloads)

 

แอปพลิเคชันอันตราย

นอกจากนี้ กระทรวงดิจิทัลเพื่อเศรษฐกิจและสังคม (ดีอีเอส) ได้โพสต์ข้อความเตือนอีก 13 แอปพลิเคชันอันตราย ดูดเงินในมือถือ ซึ่งแนะนำให้ลบทิ้งทันที เนื่องจากมีโฮสต์มัลแวร์อันตราย ที่สามารถขโมยเงินสดของผู้ใช้ อ่านข้อความ และสอดแนมการทำงานต่างๆ ภายในเครื่องได้

 

 

 

 

  1. Battery Charging Animations Battery Wallpaper
  2. Classic Emoji Keyboard
  3. Battery Charging Animations Bubble -Effects
  4. Easy PDF Scanner
  5. Dazzling Keyboard
  6. Halloween Coloring
  7. EmojiOne Keyboard
  8. Smart TV remote
  9. Flashlight Flash Alert On Call
  10. Volume Booster Hearing Aid
  11. Now QRcode Scan
  12. Volume Booster Louder Sound Equalizer
  13. Super Hero-Effect

 

แอปพลิเคชันอันตราย

 

 

 

อย่างไรก็ตาม วิธีสังเกตว่าเป็นแอปอันตราย คือ แอปฯ ที่คุณใช้งานอยู่อาจหยุดทำงานโดยไม่มีเหตุผล หรือเด้งบ่อย, อุปกรณ์การทำงานช้าลงกว่าเดิมมาก หรืออาจรู้สึกว่าแบตเตอรี่หมดเร็วกว่าปกติ เพราะมีการเรียกใช้งานทรัพยากรในเครื่องพุ่งสูงขึ้น

 

 

 

 

logoline

ข่าวที่น่าสนใจ